ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)

Facebook
Twitter

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือ Educational Technology (EDT) กลุ่มวิจัยสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) มีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

สารบัญ

วิสัยทัศน์

ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

พันธกิจ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีหลัก

  • Hardware and Software Integration
    ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มการศึกษาแบบสะเต็มที่มีการ ทํางานร่วมกันของส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบและพัฒนาบอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright ให้ใช้งานร่วมกับ KidBright IDE
    • Firmware Design
    ออกแบบซอฟต์แวร์ระดับ Firmware เพื่อควบคุมการทํางานของอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์ม การศึกษาแบบสะเต็ม เช่น ออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนบอร์ดและจากภายนอก และออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ภายนอก
    • Embedded System Design
    ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สําหรับระบบสมองกลฝังตัว เช่น ออกแบบให้บอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright และบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science สามารถเชื่อมต่อกับ Extension board ที่พัฒนาโดยผู้อื่นให้ทํางานเป็นระบบเดียวกัน
    • Signal Processing
    พัฒนา Algorithm ที่ใช้เทคโนโลยี Signal Processing เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์หรือ แพลตฟอร์มการศึกษาแบบสะเต็ม เช่น ส่วนประมวลผลที่อยู่บนบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science และส่วนประมวลผลบนแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright Al
    • Open Educational Platform
    พัฒนาแพลตฟอร์มการศึกษาสะเต็มแบบเปิดที่เกิดการต่อยอดได้ง่ายทั้งส่วนเทคโนโลยีและ Education Contents เช่น บอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright และแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright Al ถูกออกแบบให้รองรับการต่อยอดทางเทคโนโลยีโดย community และ Virtual STEM classroom ซึ่ง เป็นแพลตฟอร์มสอนสะเต็มแบบออนไลน์ ถูกออกแบบให้รองรับการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยน Contents ตามความต้องการ ของผู้ใช้งานและการสร้าง Virtual STEM classroom ระดับโรงเรียนเกิดเป็นเครือข่าย Virtual STEM classroom

โครงการที่ดําเนินการในปัจจุบัน และแผนปี 2564-2566

  • Coding at School
    ขยายการเรียนวิชาวิทยาการคํานวณตัวยบอร์ด KidSright ไปยังโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนสังกัดเทศบาล
  • Coding for All
    ขยายการเรียนวิชาวิทยาการคํานวณด้วยบอร์ต KiciBright ไปยังโรงเรียนโสตศึกษา แหล่งทุน: กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสําหรับผู้พิการ
  • Virtual STEM Classroom
    ห้องเรียนแบบ Tactoryology-integrated classroom โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยการเรียนการสอนให้ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • KidBright ML+AL
    โครงการพันมหาศักยภาพเด็กไทยด้วยวิทยาศาสตร์การคํานวณและปัญญาประดิษฐ์
  • Coding for CLMV
    ขยายการใช้งาน KidBright ไปยังประเทศพม่าและลาว
  • Coding for EECI
    ขยายการเรียนวิชาวิทยาการคํานวณด้วย บอร์ด KidBright ไปยังโรงเรียนในเขต EEC

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  • ดร.อภิชาติ อินทรพานิชย์ : Signal processing
  • ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด : Image processing
  • ดร.ดุษฏี ตรีอำนรรค : Signal processing, Hardware design
  • ดร.อนุชิต ลีลายุทธ์โท : Hardware Design, Embedded Linux Software
  • ดร.สุรพล ตันอร่าม : Signal processing
  • นายวุฒิพงษ์ พรสุขจันทรา : Signal processing
  • นายสมพงษ์ กิตติปิยกุล : Signal processing Software engineering
  • นางสาวธัญลักษณ์ เสรีวรวิทย์กุล

ติดต่อ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 
อีเมล: cnwrg-edt[at]nectec.or.th
Facebook: https://www.facebook.com/kidbrightSTEM
Website: www.kid-bright.org

บทความที่เกี่ยวข้อง