ผลการค้นหา

Tag: ทีมวิจัย

เทคโนโลยีฐานภาพความร้อน (Thermal Imaging)

เทคโนโลยีฐาน Thermal Imaging มุ่งเน้นการวิจัยพื้นฐานและการพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างภาพสองมิติ (2-D Imaging) และภาพสามมิติ (3-D Imaging) จากเซนเซอร์หลากหลายชนิดของภาพถ่ายความร้อนร่วมกับภาพถ่ายหลายความยาวคลื่น

ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน (SMR)

ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน หรือ Smart Machine and Mixed Reality (SMR) เป็นทีมวิจัยทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งแนวโน้มเครื่องจักรกลในอนาคตจะมีความฉลาดมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) อยู่เบื้องหลัง เครื่องจักรกลเหล่านี้จะสามารถทำงานที่ซับซ้อนที่เครื่องจักรแบบเดิมไม่สามารถทำได้ ประกอบกับการที่โลกกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหรือหุ่นยนต์ในงานต่าง ๆ มากขึ้น ที่ผ่านมาทีมวิจัย SMR มีโครงการวิจัยหุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Inspection Vehicle : GIV) ที่ได้พัฒนาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และถูกใช้งานในกิจการของ กฟผ. อยู่ในปัจจุบัน ทางทีมวิจัย SMR ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ Smart Factory เช่น Mobile Robot และ Inspection Robot ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้เทคโนโลยีอีกประเภทที่มีแนวโน้มจะใช้งานมากในอนาคตคือ เทคโนโลยีวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) ทั้งในส่วนของระบบเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) และการประสานระหว่างโลกจริงกับระบบเสมือน

ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)

มนุษย์ทุกคนสร้างข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองอยู่เป็นประจำ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน แนวโน้มความสนใจในการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลสุขภาพที่มีความเป็นไปได้และเข้าถึงทุกคนมากยิ่งขึ้น ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์เห็นถึงโอกาสในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพของประชากรไทยในรูปแบบต่างๆ ในหลายช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลสุขภาพระยะยาว (Longitudinal data) ของบุคคล เพื่อทำการวิเคราะห์และรวบรวมเป็นข้อมูลสุขภาพของประเทศไทย หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะของแต่ละบุคคลในด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมแนะนำอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสม โปรแกรมการคัดกรองพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของเด็ก เป็นต้น ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ จึงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการรวบรวม จัดการ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงสมบูรณ์สำหรับคนไทย ทุกเพศ ทุกวัย โดยเน้นการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ของหน่วยงานเครือข่าย เพื่อให้เทคโนโลยีที่พัฒนาสามารถนำไปตอบโจทย์การส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล และระดับการพัฒนานโยบายสุขภาพสำหรับประเทศชาติ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อติดตามและส่งเสริมการมีสุขภาพดีของคนไทยด้วยการใช้ข้อมูลและนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล พันธกิจ สร้างแพลตฟอร์มสำหรับติดตามข้อมูลสุขภาพคนไทย พัฒนาเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้มีการต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการติดตามและดูแลสุขภาพ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชนทั่วไป เทคโนโลยีหลัก Predictive Health and Lifestyle Analytics Human Behaviour Analysis Time-series Data Analysis Optimization and Data Mining Recommendation Systems ผลงานเด่น

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ (TRT)

ปัจจุบันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่เทระเฮิรตซ์ได้รับความสนใจจากนักวิจัยในต่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของความถี่ในย่านนี้ที่ Non-Ionizing และสามารถทะลุผ่านสิ่งของที่เป็น Dielectric materials รวมถึงมีความไวในการตรวจจับสารเคมีและสารตั้งต้นวัตถุระเบิด ทำให้ได้มีการวิจัยและพัฒนานำความถี่ในย่านนี้มาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในด้าน เช่น การประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรม, การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-Destructive Testing: NDT), ด้านการแพทย์, Security scanning, รวมถึงเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ดังนั้นเพื่อให้สามารถรองรับทั้งภาระกิจและสร้างบุคลากรที่จะทำงานวิจัยในสาขานี้ จึงต้องมีการจัดตั้งทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ เพื่อตอบโจทย์งานวิจัยและพัฒนาอุสาหกรรมในประเทศรวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับนานาประเทศ นอกเหนือจากงานวิจัยในย่านคลื่นเทระเฮิรตซ์แล้วทางทีมวิจัยยังมีความสนใจในการนำเทคโนโลยีไลดาร์มาประยุกต์ใช้งานกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ย่านความถี่เทระเฮิรตซ์ เมื่อเปรียบเทียบกับย่านความถี่อื่นๆ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์ที่ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี สามารถนำไปสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความปลอดภัย ในประเทศและภูมิภาค เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป พันธกิจ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ส่งเสริมและร่วมมือการพัฒนาเทคโนโลยีเทระเฮิรตซ์กับภาครัฐและเอกชนภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไทย เทคโนโลยีหลัก THz sources Smith-Purcell Radiation IMPATT Diode Intense laser-based THz source Photoconductive THz emitter III-V THz

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี (OEC)

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์เชิงแสงไฟฟ้าเคมี และผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (SLT)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ เน้นงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน Photovoltaic Technology, High-Efficiency Crystalline Solar Cells (Silicon, Hybrid tandem), Thin films and emerging materials and devices including Perovskite Solar Cells, Thin film processing technique (PECVD, MOCVD), PV measurements and characterization, PV reliability testing and analysis, PV/ Hybrid System design and integration, PV modeling and simulation สารบัญ วิสัยทัศน์ สร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ให้ทัดเทียมระดับสากล และก่อให้เกิดผลกระทบในด้านวิชาการ เศรษฐกิจและสังคม พันธกิจ วิจัย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีแสงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย งานวิจัยของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักคือ งานวิจัยที่มีผู้ใช้ร่วมพัฒนา เช่น โจทย์วิจัยที่มาจากปัญหาของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนแล้วต้องการใช้เทคโนโลยีแสงเข้าไปช่วยแก้ไข งานวิจัยพื้นฐานเพื่อค้นหาองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับในประเทศและนานาชาติ ด้วยความมุ่งหวังว่าเทคโนโลยีแสงจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศตามภารกิจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ยังช่วยส่งเสริมและผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับตลาดแรงงานของประเทศด้วยการให้ความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยและผลิตต้นแบบให้งานวิจัยออกมาถึงมือผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ของประเทศ และผลักดันนวัตกรรมแสงสู่ภาคเอกชน พันธกิจ มุ่งสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีแสงในด้านต่างๆ เช่น การเกษตร การแพทย์ การศึกษา การส่งออก และอุตสาหกรรมการผลิต ถ่ายทอดงานวิจัยสู่มือผู้ใช้งาน ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อสังคมและเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรมแบบก้าวกระโดด เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีแสงด้านเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ตรวจวัด เทคโนโลยีประมวลผลภาพด้านแสงขั้นสูง เทคโนโลยีแสงด้านอุปกรณ์และเส้นใยนำแสง เทคโนโลยีแสงชีวภาพ หรือ ไบโอโฟโทนิกส์ เทคโนโลยีแสงนาโน หรือ นาโนโฟโทนิกส์ ผลงานเด่น MuEye – มิวอาย : เทคโนโลยีกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา ที่มีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน รุ่นเลนส์พอลิเมอร์ เพื่อการใช้งานในโรงเรียน มีความทนทานกับการใช้งานในสภาพอากาศร้อนชื้น ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน รุ่นโรโบคิด เชื่อมต่อกับบอร์ดคิดไบร์ท และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของสไลด์ตัวอย่าง และใช้มอเตอร์เพื่อปรับโฟกัสได้ รุ่นกำลังขยายสูง