ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ หรือ Location and Automatic Identification System Research Team (LAI) ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ของ Internet of Things หรือ Internet of Everything ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) ประกอบกับความสามารถในการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูล (Connectivity) ถูกใส่หรือติดเข้าไปกับ คน สัตว์ สิ่งของหรือสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสิ่งของอัจฉริยะ (Smart Things) ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงในหลายแง่มุมต่อ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย นั้นคือ ข้อมูลตำแหน่ง (Location Information) และ ข้อมูลบ่งชี้หรือข้อมูลตัวตน (Identification Information) ของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น หากทราบข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลบ่งชี้ของสิ่งของที่ถูกเก็บอยู่ภายในโกดังเก็บของขนาดใหญ่ จะทำให้เราสามารถค้นหาและนำสิ่งของนั้นออกมากจากโกดังได้รวดเร็วขึ้น หรือหากสิ่งของนั้นมีการเคลื่อนย้าย ผู้ดูแลจะสามารถทราบและติดตามการเคลื่อนย้ายของสิ่งของได้จากข้อมูลตำแหน่ง เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อปรับปรุงกระบวนการในอุตสาหกรรมได้อีกวิธีหนึ่ง
เพื่อให้การประยุกต์ใช้เซนเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ การสื่อสารข้อมูล รวมทั้งเทคนิคและวิธีการเหมาะสมกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เนคเทคจึงได้จัดตั้งห้องทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงในด้านดังกล่าว
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เพื่อนคู่คิดในเทคโนโลยีระบุตำแหน่งภายในอาคาร
พันธกิจ
- วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้ เซนเซอร์ (Sensor) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded Computer System) การประมวลผลข้อมูลแบบฝังตัว (Embedded Processing) เครือข่ายเซนเซอร์ (Sensor Network) และการเชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (Interconnection) เพื่อสร้าง ระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (Location and Automatic Identification System) และสร้างแพลตฟอร์มของระบบดังกล่าว โดยเน้นการใช้งานภายในอาคารหรือพื้นที่ปิด เป็นหลัก แต่ไม่จำกัดในการนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่เปิด
- นำเทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาด้านระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต ทั้งในกระบวนการผลิตและระบบโลจีสติกส์
- วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้ เซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์ (Ultra Wideband Sensor) ที่มีความสามารถในการตรวจกับวัตถุหรือสิ่งของภายใต้พื้นผิว (Subsurface Sensor) และสามารถใช้ในการวัดระยะทางได้ด้วยความละเอียดสูงในระดับเซนติเมตร (High Accuracy Ranging Sensor)
- วิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่สามารถใช้ในการในการวัดระยะทางได้ด้วยความละเอียดที่สูงที่สุดในระดับต่ำกว่ามิลลิเมตร
- ประยุกต์ใช้เซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์ และพัฒนาเซนเซอร์ให้สามารถสร้างเป็น ระบบเรดาห์ทะลุ เพื่อใช้ในการแพทย์เช่นการวัดการเคลื่อนที่ของหน้าอกระหว่างหายใจ หรือการหาระยะห่างระหว่างคนในอาคาร หรือการตรวจจับสิ่งกีดขวางของรถไฟ
- สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน เพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในเทคโนโลยีระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีเซนเซอร์เพื่อการระบุตำแหน่ง
- สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านเทคโนโลยีหลักของกลุ่มวิจัยนี้
เทคโนโลยีหลัก
- เทคโนโลยีเซนเซอร์อัลตราไวด์แบนด์เรดาห์ ซึ่งมีคุณสมบัติทะลุทะลวงผิว สามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับและระบุตำแหน่งของวัตถุใต้พื้นผิว ทั้งดิน กำแพง หรือร่างกายคน และมีคุณสมบัติความแม่นยำในการวัดระยะทางที่สูง
- เทคโนโลยีระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง เช่น Real Time Location System (RTLS) สามารถใช้งานในลักษณะติดตาม และเฝ้าระวัง แบบเวลาจริง สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย สามารถติดตั้งบนหุ่นยนต์เพื่อเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์และติดตามสถานะของหุ่นยนต์ได้
- เทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เช่น RFID สำหรับใช้ในการติดตามสินค้าในคลังสินค้าต่างๆ
- เทคโนโลยีเครือข่ายเซนเซอร์ ทั้งแบบมีสายและไร้สาย (Wired and Wireless Sensor Networks) ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อข้อมูลตำแหน่งและบ่งชี้ตัวตน ไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือระบบอินเทอร์เน็ต
- เทคโนโลยีประมวลผลสัญญานจากเซ็นเซอร์ (Sensor Signal Processing) เป็นการรวบรวมข้อมูลสัญญานจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ทั้งจากโทรศัพท์มือถือและเซ็นเซอร์เฉพาะงาน (Embedded Sensor) นำมาใช้ประมวลผลอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะที่ต้องการและถูกต้อง เที่ยงตรงและแม่นยำ
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.ละออ โควาวิสารัช : Signal Processing, Localization, Wireless communication
- ดร.ธานี ดีมีชัย. : signal processing, communications, instrumentation, radar, wireless localization
- ดร.กฤษณ์ อธิกุลวงศ์ : Embedded System, Computer Architecture, VLSI design, UWB Sensors, Sensor Network
- ดร.ทิวัตถ์ พงศ์ถาวรกมล : wireless communications, radar signal Processing
- ดร. เกรียงไกร มณีรัตน์ : signal Processing, optimization, system design for localization
- นางสุวรรณี ผู้เจริญชนะชัย:Physical Optics and Photonics
- นางจารุวลี สุวัตถิกุล : Network Protocol, Embedded Software, Java, Mobile App (Android)
- นางสุพัตรา มานะไตรนนท์ : ระบบสมองกลฝังตัว, เซนเซอร์ความชื้นในดิน, วงจรแอนาล็อก
- นายทวีศักดิ์ สรรเพชุดา : Communication Protocol
- นางสาวจุฑาทิพย์ วิศาลมงคล : Wireless resource allocation
- นายสดใส วิเศษสุด : Micro Controller, Firmware, PCB Design
- นายธิติพงษ์ วงสาโท : Micro Controller, iOS Application Programming
- นายวิศรวัส จันทวีสมบูรณ์ : Programming Software (C, C++, Java), Image processing, Computer Architecture, Feedback Control System
- นายกฤษฎา จินดา : Micro Controller, Android Programming
- นางสาวลดาวัลย์ กลิ่นกุสุม: Communication Networking, Wireless
- นายSambat Lim : Programming, PHP, JAVA
ติดต่อ
ทีมวิจัยระบบระบุตำแหน่งและบ่งชี้อัตโนมัติ (LAI)
กลุ่มวิจัยการสื่อสารและเครือข่าย (CNWRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล: lai[at]nectec.or.th
โทร. : (+66)2-564-6900