ผลการค้นหา

Tag: ทีมวิจัย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือ Educational Technology (EDT) กลุ่มวิจัยสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) มีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล สารบัญ วิสัยทัศน์ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล พันธกิจ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีหลัก Hardware and Software Integration ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มการศึกษาแบบสะเต็มที่มีการ ทํางานร่วมกันของส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบและพัฒนาบอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright ให้ใช้งานร่วมกับ KidBright IDE • Firmware Design ออกแบบซอฟต์แวร์ระดับ Firmware เพื่อควบคุมการทํางานของอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์ม การศึกษาแบบสะเต็ม เช่น ออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนบอร์ดและจากภายนอก และออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ภายนอก •

ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ (STU)

ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ หรือ Speech and Text Understanding (STU) ดำเนินการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ภาษาพูดและภาษาเขียนของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสื่อพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ แต่คงไว้ซึ่งความซับซ้อน ความหลากหลาย และความสวยงาม ที่เกิดจากการสร้างสรรค์และสืบทอดต่อกันมา เป็นองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค การประมวลผลภาษาจึงมีความน่าสนใจและท้าทาย ผลลัพธ์ของการวิจัยและพัฒนานี้ ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง อาทิ การสั่งการด้วยเสียงในโทรศัพท์มือถือ การสืบค้นข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการวิเคราะห์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น สารบัญ วิสัยทัศน์ ผู้นำทางด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภาษาพูดและภาษาเขียนสำหรับภาษาไทย พันธกิจ ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนา สร้างเครือข่ายและขยายกลุ่มผู้ร่วมวิจัย พันธมิตรและผู้ใช้งาน สร้างสภาพแวดล้อมพื้นฐานเพื่องานวิจัยสำหรับประเทศ ถ่ายทอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีการประมวลผลเสียงพูด (Speech Processing Technology) เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition) เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Speech Synthesis) เทคโนโลยีภาพและเสียง (Audio-visual technology) เทคโนโลยีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อความ (Text Processing and Mining Technology)

ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP)

ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท เป็นหนึ่งในทีมวิจัยของกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงลึกด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมอง รวมถึงเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าสู่การนำไปสู่การใช้งานจริงในกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่มีผลงานวิชาการด้านการประมวลสัญญาณประสาทและการใช้งานได้มาตรฐานระดับนานาชาติ ได้รับการยอมรับว่ามีความเข้มแข็งในกระบวนการทำ Translational Research และ Product Development ร่วมกับพันธมิตร สามารถผลักดันงานวิจัยสู่การใช้งานได้จริง พันธกิจ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาท และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับพันธมิตรในการขยายผลสู่การนำไปใช้จริง ภายใต้รูปแบบเช่นการร่วมหรือรับจ้างวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ การเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค เทคโนโลยีหลัก ทีมวิจัย มีประสบการณ์หรือความสนใจในการวิจัยพัฒนา อุปกรณ์ ระบบ และ บริการ เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้ Neural Signal Processing in Human’s Cognitive and Affective Domains Brain Computer Interface Auditory Processing Neurorobotics ผลงานเด่น ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับ ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุ เป็นเกมส์ที่ควบคุมโดยการอ่านสัญญาณสมองผ่านสัญญาณ EEG ใช้เพื่อฝึกสมาธิการจดจ่อ

ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ (IPU)

ในปัจจุบันข้อมูลภาพมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นจากภาพถ่ายมือถือ ภาพในสื่อสังคมออนไลน์ ภาพจากกล้องวิดีโอวงจรปิดสำหรับจราจรหรือสำหรับความปลอดภัย หรือภาพจากอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น การประมวลผลข้อมูลภาพเหล่านี้สามารถนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ หรือ Image Processing and Understanding (IPU) มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยพื้นฐานด้านการประมวลผลภาพ และผลักดันให้ไปสู่การใช่งานจริง สารบัญ วิสัยทัศน์ ร่วมสร้างรากฐานและผลักดันเทคโนโลยี ภาพ วิดีโอ และ 3D สู่การใช้งานจริง พันธกิจ มุ่งสร้างเสริมการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีด้านการประมวลผล ภาพ วิดีโอ และ ข้อมูล 3D โดยอาศัยพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริง ร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย สร้างและแบ่งปันองค์ความรู้ให้นักวิจัยและนักศึกษาภายนอกองค์กร เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ เทคโนโลยีหลัก การปรับปรุงคุณภาพของภาพ (Image Enhancement) การรู้จำรูปภาพ (Image Classification) การตรวจสอบภาพใบหน้า (Face Verification) การตรวจจับวัตถุในภาพ (Object Detection) การติดตามวัตถุในวิดีโอ (Object

ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA)

เทคโนโลยีสำคัญที่มีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีการคาดการณ์อนาคตที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจำเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลปริมาณมากและมีความถูกต้องสูง ประเทศไทยเองมีข้อมูลที่ได้จากภาครัฐและแหล่งสาธารณะมีปริมาณไม่น้อย แต่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีความถูกต้องพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านพื้นที่ (GeoSpatial) และข้อมูลด้านเครือข่าย (Social Network) นอกจากนี้เทคโนโลยีด้าน cloud ก็มีส่วนอย่างมากที่ช่วยสนับสนุนและรองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยเฉพาะในกรณีที่ขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลระบบและทรัพยากรเครื่อง server ทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ คุ้มการลงทุนและมีความน่าเชื่อถือสูง ระบบการจัดการข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและการเรียนรู้จากข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์บน Cloud จึงเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยและส่งผลต่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนของประเทศ ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีทีมวิจัยที่จะมาจัดการชั้นข้อมูลปริมาณมหาศาล ให้พร้อมใช้งาน ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในมิติต่างๆ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและแอปพิเคชั่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในการกำหนดแนวทางและนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรองรับการเข้าใช้งานจากบุคคลทั่วไปและสามารถขยายผลไปถึงความต้องการของภาคเอกชนได้ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยด้านการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ชั้นนำของประเทศ โดยเน้นด้านการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ และความมั่นคงเป็นต้น พันธกิจ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) เช่นการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Mining, Statistical Inference) และการแสดงผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Visual Analytics) สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการตามความต้องการของประเทศ เทคโนโลยีหลัก แบบจำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ด้วยวิธีการทาง Spatio-Temporal Data Analysis

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นข้อความภาษาไทยและการเข้าใจความหมายของภาษา ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางภาษา การพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผลภาษา การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานข้อมูลภาษาไทย ได้แก่ พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบตัดคำ กำกับชนิดของคำ ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ และระบบการจัดการฐานความรู้เชิงความหมาย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยงานทางภาษาธรรมชาติและความหมาย สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่ผลักดันงานวิจัยทางด้านภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับประเทศไทย พันธกิจ ศึกษาค้นคว้า พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับหน่วยงานที่สนใจ เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวกับด้าน Language และ Knowledge มีดังนี้ Corpus Technology Deep Learning and NLP Machine Translation Ontology Semantic Web Knowledge Graph ผลงานเด่น พจนานุกรมเล็กซิตรอน และ แพลตฟอร์มพจนานุกรม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสภาฉบับออนไลน์ Royal Dictionary, Read and Write, ชื่อบ้านนามเมือง Ontology Application Management Framework (OAM

ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)

ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือ Data-Driven Simulation and Systems Research Team (DSS) ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นมีเหตุกรณ์ที่ต้องตัดสินใจในหลายๆ เรื่อง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจที่ดีนั้นจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดตามมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการพยากรณ์คือการคาดการณ์เหตุการณ์เกี่ยวกับอนาคต โดยการพยากรณ์ที่ดีนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับในวงการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นความสามารถในการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำนั้นนอกเหนือจากเป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการขององค์กรแล้วในบางทีอาจส่งผลถึงความยั่งยืนขององค์กรนั้นๆด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ความสามารถในการพยากรณ์ที่ดีนั้นย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆของประเทศก่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน การพยากรณ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยเทคโนโลยีการจำลองขั้นสูงนั้นมีความจำเป็นและมีบทบาทสำคัญ เพราะจะการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพแบบจำลองเพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เทคโนโลยีประมวลผลข้อมูลแบบ Real-Time หรือ Near Real-Time ตลอดจนคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อการผสานข้อมูลให้เข้ากับแบบจำลองเพื่อลดความไม่แน่นอนของผลพยากรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำสามารถนำไปใช้ในระบบช่วยตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือนำไปสู่การสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ต่อไป สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำทางด้านการใช้งานแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อการพยากรณ์และสร้างนวัตกรรม พันธกิจ วิจัยเทคโนโลยีด้านการพยากรณ์และการจำลองทางคณิตศาสตร์ พัฒนาต้นแบบเชิงพานิชย์และเชิงสาธารณะประโยชน์ สร้างขีดความสามารถสำหรับเทคโนโลยีการพยากรณ์ในระยะยาว เทคโนโลยีหลัก แบบจำลองคณิตศาสตร์ การจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมภายใต้ศาสตร์ของ Geophysical Fluid Dynamics และ Industrial Computational Fluid Dynamics การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีพยากรณ์ โดยการบูรณาการข้อมูล ด้วยกระบวนการด้าน Data Assimilation

ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ

เป็นทีมวิจัยที่ดำเนินการวิจัยในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยเป็นการทำวิจัยแบบ Interdisciplinary ที่ต้องใช้องค์ความรู้จากสาขาเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และกฎหมายเพื่อตอบโจทย์แก่ประเทศชาติทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่ดำเนินการวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางในการทำวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์กรและกรอบวิจัยระดับชาติ พันธกิจ ดำเนินงานวิจัยด้านเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ เป็นศูนย์กลางในการสร้างองค์ความรู้งานวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา สร้างพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย สร้างผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อันเนื่องมาจากการปกป้องทรัพย์สินสารสนเทศ ดำเนินงานวิจัยที่เน้นเชิงรุก และเน้นหลักการไอซีทีสีเขียว เทคโนโลยีหลัก Access Control Network Security Biometric Security Blockchain Software Security Security Policy and Regulation บุคลากรและความเชี่ยวชาญ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ : Access Control, Software Security, Security Policy and Standard เอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ : Network Security,

ทีมวิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย โดยมีแนวโน้มเป็นบริการที่ประยุกต์นวัตกรรมอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมระบบคลาวด์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ฝังตัว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยี Internet of Things ที่สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การแพทย์ การเกษตร การจัดการพลังงานและการจราจรของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นต้น ทั้งนี้การพัฒนาบริการใหม่ๆที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือสิ่งที่จะใช้ติดต่อสื่อสารทั้งหลายมีส่วนที่คล้ายกันคือ มีการเชื่อมต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ เพื่อดูแลตรวจสอบ (monitoring) เพื่อควบคุม (control) หรือเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เชิงลึก (analytic) ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ระบบ หรือกระบวนการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ทีมวิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตได้เล็งเห็นความสำคัญของแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต จึงมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่อง Internet of Things (IoT), Cloud technology and service platform, Data acquisition and analytics และ Internet infrastructure and service เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านต่างๆ

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI) ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ Internet of Things หรือ Internet of Everything ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) ประกอบกับความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูล (Connectivity) ถูกใส่หรือติดเข้าไปกับ คน สัตว์ สิ่งของหรือสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งของอัจฉริยะ (Smart Things) ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นั้นคือ ข้อมูลตำแหน่ง (Location Information) และ ข้อมูลบ่งชี้หรือข้อมูลตัวตน (Identification Information) ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น หากทราบข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลบ่งชี้ของสิ่งของที่ถูกเก็บอยู่ภายในโกดังเก็บของขนาดใหญ่ จะทำให้เราสามารถค้นหาและนำสิ่งของนั้นออกมากจากโกดังได้รวดเร็วขึ้น หรือหากสิ่งของนั้นมีการเคลื่อนย้าย ผู้ดูแลจะสามารถทราบและติดตามการเคลื่อนย้ายของสิ่งของได้จากข้อมูลตำแหน่ง เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation)