Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


การเก็บวัตถุตัวอย่าง


                   การเก็บตัวอย่างจะต้องพิจารณาถึง

       1. ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง จะต้องทำความสะอาดก่อน
           เพื่อลดการ ปนเปื้อน
       2. ปริมาตรเก็บให้เพียงพอกับความต้องการ
       3. ภาชนะบรรจุตัวอย่างใช้ภาชนะสะอาดปราศจาก
ภาชนะบรรจุตัวอย่าง  
  ภาชนะบรรจุตัวอย่างเก็บเลือด

            วัตถุตัวอย่าง
   -   การเก็บเลือด เก็บด้วยวิธีการที่ปราศจากเชื้อ โดยใช้เข็มและ
       กระบอกฉีดยาเจาะเส้นเลือดดำเก็บเลือด
   -   การเก็บน้ำไขสันหลัง (CSF)เก็บโดยวิธีปราศจากเชื้อ
       ส่วนใหญ่แพทย์จะเก็บตัวอย่างเอง ตัวอย่างนำส่งห้องปฏิบัติการ
       เพื่อดำเนินการตรวจทันที
   -   การเก็บน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ นอกจากน้ำไขสันหลัง
        เก็บด้วยวิธีปราศจากเชื้อโดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยา
        เก็บให้ได้ปริมาณมากเท่าที่จะเก็บได้นำส่งห้องปฏิบัติการทันที

       -   การเก็บเสมหะ ควรเก็บก่อนผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้า
           ให้ผู้ป่วยแปรงฟันบ้วนปาก ด้วยน้ำยาบ้วนปาก
           หรือใช้น้ำหรือน้ำเกลือปราศจากเชื้อบ้วนปากหลาย ๆครั้ง
       -   การเก็บตัวอย่างบริเวณช่องคลอด เก็บตัวอย่างโดย ใช้ไม้พันสำลี
           ที่ชุบด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำกลั่นปราศจากเชื้อเก็บ ตัวอย่าง
           ลงในหลอดปราศจากเชื้อไม่ควรใช้ไม้พันสำลีที่แห้ง
       -   การเก็บปัสสาวะ เก็บตอนเช้าถ่ายครั้งแรกดีที่สุด โดยให้ถ่ายปัสสาวะ
           ทิ้งออก ประมาณ 20-25 มล. แล้วจึงเริ่มเก็บ
       -   ผม การเก็บตัวอย่างใช้คีมคีบที่ปราศจากเชื้อ ดึง ถอน เส้นผม
           ให้ติดส่วนโคนผมด้วยเส้นผมที่ติดเชื้อราจะหลุดออกง่ายกว่า
           ผมปกติ
เชื้อราที่ศีรษะ
        
เชื้อราที่เล็บเท้า

     -   เล็บ ทำความสะอาดเล็บ ตัดส่วนของเล็บที่เป็นโรคที่ใกล้กับ
         บริเวณ เล็บปกติและขูดเก็บบริเวณใต้เล็บ
     -   การเก็บตัวอย่าง ฝี หนองฝี ให้เก็บตัวอย่างแบบปราศจากเชื้อ
         โดยกดให้หนองไหลลงหลอดสะอาดปราศจากเชื้อ
         ควรหลีกเลี่ยง การใช้สำลีพันปลายไม้ ป้ายเก็บหนอง
     -   การเก็บตัวอย่างจากการผ่าตัดหรือจากการผ่าศพ
         ขนาดของชิ้นเนื้อต้องใหญ่พอที่จะตรวจหารา ที่มีอยู่ในปริมาณน้อย
         ชิ้นเนื้อที่ตัดมา ควรประกอบด้วย ส่วนที่ปกติ ส่วนรอยโรคที่ขอบแผล
        
และส่วนรอยโรคตรงกลางแผล


           -   หู ทำความสะอาดบริเวณหู ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำกลั่น
               ปราศจากเชื้อก่อน แล้วเก็บตัวอย่างใส่ในหลอดปราศจากเชื้อ
          
-   จมูก ใช้ไม้พันสำลีเก็บตัวอย่างใส่ลงในหลอดปราศจาก
           -   ปาก บริเวณช่องปากใช้ใบมีดที่ไม่คมขูด บริเวณที่เป็นผื่นขาว
               หรือวงแดง ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำกลั่นหรือน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
               เก็บตัวอย่าง
เชื้อราที่ใบหู