เทคโนโลยีฐาน Thermal Imaging มุ่งเน้นการวิจัยพื้นฐานและการพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างภาพสองมิติ (2-D Imaging) และภาพสามมิติ (3-D Imaging) จากเซนเซอร์หลากหลายชนิดของภาพถ่ายความร้อนร่วมกับภาพถ่ายหลายความยาวคลื่น (Multispectral Imaging) เพื่อประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือรังสีในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ ที่ให้ข้อมูลที่สามารถบ่งชี้ถึงคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้มากกว่าข้อมูลจากการถ่ายภาพทั่วไป ทั้งนี้ภาพถ่ายหลายความยาวคลื่นที่ใช้จะประกอบไปด้วย ภาพถ่ายในย่านที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ (Visible light) ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร และภาพถ่ายในย่านอินฟราเรด (Infrared) ที่มีความยาวคลื่นในช่วงที่กว้างตั้งแต่ 700 นาโนเมตร ไปจนถึง 1,000,000 นาโนเมตร เป็นต้น จึงทำให้สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน อาทิเช่น ทางด้านความมั่นคงและความปลอดภัย ด้านการแพทย์ ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
เส้นทางการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องวัดอุณหภูมิของทีมวิจัย เนคเทค สวทช.
วิสัยทัศน์
วิจัย พัฒนา และผลักดัน เทคโนโลยีสู่การนำไปใช้ได้จริง
พันธกิจ
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Thermal Imaging ภายในประเทศ
- ผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงสาธารณะ เพื่อสร้างผลกระทบทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม
- ลดการนำเข้า สร้างโอกาสและการลงทุนใหม่เชิงธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีนี้ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ
เทคโนโลยีหลัก
- เทคโนโลยีภาพความร้อน (Thermal imaging Technology)
- เทคโนโลยีภาพความลึก (Depth Sensing Technology)
- เทคโนโลยีภาพหลายย่านความยาวคลื่น (Multispectral Imaging Technology)
- เทคโนโลยีแสงเพื่อการตรวจวัด
ผลงานเด่น
เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ (มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์)
มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์เป็นผลงานวิจัย พัฒนา และวิศวกรรม ฝีมือคนไทย ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจจับภาพอินฟราเรดมาผนวกกับองค์ความรู้ของทีมวิจัยในการตรวจจับใบหน้าบุคคลโดยไม่มีข้อจำกัดแม้สวมหน้ากากอนามัยและ กระบวนการชดเชยความแปรปรวนทั้งจากระยะการตรวจวัดของแต่ละคนที่เปลี่ยนไปขณะเคลื่อนไหวด้วยหลักการถ่ายภาพสามมิติ และ จากความแปรปรวนของอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์ สามารถตรวจวัดอุณหภูมิจากใบหน้าบุคคลหลายๆ คนพร้อมกัน (สูงสุดที่ 9 คน) ที่ระยะการวัด 1.5 เมตร ภายในเวลา 0.1 วินาที ด้วยความแม่นยำตามเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับระดับ ±0.5 องศาเซลเซียส ตัวเครื่องยังได้ถูกออกแบบให้ใช้พลังงานต่ำ ใช้งานได้ต่อเนื่อง มีน้ำหนักเบาเพียง (1.7 กก.) และขนาดกระทัดรัด (8.5×22.8×19.5 cm3) ถือเป็นผลงานฝีมือคนไทย
ผลงานทางวิชาการ
- A. Somboonkaew, P. Prempree, S. Vuttivong, J. Wetcharungsri, S. Porntheeraphat, S. Chanhorm, P. Pongsoon, R. Amarit, Y. Intaravanne, K. Chaitavon, and S. Sumriddetchkajorn, “Mobile-platform for automatic fever screening system based on infrared forehead temperature,” in Proc. Opto-Electron. Commun. Conf., Singapore, Jul. 2017, pp. 1–4.
