ผลการค้นหา

Tag: DSARG

ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ (HBA)

มนุษย์ทุกคนสร้างข้อมูลด้านสุขภาพของตนเองอยู่เป็นประจำ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน แนวโน้มความสนใจในการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลสุขภาพที่มีความเป็นไปได้และเข้าถึงทุกคนมากยิ่งขึ้น ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์เห็นถึงโอกาสในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพของประชากรไทยในรูปแบบต่างๆ ในหลายช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลสุขภาพระยะยาว (Longitudinal data) ของบุคคล เพื่อทำการวิเคราะห์และรวบรวมเป็นข้อมูลสุขภาพของประเทศไทย หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะของแต่ละบุคคลในด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมแนะนำอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสม โปรแกรมการคัดกรองพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตของเด็ก เป็นต้น ทีมวิจัยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ จึงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการรวบรวม จัดการ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงสมบูรณ์สำหรับคนไทย ทุกเพศ ทุกวัย โดยเน้นการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ของหน่วยงานเครือข่าย เพื่อให้เทคโนโลยีที่พัฒนาสามารถนำไปตอบโจทย์การส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล และระดับการพัฒนานโยบายสุขภาพสำหรับประเทศชาติ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อติดตามและส่งเสริมการมีสุขภาพดีของคนไทยด้วยการใช้ข้อมูลและนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล พันธกิจ สร้างแพลตฟอร์มสำหรับติดตามข้อมูลสุขภาพคนไทย พัฒนาเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้มีการต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการติดตามและดูแลสุขภาพ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ประชาชนทั่วไป เทคโนโลยีหลัก Predictive Health and Lifestyle Analytics Human Behaviour Analysis Time-series Data Analysis Optimization and Data Mining Recommendation Systems ผลงานเด่น

ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA)

เทคโนโลยีสำคัญที่มีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีการคาดการณ์อนาคตที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจำเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลปริมาณมากและมีความถูกต้องสูง ประเทศไทยเองมีข้อมูลที่ได้จากภาครัฐและแหล่งสาธารณะมีปริมาณไม่น้อย แต่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีความถูกต้องพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านพื้นที่ (GeoSpatial) และข้อมูลด้านเครือข่าย (Social Network) นอกจากนี้เทคโนโลยีด้าน cloud ก็มีส่วนอย่างมากที่ช่วยสนับสนุนและรองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยเฉพาะในกรณีที่ขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลระบบและทรัพยากรเครื่อง server ทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ คุ้มการลงทุนและมีความน่าเชื่อถือสูง ระบบการจัดการข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและการเรียนรู้จากข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์บน Cloud จึงเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยและส่งผลต่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนของประเทศ ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีทีมวิจัยที่จะมาจัดการชั้นข้อมูลปริมาณมหาศาล ให้พร้อมใช้งาน ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในมิติต่างๆ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและแอปพิเคชั่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในการกำหนดแนวทางและนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรองรับการเข้าใช้งานจากบุคคลทั่วไปและสามารถขยายผลไปถึงความต้องการของภาคเอกชนได้ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยด้านการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ชั้นนำของประเทศ โดยเน้นด้านการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ และความมั่นคงเป็นต้น พันธกิจ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) เช่นการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Mining, Statistical Inference) และการแสดงผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Visual Analytics) สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการตามความต้องการของประเทศ เทคโนโลยีหลัก แบบจำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ด้วยวิธีการทาง Spatio-Temporal Data Analysis

ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (DSS)

ทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือ Data-Driven Simulation and Systems Research Team (DSS) ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้นมีเหตุกรณ์ที่ต้องตัดสินใจในหลายๆ เรื่อง อย่างไรก็ดี การตัดสินใจที่ดีนั้นจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดตามมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการพยากรณ์คือการคาดการณ์เหตุการณ์เกี่ยวกับอนาคต โดยการพยากรณ์ที่ดีนั้นสามารถส่งผลให้เกิดการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับในวงการธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นความสามารถในการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำนั้นนอกเหนือจากเป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการขององค์กรแล้วในบางทีอาจส่งผลถึงความยั่งยืนขององค์กรนั้นๆด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ความสามารถในการพยากรณ์ที่ดีนั้นย่อมส่งผลดีต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆของประเทศก่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน การพยากรณ์ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยเทคโนโลยีการจำลองขั้นสูงนั้นมีความจำเป็นและมีบทบาทสำคัญ เพราะจะการตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือแนวทางการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพแบบจำลองเพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำขึ้นนั้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง เทคโนโลยีประมวลผลข้อมูลแบบ Real-Time หรือ Near Real-Time ตลอดจนคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อการผสานข้อมูลให้เข้ากับแบบจำลองเพื่อลดความไม่แน่นอนของผลพยากรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำสามารถนำไปใช้ในระบบช่วยตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือนำไปสู่การสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ต่อไป สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำทางด้านการใช้งานแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อการพยากรณ์และสร้างนวัตกรรม พันธกิจ วิจัยเทคโนโลยีด้านการพยากรณ์และการจำลองทางคณิตศาสตร์ พัฒนาต้นแบบเชิงพานิชย์และเชิงสาธารณะประโยชน์ สร้างขีดความสามารถสำหรับเทคโนโลยีการพยากรณ์ในระยะยาว เทคโนโลยีหลัก แบบจำลองคณิตศาสตร์ การจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมภายใต้ศาสตร์ของ Geophysical Fluid Dynamics และ Industrial Computational Fluid Dynamics การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีพยากรณ์ โดยการบูรณาการข้อมูล ด้วยกระบวนการด้าน Data Assimilation

ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI)

ปัจจุบันข้อมูลมีความสำคัญต่อสังคมในหลายมิติ ทั้งเรื่องในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการออกนโยบายของภาครัฐ หากแต่การนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะยังมีข้อจำกัดอยู่ในหลายประการ เช่น ข้อมูลมหาศาลแต่ขาดการนำมาใช้ประโยชน์ ข้อมูลอยู่ในสภาพที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ข้อมูลขาดผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งาน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ SAI มีพันธกิจในการเชื่อมโยงจาก “Data” สู่ การใช้ประโยชน์จริงจากภาค “ประชาชน” เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จริง รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อสนับสนุนความมั่นคงยั่งยืนของการบริหารประเทศจากการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยทีม SAI มีความเชี่ยวชาญในการสร้างคุณค่าจากข้อมูลผ่านกระบวนการหลัก 4 ด้านคือ Data Engineering และ Data Integration การบูรณาการข้อมูลจากข้อมูลดิบที่ใช้งานไม่ได้ สู่ข้อมูลพร้อมใช้งาน เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ Data Visualization ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาองค์ความรู้และคุณค่าที่ถูกซ่อนไว้ในข้อมูล (insights) เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูล โดยอาศัยทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงประยุกต์และวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับบริบทการใช้งาน Cognitive Science คือการรวมศาสตร์ซึ่งทีม SAI มีความเชี่ยวชาญเข้าไว้ด้วยกัน (Data Science, Data Analytics, Data Visualization

กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์

กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการและประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเน้นข้อมูลในสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ วิสัยทัศน์ พัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลของประเทศและภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมจากข้อมูล พันธกิจ เป็นเครื่องจักรสำคัญในการสร้างฐานรากทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ให้ประเทศ ร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของข้อมูลที่ช่วยขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีหลัก Analytics and Computing: Descriptive / Predictive / Prescriptive Data Management: Data Integration / Enterprise Architecture Distributed Processing / Parallel Processing Scheduling and Optimization Computational Statistics / Statistics Model Machine Learning Data Mining / Graph Mining / Pattern Mining Stream Processing Time series data analysis / Anomaly