ผลการค้นหา

Tag: CNWRG

ทีมวิจัยความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (SEC)

ทีมวิจัยนี้มุ่งเน้นงานวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศแบบบูรณาการ (Interdisciplinary) โดยผสานองค์ความรู้ของเทคโนโลยีจากหลากหลายสาขา เช่น Artificial Intelligence, Network, Cybersecurity และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับความต้องการของภาครัฐ ประชาชน และภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลและระบบต่าง ๆ ในโลกดิจิทัล เพื่อป้องกันภัยคุกคาม (Threat) จากการโจมตี (Attack) และการหลอกลวง (Scam) ตลอดจนสนับสนุนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) และข้อมูล (Information Security) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์และป้องกันการถูกจลกรรมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผล วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทย โดยมุ่งสร้างระบบดิจิทัลที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากการหลอกลวงในโลกไซเบอร์ พันธกิจ วิจัยพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างบูรณาการในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในระบบดิจิทัลและสนับสนุนความมั่นคงไซเบอร์ในระดับชาติ พัฒนาความรู้และทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล สร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับภาครัฐ, เอกชน, และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาระบบที่ปลอดภัยและยั่งยืน เทคโนโลยีหลัก Biometric Security Network Security Network Function Virtualization (NFV) SOC analyst Privacy Enhanching Technologies

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EDT)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา หรือ Educational Technology (EDT) กลุ่มวิจัยสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG) เป็นกลุ่มวิจัยที่มุ่งเน้นพัฒนาเครื่องมือสอนสะเต็มด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงคำนวณและทักษะแห่งอนาคต วิสัยทัศน์ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ส่งเสริมทักษะสําคัญของศตวรรษที่ 21 พร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล พันธกิจ ทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีวัตถุประสงค์ในการนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนสะเต็มที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีหลัก Hardware and Software Integrationออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์มการศึกษาแบบสะเต็มที่มีการ ทํางานร่วมกันของส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ออกแบบและพัฒนาบอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright ให้ใช้งานร่วมกับ KidBright IDE Firmware Designออกแบบซอฟต์แวร์ระดับ Firmware เพื่อควบคุมการทํางานของอุปกรณ์หรือแพลตฟอร์ม การศึกษาแบบสะเต็ม เช่น ออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนบอร์ดและจากภายนอก และออกแบบ Firmware ควบคุมการทํางานของแพลตฟอร์มสอนปัญญาประดิษฐ์ KidBright AI ให้เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ภายนอก Embedded System Designออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สําหรับระบบสมองกลฝังตัว เช่น ออกแบบให้บอร์ดสอนโค้ดดิ้ง KidBright และบอร์ดสอนวิทยาศาสตร์ KidBright Science

ทีมวิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย โดยมีแนวโน้มเป็นบริการที่ประยุกต์นวัตกรรมอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมระบบคลาวด์ เทคโนโลยีการสื่อสาร เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ฝังตัว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยี Internet of Things ที่สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม การแพทย์ การเกษตร การจัดการพลังงานและการจราจรของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เป็นต้น ทั้งนี้การพัฒนาบริการใหม่ๆที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือสิ่งที่จะใช้ติดต่อสื่อสารทั้งหลายมีส่วนที่คล้ายกันคือ มีการเชื่อมต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์หรือระบบต่างๆ เพื่อดูแลตรวจสอบ (monitoring) เพื่อควบคุม (control) หรือเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์เชิงลึก (analytic) ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ระบบ หรือกระบวนการต่างๆให้ดียิ่งขึ้น ทีมวิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตได้เล็งเห็นความสำคัญของแนวโน้มเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต จึงมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในเรื่อง Internet of Things (IoT), Cloud technology and service platform, Data acquisition and analytics และ Internet infrastructure and service เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านต่างๆ

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)

ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI) ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ Internet of Things หรือ Internet of Everything ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) ประกอบกับความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูล (Connectivity) ถูกใส่หรือติดเข้าไปกับ คน สัตว์ สิ่งของหรือสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งของอัจฉริยะ (Smart Things) ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นั้นคือ ข้อมูลตำแหน่ง (Location Information) และ ข้อมูลบ่งชี้หรือข้อมูลตัวตน (Identification Information) ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น หากทราบข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลบ่งชี้ของสิ่งของที่ถูกเก็บอยู่ภายในโกดังเก็บของขนาดใหญ่ จะทำให้เราสามารถค้นหาและนำสิ่งของนั้นออกมากจากโกดังได้รวดเร็วขึ้น หรือหากสิ่งของนั้นมีการเคลื่อนย้าย ผู้ดูแลจะสามารถทราบและติดตามการเคลื่อนย้ายของสิ่งของได้จากข้อมูลตำแหน่ง เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation)

ทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ

จากผลสำรวจของ World Bank ปัญหาด้านการขนส่งและจราจรส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ (Congestion Cost) เป็นมูลค่าสูงถึง 12,000 – 165,400 ล้านบาทต่อปี ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้มีการนำ Intelligent Transportation System (ITS) มาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันเรามีโอกาสทำวิจัยด้าน ITS มากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ เช่น GPS, จากการเก็บข้อมูลแบบ Crowdsourcing, เซนเซอร์ที่ภาครัฐลงทุนติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวได้รับการประมวลผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ห้องปฎิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ Intelligent Transportation Systems Laboratory (ITS) จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลสารสนเทศด้าน ITS ซึ่งมีความท้าทายเพราะเป็นข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการองค์ความรู้หลายด้านมาช่วยประมวลผล ไม่ว่าจะเป็น Geoprocessing, Stream Processing, Data Visualization, Machine Learning, Data Mining เป็นต้น

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย

กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่ายเป็นกลุ่มวิจัยภายใต้สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่ประกอบไปด้วยทีมนักวิจัยที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านวิทยาการเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร ทีมวิจัยมีภาระกิจงานวิจัยและพัฒนาที่มีบทบาทและส่วนร่วมในการผลักดันประเทศให้สามารถนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและเครือข่ายมาสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจและสังคม วิสัยทัศน์ เป็นกลุ่มวิจัยที่เป็นรากฐานสำคัญในการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่าย เพื่อสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 พันธกิจ วิจัย สร้างองค์ความรู้ และพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นฐาน ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ติดตามความก้าวหน้า วิเคราะห์ ประเมิน ให้ความคิดเห็น ในสาขาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ สร้างสรรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เทคนโลยีหลัก การสื่อสารข้อมูลแบบมีสายและไร้สาย (Wired and Wireless Communication) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย (Wireless Sensor Network) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และเว็บของสรรพสิ่ง (Internet of Things/ Web of Things) การให้บริการเครือข่ายแบบเสมือนและกำหนดได้ด้วยซอฟต์แวร์ (Network Function