Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


ลักษณะที่สำคัญของเชื้อรา
     1. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้
          ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตหรือซากสิ่งมีชีวิตอื่น
     2. มีรูปร่างแบบ Filament เรียกว่า เส้นใย (hypha)
         กลุ่มของเส้นใยเรียกว่ามัยซีเลียม (mycelium)
         และมัยซีเลียมไม่มีการเจริญวิวัฒนาการไปเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)
     3. มีนิวเคลียสแบบ eukaryotic nucleus คือ
         นิวเคลียสมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้ม
     4. มีผนังเซล
     5. สร้างสปอร์เพื่อการสืบพันธุ์
ลักษณะของเชื้อรา
Somatic Structure Somatic Structure
        ภายในส่วนของ filament หรือเส้นใย มีโปรตีนปลาสซึม เส้นใยมีความยาวไม่จำกัดแต่ความกว้างประมาณ 0.5 ไมครอน ถึง 1 มิลลิเมตร
         ราโดยทั่วไปมีผนังกั้นตามขวางเป็นระยะเรียกผนังกั้นตามขวางว่า septum แต่บางชนิดเส้นใยเป็นท่อยาวต่อกันไป ไม่มีผนังกั้น เรียกเส้นใยแบบนี้ว่า coenocytic หรือ nonseptate hypha
ผนังกั้นแบ่งเส้นใยของเชื้อออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนเรียก เซกเม้นท์ (segment) หรือแต่ละเชลล์มีนิวเคลียสได้มากมาย
ชนิดของ Septum
1. closed diaphragm พบในพวก Phycomycetes (ราน้ำ)
    เชื้อจะสร้างผนังกั้นเพื่อตัดหรือแบ่งส่วนที่ได้รับอันตรายออกจากส่วน
    ของเส้นกำลังเจริญเติบโต
2. แผ่นกั้นตามขวาง มีรูอยู่ตรงกลาง (simple plate with a hole in center)
     พบในรา พวก Ascomycetes เกิดโดยมีสารที่ต้องใช้ในการสร้างมาสะสม
     รอบเส้นใยนั้นแล้วค่อย ๆ    แผ่เข้าจนเหลือรูตรงกลาง
3. dolipore septum เป็นผนังกั้นที่มีรูตรงกลางเช่นกัน พบเฉพาะเชื้อราใน
    class    Basidiomycetes เท่านั้น ลักษณะที่ต่างไปคือ ตรงขอบ
     มีลักษณะพองหนาขึ้นรอบๆ    ส่วนที่เป็นรูตรงกลางสามารถยืด หดได้

ชนิดของ Septum