Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


เชื้อรากับบิ๊ก D2B
 ลักษณะของเชื้อราที่พบในบิ๊ก D2B

             ลักษณะของเชื้อราที่พบในบิ๊ก D2B
       เชื้อราที่พบเป็นเชื้อ Scedosporium ซึ่งเป็นเชื้อ เซปโปรไฟท์แบบเส้นยาว
      (saprophytic filamentous) ซึ่งมีรายงานครั้งแรกที่พบในคนเมื่อปี 1984
       เชื้อนี้มีชนิดย่อย (species) 2 ชนิด
             ลักษณะเชื้อนี้จะโตเร็วมาก มักภายใน 48 ถึง 72 ชั่วโมง บนน้ำยาอาหาร
      ในห้องทดลอง มีลักษณะเฉพาะ โดยถ้าเพาะได้ จะมีสีคล้ายควันบุหรี่สีเทาน้ำตาล
      และ เป็นปุยคล้ายปุยฝ้าย และการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะมีลักษณะเป็นทรง
      แบบโคน และ มีเส้นใยเชื้อราร่วมด้วย (conidia, conidiophores และ
      hyphae) และ ตรวจทดสอบให้ชัดเจนมากขึ้นได้โดยใช้สาร cycloheximide
      หรือactidione ยับยั้งเชื้อนี้ได้
                ลักษณะการแพร่ของเชื้อ
      เชื้อ Scedosporium สามารถแยกได้จากดิน และ ขนสัตว์ คนรับเชื้อนี้โดยการหายใจ
      เอาสปอร์เข้าสู่ปอด หรือไซนัส หรือเข้าได้โดยตรงผ่านแผล
     ในคนเชื้อจะสามารถแบ่งตัวต่อได้ มักเป็นในปอด เชื้ออาจอยู่เฉพาะที่ หรือ
     อาจกระจายรุนแรงทั่วร่างกายก็ได้
              อาการของโรค
      อาการจะคล้ายเชื้อราที่พบบ่อยตัวหนึ่งคือ เชื้อ Aspergillus แต่ต้องแยกเชื้อรา
      ทั้ง 2 กลุ่มนี้ออกจากกันให้ได้ เพราะ การรักษาต่างกันโดยสิ้นเชิง
dki;bob0Cyp-v'crmpN
 อาการของบิ๊ก D2B
        1. อาการทางปอด พบบ่อยมากที่สุด อาจมาด้วยโรคไซนัส มีจุดกลมคล้ายมีลูกบอล
            ในปอด อาจทำให้ปอดเน่าตาย หรือ อาจคล้ายโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการไอ,
            ไอเป็นเลือด, เจ็บในอกเสีอด และมีไข้ การเอ๊กซเรย์ปอดจะพบรอยฝ้า และ
            เกิดโพรงในปอด
  2. อาการเฉพาะที่อื่น อาจเกิดที่กระดูก ข้อ รวมทั้งผิวหนัง และ ตาก็พบได้บ่อย
      อาจตาอักเสบจนปวด แดง หรือ คล้ายมีฝุ่นในตาได้ด้วย
  3. อาการจากเชื้อกระจายเข้ากระแสเลือด มีลักษณะเฉพาะคือช๊อค มีอวัยวะล้มเหลว
      หลายอย่าง มักเป็นในรายที่มีภูมิต้านทานต่ำอยู่เดิมก่อนติดเชื้อนี้
                 การวินิจฉัยโรค
       การตรวจเลือด ปัจจุบันยังไม่ได้ผล และ เริ่มมีการทดลองใช้ Molecular
       techniques แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการตรวจรักษาในปัจจุบันได้
                การรักษาและการใช้ยาฆ่าเชื้อรา
    เชื้อรานี้แบ่งเป็น 2 ชนิด และ ผลการรักษาโดยใช้ยา ต่างกันมาก
  1. กรณีเป็นเชื้อ S. prolificans
      -  เป็นเชื้อที่ดื้อรักษายาก ยาทุกตัวได้ผลไม่ดี
      -  ยา Amphotericin B, flucytosine และ azoles รวมทั้งยาเชื้อรา
         ตัวใหม่ ๆ เช่น caspofungin มีผลน้อยมาก
      -  UR-9825 และ voriconazole พบว่ามีผลในหลอดทดลองดีที่สุด
         แต่มีผลแค่ปานกลาง
      -  มีการศึกษาโดยใช้ยาสองตัวร่วมกัน itraconazole และ terbinafine
         พบว่าผลเสริมยากันได้ในหลอดทดลอง ผลถึง 95 % หลังทดลอง 48 ชั่วโมง
      -  มีการศึกษาอีกการศึกษา ได้ผล 85 % หลังได้ยา terbinafine ร่วมกับยา
         voriconazole หรือ itraconazole
ภาพถ่ายสมองของบิ๊ก
ชนิดของเชื้อรา
    2. กรณีเป็นเชื้อ S. apiospermum
 -   เชื้อนี้มักดื้อต่อยาเชื้อราที่ใช้กันบ่อย ๆ เดิมเช่นกัน คือยา fluconazole และ
     flucytosine ในหลอดทดลอง และ ตอบสนองไม่แน่นอนต่อยา itraconazole
 -   มีรายงานการตอบสนองต่อยา miconazole และ voriconazole ซึ่งได้ผลยอมรับได้
 -   ยาบางตัวได้ผลบางส่วนเช่น Posaconazole และยา UR-9825
 -   ยาเชื้อราตัวใหม่คือ ravuconazole พบว่าได้ผลดีต่อเชื้อนี้เช่นกัน
 -   การใช้ยาเชื้อราหยดรักษาโดยใช้ amphotericin B มีรายงานเชื้อราพันธุ์ย่อย
     บางตัวดื้อยานี้ได้
 -   Voriconazole ทดลองในหลอดทดลองพบว่าได้ผลดีกว่ายาหยดรักษาเชื้อรา
     amphotericin B หรือยา itraconazole
 -   การให้ยาเชื้อราหลายตัว มีรายงานเช่นกัน เช่นการใช้ amphotericin B
     และยารับประทานกลุ่ม azole พบว่าผลเสริมกัน ได้ผลประมาณ 67 %
    ในการทดสอบ ตัวอย่างเชื้อรา 22 ตัวอย่าง
 -   ยาเชื้อรากลุ่มใหม่ล่าสุด Caspofungin มีผลการศึกษาว่าได้ผลดีมาก ๆ เช่นกัน
     พบว่าน่าจะได้ผลดีกว่ายาเชื้อราดั้งเดิม

