Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


การเรียกชื่อเชื้อรา
บิดาแห่งวิชาอนุกรมวิธาน


               taxonomy คือการจัดจำแนกหมวดหมู่ของเชื้อรา
       หรือสิ่งมีชีวิตให้เข้าตาม Class, Order, Family ,
       Genus, Species ต่างๆ โดยอาศัยลักษณะรูปร่าง
       โครงสร้าง
     

            จุดมุ่งหมายของ taxonomy
        -   เพื่อสะดวกในการศึกษา เมื่อจัดเป็นหมวดหมู่
            ความสับสนก็น้อยลง
        -   จัดตาม natural arrangement
            ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความสัมพันธ์กันทางพันธุศาสตร์


          -   nomenclsture หมายถึงการพิจารณาให้ชื่อสบีซี่
              (species) ที่ถูกต้องแก่เชื้อนั้นๆ จัดเป็นส่วนหนึ่งของ
              taxonomy
          -  สปีซี่ หมายถึงหน่วยที่ใช้ เรียกหรือแทนชื่อสิ่งมีชีวิต
             แต่ละอย่างที่ค้นพบ    การตั้ง สปีซี่ต้องอธิบาย
             ลักษณะสิ่งมีชีวิตนั้นโดยละเอียด ชื่อสปีซี่ประกอบ
             ด้วย 2 ส่วนคือ generic name และ specific epithet
             ซึ่งเรียกว่าระบบ binomial
          -  binomial nomenclature เป็นการเรียกชื่อทางวิทยาศาสตร์
             (scientific หรือชื่อทาง taxonomy ของสิ่งมีชีวิต
             ซึ่ง Linnaeus เป็นผู้ริเริ่มนำระบบนี้มาใช้เป็นครั้งแรก

การจัดจำแนกหมวดหมู่ของเชื้อรา
การจัดจำแนกหมวดหมู่ของเชื้อรา           ในทางพฤกษศาสตร์นั้น การตั้งชื่อพืชต่าง ๆ จะตั้งตาม
    International Code of Botanical Nomenclature
    ซึ่งชื่อที่ใช้ต้องเป็นภาษาละติน หรือทำให้เป็นภาษาละติน
     และต้องมีชื่อผู้ตั้งชื่อหรือผู้ค้นพบตามหลัง เป็น
    author citation จึงจะถือว่าเป็นชื่อที่ถูกต้อง
            สำหรับการเรียกชื่อเชื้อรานั้น แต่เดิมยังไม่มีปัญหาอะไร
        เพราะมีพบอยู่เป็นจำนวนน้อย การตั้งชื่อเชื้อรา เริ่มใช้หลังจาก
        ปี ค.ศ. 1753 โดยแบ่งออกเป็นสองระยะคือ
           1.  ระยะแรกยึดหลักตามหนังสือ Synopsis Methodica Fungorum
                ซึ่งเขียนโดย Persoon พิมพ์เผยแพร่ในปี 1801
                ราในขณะนั้นมี 3 กลุ่ม คือ
                1.1 Uridinales - rust
                1.2 Ustilayginales - smut
                1.3 Gasteromycetes - puffball
           2.  ระยะที่สองนั้นได้แก่พวกราอื่นๆ ยึดหลักตามหนังสือ
                 Systema Mycologicum ของ Fries ซึ่งพิมพ์เผยแพร่
                 ในปี ค.ศ. 1821-1832 หนังสือดังกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็น
                 รากฐานทางการจำแนกหมวดหมู่ที่สำคัญของเชื้อรา
การจัดจำแนกหมวดหมู่ของเชื้อรา