- Armote Somboonkaew, Sirajit Vuttivong, Panintorn Prempree, Ratthasart Amarit, Sataporn Chanhorm, Kosom Chaitavon, Supanit Porntheeraphat, and Sarun Sumriddetchkajorn, “Temperature-compensated infrared-based low-cost mobile platform module for mass human temperature screening,” Appl. Opt. 59, E112-E117 (2020). (Editor’s Pick highlighting article with excellent scientific quality and representing the work taking place in a specific field)
- S. Rayanasukha, Armote Somboonkaew, Sarun Sumriddetchkajorn, Kosom Chaitavon, Sataporn Chanhorm, Bunpot Saekow, Supanit Porntheeraphat, “Self-Compensation for the Influence of Working Distance and Ambient Temperature on Thermal Imaging-Based Temperature Measurement,” in IEEE Transactions on Instrumentation and Measurement, vol. 70, pp. 1-6, 2021, Art no. 4506106, doi: 10.1109/TIM.2021.3103242.
ทรัพย์สินทางปัญญา
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง”ระบบการตรวจวัดอุณหภูมิหลายวัตถุแบบไม่สัมผัส” เลขที่คำขอ 2001003117 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “อุปกรณ์สอบเทียบอุณหภูมิ” เลขที่คำขอ 2001003118 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิหลายวัตถุพร้อมกันแบบไม่สัมผัสและกระบวนการดังกล่าว” เลขที่คำขอ 2001006152 วันที่ยื่นคำขอ 22/10/2563
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “แผ่นวัตถุดำเสมือนสำหรับอุปกรณ์สอบเทียบอุณหภูมิแวดล้อมและขั้นตอนการประดิษฐ์” เลขที่คำขอ 2101005430 วันที่ยื่นคำขอ 10/09/2564
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ เรื่อง “กล้องถ่ายภาพสามมิติหลายย่านความยาวคลื่น และกระบวนการดังกล่าว” เลขที่คำขอ 2101005614 วันที่ยื่นคำขอ 16/09/2564
- อนุสิทธิบัตร เรื่อง “ระบบการตรวจวัดอุณหภูมิหลายวัตถุแบบไม่สัมผัส” เลขที่คำขอ 2003001206 วันที่ยื่นคำขอ 05/06/2563
รางวัล
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- อาโมทย์ สมบูรณ์แก้ว (นักวิจัย): Optical imaging, Image processing, Mobile app, Thermal imaging
- ดร.กฤศ พิจยเวทินท์ (นักวิจัย): Chemical and Biological sensor based on optical technique
- ดร.รุ่งโรจน์ จินตเมธาสวัสดิ์ (นักวิจัย): THz imaging, Acoustic/Optical Imaging and Tomography, Inverse Problems
- ศิระจิต รายณะสุข (ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส): Biochemical sensor, Material science, Nanocrystal material, Material characterization, Thermal imaging, Optical imaging
- อวยพร วรรณสนธ์ (ผู้ช่วยวิจัย): Material science, Optical setup and product design, Experimental design, Testing and analysis, Quality control, Optical sensing device
แหล่งข่าวประชาสัมพันธ์
- บทสัมภาษณ์การพัฒนามิวเทอร์ม-เฟสเซนต์ ในนิตยสาร IEEE Spectrum Online ที่รวบรวมนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ COVID-2019 ทั่วโลก, https://spectrum.ieee.org/news-from-around-ieee/the-institute/ieee-member-news/this-temperaturescreening-system-for-covid19-can-check-up-to-9-people-at-once
- IEEE Spectrum, “This Temperature-Screening System for COVID-19 Can Check Up to 9 People at Once,” https://spectrum.ieee.org/this-temperaturescreening-system-for-covid19-can-check-up-to-9-people-at-once
- “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” นวัตกรรมต้นแบบคัดกรองอุณหภูมิจากกองทุน กทปส. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9630000089155
- ‘มิวเทอร์ม เฟสเซนซ์’ เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะ (μTherm FaceSense) https://www.nstda.or.th/home/performance_post/%CE%BCtherm-facesense/
- “มิวเทอร์ม-เฟสเซนซ์” เครื่องวัดอุณหภูมิอัจฉริยะฝีมือคนไทย https://news.thaipbs.or.th/content/293285