         การรักษาบิ๊ก D2B
   แพทย์ผู้รักษาได้ใช้ยา caspofungin และ voriconazole
  ซึ่งถือว่าเป็นยาที่ดีที่สุดแล้วที่ใช้รักษาได้ ในปัจจุบัน
       ผลสรุปหลังการรักษาบิ๊ก D2B ขึ้นกับปัจจัยดังนี้
  -   คนที่มีภูมิต้านทานเดิมปกติ คือบิ๊ก D2B มีผลดีกว่าภูมิต่ำซึ่งมักเสียชีวิต
  -   กรณีที่เชื้อกระจายทั้งตัว อย่างนี้ มีอัตราการตายสูง ในการศึกษา 16 คน
      (โดยในนี้ 15 คนเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือด) ตายไป 14 คนแม้ได้ยาฆ่าไวรัสก็ตาม
      มีการศึกษาย้อนหลัง 23 คน ในคนที่เปลี่ยนอวัยวะ ตายถึง 73 %
      โดยคนที่มีการติดเชื้อในสมอง ตายถึง 10 ใน 11 คน และ 5 ใน 6
      คนที่รอดมาจะมีรอยโรคค้างอยู่ อาจมีปัญหาแขนขาอ่อนแรง หรือ อัมพาตครึ่งซีก
การรักษาบิ๊ก D2B

ข้อมูล นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ ร.พ.พระรามเก้า
http://www.praram9.com/news