ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือ Data-Driven Simulation and Systems Research Team (DSS) ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นมีเหตุกรณ์ที่ต้องตัดสินใจในหลายๆ เรื่อง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจที่ดีนั้นจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดตามมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการพยากรณ์คือการคาดการณ์เหตุการณ์เกี่ยวกับอนาคต โดยการพยากรณ์ที่ดีนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับในวงการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นความสามารถในการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำนั้นนอกเหนือจากเป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการขององค์กรแล้วในบางทีอาจส่งผลถึงความยั่งยืนขององค์กรนั้นๆด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ความสามารถในการพยากรณ์ที่ดีนั้นย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆของประเทศก่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน
การพยากรณ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยเทคโนโลยีการจำลองขั้นสูงนั้นมีความจำเป็นและมีบทบาทสำคัญ เพราะจะการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพแบบจำลองเพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เทคโนโลยีประมวลผลข้อมูลแบบ Real-Time หรือ Near Real-Time ตลอดจนคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อการผสานข้อมูลให้เข้ากับแบบจำลองเพื่อลดความไม่แน่นอนของผลพยากรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำสามารถนำไปใช้ในระบบช่วยตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือนำไปสู่การสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ต่อไป
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำทางด้านการใช้งานแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อการพยากรณ์และสร้างนวัตกรรม
พันธกิจ
- วิจัยเทคโนโลยีด้านการพยากรณ์และการจำลองทางคณิตศาสตร์
- พัฒนาต้นแบบเชิงพานิชย์และเชิงสาธารณะประโยชน์
- สร้างขีดความสามารถสำหรับเทคโนโลยีการพยากรณ์ในระยะยาว
เทคโนโลยีหลัก
- แบบจำลองคณิตศาสตร์ การจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมภายใต้ศาสตร์ของ Geophysical Fluid Dynamics และ Industrial Computational Fluid Dynamics
- การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีพยากรณ์ โดยการบูรณาการข้อมูล ด้วยกระบวนการด้าน Data Assimilation หรือ Inverse Problem
- Complex Event Processing (CEP) เป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการประมวลผลข้อมูล (ในรูปของอีเวนต์หรือเหตุการณ์) อย่างต่อเนื่องและใกล้เคียงกับเวลาปัจจุบัน (Near Real-Time)
- Event-Driven Architecture
- Cloud Computing และ การประมวลผลบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง
- เทคโนโลยี Visualization
ผลงานเด่น
- คิดไว: ชุดซอฟต์แวร์สร้างแพลตฟอร์มการประมวลผลแบบคลาวด์
- BigStream: แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์
- ระบบรักษ์น้ำ: ระบบพยากรณ์และจำลองเหตุการณ์เพื่อการบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม
- ทันระบาด: ชุดซอฟต์แวร์สนับสนุนการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
- ทันพิบัติ: ชุดซอฟต์แวรสนับสนุนการบริหารจัดการภัยธรรมชาติ
- Heat and Freeze: ระบบทดสอบและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการอบ อบแห้ง และแช่แข็งในอุตสาหกรรม
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.ศิโรจน์ ศิริทรัพย์ (นักวิจัย) : Environmental and Industrial flow modeling and analysis, Data analytic, Data assimilation and large scale optimization
- ดร.นัยนา สหเวชชภัณฑ์ (นักวิจัย) : Software Engineering, Database, Object-Oriented Analysis and Design, Code Mining & Ranking, Data Integration across heterogeneous sources
- ดร.เอกสิทธิ์ กิจสิพงษ์ (นักวิจัย) : Parallel Programming and Algorithms, Distributed and Cloud computing
- สายฝน ทมกระโทก (ผู้ช่วยวิจัย) : Forest hydrology, Hydrodynamic simulation, GIS application
- สุริยะ อุรุเอกโอฬาร (ผู้ช่วยวิจัย) : High Performance Computing Technology (Cluster Computing, Grid Computing), Security for Distributed System
- เทพทัต พันธุฟัก (ผู้ช่วยวิจัย) : Computational Fluid Dynamics, Heat transfer, Fluid mechanics
- เจษฎา เพ็งสุวรรณ (ผู้ช่วยวิจัย) : Distributed system, Web Services, Data Grid Caching, Internet GIS, Database, Object Oriented Design (OOD)
- คำรณ อรุณเรื่อ (ผู้ช่วยวิจัย) : Big Data, Software Engineering, Database Technology, Computer Networking
- ศิริวัฒน์ กองกุลศิริ (ผู้ช่วยวิจัย) : Mathematical Modeling, Data QA/QC
- จักรพงค์ พลหาญ (ผู้ช่วยวิจัย) : Web Application .Net 2.0, พัฒนา Application ด้วยภาษา c#, Java, JavaScript, Database, PHP, Jquery, WP Mobile Application
- มาโนชญ์ รัตนเนนย์ (ผู้ช่วยวิจัย) : Web Programming, Java Programming, Database, Programming for GIS
- กฤษณ์ พันธ์พฤกษ์ (วิศวกร): Databases, Performance Testing, System Administrator
- ธีรพงศ์ ขัตติยะวงศ์ (วิศวกร): Web Programming, Java Programming, Android Programming
- ภัทรรัตน์ สงทุ่ง (วิศวกร) : Data Analytics, Data Mining
ติดต่อ
ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)
กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล : dss[at]nectec.or.thโทรศัพท์ : 02-564-6900 ต่อ 2276