จากผลสำรวจของ World Bank ปัญหาด้านการขนส่งและจราจรส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ (Congestion Cost) เป็นมูลค่าสูงถึง 12,000 – 165,400 ล้านบาทต่อปี ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้มีการนำ Intelligent Transportation System (ITS) มาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันเรามีโอกาสทำวิจัยด้าน ITS มากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ เช่น GPS, จากการเก็บข้อมูลแบบ Crowdsourcing, เซนเซอร์ที่ภาครัฐลงทุนติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวได้รับการประมวลผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ห้องปฎิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ Intelligent Transportation Systems Laboratory (ITS) จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลสารสนเทศด้าน ITS ซึ่งมีความท้าทายเพราะเป็นข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการองค์ความรู้หลายด้านมาช่วยประมวลผล ไม่ว่าจะเป็น Geoprocessing, Stream Processing, Data Visualization, Machine Learning, Data Mining เป็นต้น ก็จะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย (Localization) มาช่วยแก้ไขปัญหาด้านการขนส่ง และการจราจรของประเทศ เช่น
- ความปลอดภัย (Safety)
- ประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability)
- การเคลื่อนที่ที่คล่องตัว (Mobility)
- การบริการ (Customer Service)
- คุณภาพอากาศ (Air quality)
- การประหยัดเชื้อเพลิง (Energy Saving)
Intelligent Transportation System (ITS) คือ ระบบที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการกับการขนส่ง และการจราจรเพื่อให้ส่วนต่างๆ มีการประสานงานที่ดีขึ้น เทคโนโลยีการประมวลผลสารสนเทศ ITS เช่น การประมาณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง (Travel Time Estimation) หรือ การตรวจจับความผิดปกติบนท้องถนน (Anomaly Detection) ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว มีความปลอดภัย และมีข้อมูลประกอบการวางแผนการเดินทาง ITS มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนคือ 1) โครงสร้างพื้นฐาน 2) ยานพาหนะ 3) ผู้ใช้รถใช้ถนน 4) ถนนและบริเวณโดยรอบถนน
ในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีข้อมูลจราจร เช่น ระดับความติดขัด ภาพจากกล้อง CCTV และ การรายงานผ่านระบบ Social Networks ต่างๆ ของผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกับ เทคโนโลยีทาง ITS เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์มากขึ้น ต่อการวางแผนการเดินทาง หลีกเลี่ยง การจราจรที่ติดขัด และเดินทางสู่จุดหมายได้สะดวก รวดเร็ว และ ปลอดภัยขึ้น
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยวิจัยด้านการประมวลผลสารสนเทศการขนส่งและจราจรชั้นนำของประเทศ
พันธกิจ
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลสารสนเทศเพื่อเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพ การขนส่งและจราจร
- สร้างพันธมิตรเพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะของประเทศ
- สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและอุตสาหกรรม
- มุ่งเน้นการร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
เทคโนโลยีหลัก
- Traffic Estimation & Prediction
- Anomaly Detection & Classification
- Information Visualization
- Behaviour Analysis
- Stream Processing
- Scheduling and Optimization
- Process Simulation
- Game Theory
ผลงานเด่น
International Journals:
- Distributed Classification of Traffic Anomalies using Microscopic Traffic Variables, S. Thajchayapong, E Garcia-Trevino and J. A. Barria, to appear in IEEE Transactions on Intelligent Transportation Systems, 2012
- A Review of Information Dissemination Protocols for Vehicular Ad Hoc Networks, S. Panichpapiboon, W. Pattara-atikom in IEEE Communications Surveys and Tutorials, Issue:99 pp 1 – 15, August 2011
