ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (SLT)

Facebook
Twitter

ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ หน่วยวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ เน้นงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน Photovoltaic Technology, High-Efficiency Crystalline Solar Cells (Silicon, Hybrid tandem), Thin films and emerging materials and devices including Perovskite Solar Cells, Thin film processing technique (PECVD, MOCVD), PV measurements and characterization, PV reliability testing and analysis, PV/ Hybrid System design and integration, PV modeling and simulation

สารบัญ

วิสัยทัศน์

สร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ให้ทัดเทียมระดับสากล และก่อให้เกิดผลกระทบในด้านวิชาการ เศรษฐกิจและสังคม

พันธกิจ

วิจัย และพัฒนา สร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้งานโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ตอบโจทย์ภาคเอกชน และนโยบายประเทศ

เทคโนโลยีหลัก

  • เทคโนโลยีการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์

วิจัยและพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีค่าประสิทธิภาพสูงและมีค่าสัมประสิทธิทางอุณหภูมิต่ำเหมาะกับใช้งานในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นและรวมถึงประเทศไทย ได้แก่ เทคโนโลยีการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิคอนบนกระจก เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางซิลิคอนแบบโค้งงอได้ เทคโนโลยีการสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรบนผลึกซิลิคอน และเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ การกัดกระจกฐานรอง การกัดแผ่นซิลิคอน การพัฒนาฟิล์มอินเดียมทินออกไซด์ที่มีความโปร่งแสงสูง เป็นต้น

  • การวิเคราะห์สมรรถนะและความน่าเชื่อถือของแผงและระบบเซลล์แสงอาทิตย์

ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะการทำงานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในเขตร้อนชื้น รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาการเสื่อมสภาพที่เกิดในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ เช่น Light induced degradation (LID) และ Potential induced degradation (PID) โดยในการใช้งานจริงเซลล์แสงอาทิตย์และวัสดุที่ใช้ในการประกอบแผงจะมีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน โดยอัตราการเสื่อมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของสถานที่ติดตั้ง เช่น อุณหภูมิ และ ความชื้น ประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ที่สูง แต่การที่สภาพอากาศของประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูง และความชื้นสูงตลอดทั้งปีนั้นส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้า และอัตราการเสื่อมของแผง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเก็บผลข้อมูลระยะยาวเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้ประเทศไทย

  • การจำลองและคาดการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ได้พัฒนาโปรแกรมคาดการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ แบบระยะยาว รายเดือน รายปี และอยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการคาดการณ์ล่วงหน้าระยะสั้นแบบไม่เกิน 3 วันล่วงหน้า ผลการคาดการณ์มีประโยชน์ในการประเมินความคุ้มทุน และการบริหารจัดการพลังงาน คณะวิจัยให้ความสำคัญกับรูปแบบของการติดตั้งระบบ ทั้งแบบการติดตั้งบนพื้นดิน บนหลังคา แบบเป็นส่วนนึงของอาคาร และแบบระบบผสมผสาน

  • พัฒนาผลิตภัณฑ์และการประยุกต์ใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์

วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากเซลล์แสงอาทิตย์ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีสันสวยงาม (Colorful PV) สามารถติดตั้งร่วมกับสิ่งปลูกสร้างทดแทนกระจกอาคารและช่วยลดการส่งผ่านความร้อนเข้ามายังอาคาร เป็นต้น

ผลงานเด่น

solar cell
  • ต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดโค้งงอได้ โดยสร้างขึ้นบนแผ่น polyimide ขนาด 10 cm × 10 cm มีค่ากำลังไฟฟ้า 0.27 W (Voc = 10.3 V, Isc = 45.2 mA, FF = 0.58, Eff = 5.9%)
Solar cell
  • ต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรบนฐานรองผลึกเดี่ยวซิลิคอนชนิดเอ็น (SHJ) พื้นที่ขนาด 1 cm× 1 cm มีค่าประสิทธิภาพ 20.2% (Voc = 694 mV, Jsc = 37 mA/cm2, and FF = 0.79)
  • ต้นแบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อเฮเทอโรฯที่มีขั้วนำไฟฟ้าบวก-ลบที่ด้านหลัง (IBC-SHJ) พื้นที่ขนาด 1.5 cm× 1.5 cm มีค่าประสิทธิภาพ 18.3% (Voc = 707 mV, Jsc = 35.7 mA/cm2, and FF = 0.73)
Solar cell
  • การประเมินสมรรถนะและความน่าเชื่อถือระยะยาวของเซลล์แสงอาทิตย์หลายเทคโนโลยีและอุปกรณ์แปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งใช้งานภายใต้ภูมิอากาศประเทศไทย เป็นการวิเคราะห์การทำงานและอัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ 4 เทคโนโลยี ที่ติดตั้งใช้งานจริงที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งผลงานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง เนคเทค และบริษัทTABUCHI ELECTRIC จำกัด
Solar Might
  • ซอฟต์แวร์คาดการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งในเขตร้อนชื้น (SolarMight) เป็นโปรแกรมคาดการณ์ที่ใช้โมเดลที่เหมาะกับเขตร้อน ใช้ข้อมูลจริงจากการเก็บข้อมูลระยะยาวในประเทศไทยในการพัฒนา สามารถใช้คาดการณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าจากระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ก่อนการติดตั้งจริง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ผลงานนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาภายใต้โปรแกรมวิทยาการสารสนเทศบริการ ของเนคเทค

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  • กอบศักดิ์ ศรีประภา นักวิจัย, D.Eng. : Development of photovoltaic technologies for tropical climate, Thin film silicon solar cells, PECVD/ PVD process, Characterization of photovoltaic system
  • จรัญ ศรีธาราธิคุณ นักวิจัย, D.Eng. : Development of thin film and crystalline silicon solar cell, Deposition and characterization of thin film silicon and perovskite materials.
  • อมรรัตน์ ลิ้มมณี นักวิจัย, D.Eng. : Fabrications of multi-crystalline Si solar cell and thin film Si solar cell, Preparation and property analysis of a-Si, a-SiO, a-SiN, a-SiCN, µc-Si, µc-SiO thin films, Characterization of photovoltaic modules and systems, Performance and reliability test of photovoltaic cells, modules and systems, Simulation of photovoltaic performance under tropical climate condition, Development of photovoltaic modules suiting for tropical climate
  • ทวีวัฒน์ กระจ่างสังข์ นักวิจัย, D.Eng. : Solar cell materials, Thin film silicon solar cell, Crystalline silicon heterojunction solar cells
  • อัศวิน หงษ์สิงห์ทอง นักวิจัย, D.Eng. : Thin-film silicon solar cells, ZnO material, PECVD, PVD and MOCVD processes, Characterization of thin-film materials, Semiconductor Physics and devices, PV system design
  • นพดล สิทธิพล นักวิจัย, Ph.D. : Inspection & Testing PV module and system, PV water pumping, PV tracking system and PV string auto cleaning
  • ทรงเกียรติ กิตติสนธิรักษ์ นักวิจัย, Ph.D. : PV module development, PV system and application, PV system design and evaluation (On grid, off grid, Hybrid and Micro grid), PV Monitoring method, PV Modelling and Simulation of PV System
  • พีระวุฒิ ชินวรรังสี นักวิจัย, M.Eng. : PV system and application, PV failure analysis by EL techniques, PV system design and evaluation (On grid, off grid, Hybrid and Micro grid), Simulation of PV System, PV power and solar irradiance forecasting

ติดต่อ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (SLT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล : slt[at]nectec.or.th
โทร. : (+66)2-564-6900 ต่อ 2716