Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


การดำเนินการตรวจ


ตัวอย่างเชื้อราที่เพาะในจานเพาะเชื้อ

              เมื่อวัตถุตัวอย่างมาถึงห้องปฏิบัติการ ควรดำเนินการตรวจ
      ทันทีเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การดำเนินการตรวจทั้งโดยวิธีการตรวจ
      โดยตรงทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อ
              ถ้าวัตถุตัวอย่างมีจำนวนไม่พอ ให้ทำการเพาะเชื้ออย่างเดียว
      ตัวอย่างบางชนิดต้องมีการเตรียมการก่อนตรวจ               
              วัตถุตัวอย่างที่ไม่เหมาะสมในการตรวจ เช่น เสมหะที่มีลักษณะ
      เป็นน้ำลาย เสมหะ หรือปัสสาวะที่เก็บมาแล้วนานเกิน 24 ช.ม.   


                    วัตถุตัวอย่างที่มีการรั่วซึมออกมานอกภาชนะหรือ
           มีการปนเปื้อนจากเชื้ออื่น ๆ มีปริมาณน้อยเกินไป
           ควรขอให้ส่งตัวอย่างใหม่มาตรวจจะดีกว่า
                    แต่ถ้ามีปัญหาต้องการผลเร่งด่วน และการเก็บตัวอย่าง
           จากผู้ป่วยเก็บได้ยาก และเป็นอันตรายกับผู้ป่วย
           ก็จำเป็นต้องตรวจไปตามสภาพของวัตถุตัวอย่างขณะนั้น
ภาพขยายเชื้อราจากกล้องจุลทรรศน์
ตัวอย่างเชื้อราที่เพาะในจานเพาะเชื้อ

                วัตถุตัวอย่างที่เป็นของเหลว เช่น น้ำไขสันหลัง ปัสสาวะ
        และน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ นำมาทำให้เข้มข้นขึ้น
        เพื่อตรวจหาเชื้อได้ง่ายขึ้น (เชื้อเจริญได้เร็วภายใน 2-3 วัน
        แทนที่จะเจริญประมาณ 4 สัปดาห์ ) โดยการปั่น (Centrifugation)
        หรือการกรอง

                 วัตถุตัวอย่างที่มีความหนืดเหนียว เช่น เสมหะ
       ใช้สารที่มีคุณสมบัติย่อยมิวคัส (Mucous) ได้จนเสมหะ
       หายหนืดกลายเป็นของเหลวนำไปปั่น ใช้ส่วนที่อยู่ก้นหลอด
       สำหรับดำเนินการตรวจ
                  การเตรียมตัวอย่างเสมหะก่อนตรวจนี้ ค่อนข้างยุ่งยาก
       ต้องใช้เวลา และมีการปนเปื้อนได้ง่ายหาผู้ปฏิบัติตามนี้ได้ยาก
      โดยมากจะตรวจจากตัวอย่าง โดยไม่ผ่านการย่อยมิวคัส
       และนำส่วนที่อยู่ก้นหลอดมาตรวจ ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้
       ขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างก่อนตรวจสะดวกกว่า
เชื้อราที่เพาะในหลอดเพาะเชื้อ