- Detection and Classification of Traffic Anomalies using Microscopic Traffic Variables, J. A. Barria and S. Thajchayapong, IEEE Transactions on Intelligent Transportation Systems, vol 12, no. 3, pp 695-704, September, 2011
- Development of Dynamic Time Warping for Short-term Traffic Congestion Prediction, K. Hiri-o-tappa, S. Pan-Ngum, S. Narupiti and W. Pattara-atikom, to appear in Journal of IET Intelligent Transportation Systems
- Exploiting Wireless Communication in Vehicle Density Estimation, S. Panichpapiboon, W. Pattara-Atikom in IEEE Transactions on Vehicular Technology
- Perception-Based Road Traffic Congestion Classification Using Neural Networks and Decision Tree, P. Posawang, S. Phosaard, W. Polnigongit and W. Pattara-atikom, in Lecture Notes in Electrical Engineering, Vol. 60, pp. 237-248, 2010
- Accuracy Improvement of Travel Time Estimation in Urban Environment using State Transition-Dependent Time-Occupancy, P.aisittanakorn, W. Pattara-atikom, C. Salvichi, Journal of Society for Transportation and Traffic Studies, Vol 1. March 2010
- The Usability of a Web Survey of Road User Opinions on Traffic Reports, P. Posawang, S. Phosaard, W. Polnigongit and W. Pattara-Atikom, in Suranaree Journal of Social Science, Vol 2, 2008
- Connectivity Requirements for Self-Organizing Traffic Information Systems, S. Panichpapiboon and W. Pattara-atikom, in IEEE Transactions on Vehicular Technology, Nov 2008
- Prototypes:
- รายงานสภาพจราจรผ่านเว็บ (WTRAFFY) (Traffic Reporting Website : WTRAFFY)
- ระบบเก็บและแสดงสภาพจราจรผ่านอุปกรณ์ Pocket PC (Traffic data collection on Pocket PC)
- ระบบคาดการณ์ระดับความติดขัด
- ระบบรายงานป้ายจราจรอัจฉริยะบนโทรศัพท์มือถือ J2ME (JTraffy) (VMS Traffic Report Application on J2ME Mobile Phone)
- ต้นแบบระบบรายงานข้อมูลจราจรด้วยโทรศัพท์มือถือ Traffy Mobile
- ระบบจัดเก็บข้อมูลจากเครือข่ายโทรศัพท์และรายงานสภาพจราจรผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Symbian (MTraffy) (Cellular-Based Mobile Sensor and Traffic Information Report using Symbian Mobile Phone)
- ระบบตรวจจับการใช้งานเสาสัญญาณของเครือข่ายโทรศัพท์และสัญญาณ GPS ด้วยโทรศัพท์มือถือ (Cell Dwell Time Mobile Sensor from Cellular Networks using Mobile Phone)
- ระบบสำรวจระดับความติดขัดของสภาพจราจรจากภาพเคลื่อนไหวแบบตอบสนองต่อเวลาและผู้ใช้ผ่านเว็บ (Time-Sensitive Multimedia-based Interactive Web Survey for Congestion Degree Information)
- ระบบเก็บข้อมูลสภาพจราจรจากสัญญาณดาวเทียมนำร่อง GPS ด้วย PDA (Road traffic data collection with GPS-equipped PDA)
- Patents:
- ระบบรับและส่งข้อความด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถประมวลผลรูปแบบการส่งข้อความและปรับแต่งรูป แบบการใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ (SMS Gatway by Mobile phone)
- ระบบและวิธีการแสดงระดับความติดขัดของจราจรโดยรวมเป็นเปอร์เซ็นบนโทรศัพท์มือถือ (traffic congestion report using congestion percent)
- ระบบและวิธีการให้ข้อมูลหรือบริการผ่านการเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ บริการ
- วิธีการประมาณค่าเวลาในการเดินทางข้ามสะพาน
- วิธีประเมินระยะเวลาเดินทางของผู้ใช้ยานพาหนะจากข้อมูลการเปลี่ยนเสาสัญญาณโทรศัพท์ เคลื่อนที่โดยวิธีประมาณค่าสัดส่วนพื้นที่ครอบคลุมของเซลล์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
- วิธีการประเมินหาปริมาณพาหนะและรัศมีการส่งที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต้องมีในเครือข่ายการกระจายข้อมูล จราจรด้วยการสื่อสารระหว่างพาหนะ
- วิธีการระบุตำแหน่งประจำทางเข้าป้ายจากข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
- ณพงศ์ วาณิชยพงศ์
- อรรถพล ก้อมมังกร
- สุเมธ ปานกวีรัตน์
- นพปฎล ชะฎิล
- กมนัช พรหมบำรุง
- ก้องเกียรติ คันทะศรี
ติดต่อ
ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
ทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
email : traffyteam@gmail.comหมายเลขโทรศัพท์: 0-2564-6900 ต่อ 2622