Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการ

            การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อราทางห้องปฏิบัติการ
    เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ ผู้ปฏิบัติการตรวจเชื้อราทางการแพทย์
    คือสามารถวินิจฉัยเชื้อราก่อโรคได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
    คือมีความถูกต้องและแม่นยำสูง
            การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง

        1. การตรวจโดยตรงทางกล้องจุลทรรศน์ (Direct microscopical
            examination )
        เป็นวิธีการ เบื้องต้นที่สำคัญ ให้ผลรวมเร็ว รายงานผลเบื้องต้นให้ทราบก่อน
        ในบางกรณีสามารถทำการรักษาได้ เมื่อรู้ผลการตรวจทางกล้องจุลทรรศน์
                 ความไวและความจำเพาะขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ
            -  จำนวนของเชื้อที่อยู่ในวัตถุตัวอย่าง
            -  ชนิดของเชื้อรา
            -  ความรู้ความชำนาญ ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงาน

ที่เก็บเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยวัตถุตัวอย่าง

          วิธีการตรวจวินิจฉัยวัตถุตัวอย่าง โดยตรงทางกล้องจุลทรรศน์ได้แก่
   -  การตรวจสดในสารละลายโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์
   -  การตรวจสดในอินเดียอิ้งค์ (India ink prerparation)
   -  การย้อมสีแบบต่างๆ

        วิธีการที่ใช้ขึ้นกับชนิดของวัตถุตัวอย่าง และชนิดของโรคที่สงสัย
   วัตถุตัวอย่างส่วนมาก จะทำการตรวจสด ในสารละลายโปแตสเซี่ยม
   ไฮดรอกไซด์  วัตถุตัวอย่างที่เหมาะสมกับการตรวจวิธีนี้ ได้แก่
   ผิวหนัง ผม เล็บ

          2. การเพาะเชื้อ
              อาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อ ใช้ในรูปอาหารแข็ง ได้ผลดีกว่าอาหารเหลว
       (broth media) ยกเว้น การเพาะเชื้อจากตัวอย่างเลือด
        การเลือกใช้อาหารเพาะเลี้ยงเชื้อขึ้นอยู่กับ ชนิดของเชื้อราที่สงสัย
       ชนิดของวัตถุตัวอย่าง ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างและขึ้นกับ
       ชนิดของเชื้อราที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อรา
การตรวจวินิจฉัยวัตถุตัวอย่าง
การตรวจวินิจฉัยวัตถุตัวอย่าง
          3. การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อราด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา
              การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อราด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยานั้น
       ทำได้หลายวิธีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ แต่ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้ม
       บกพร่อง เช่นผู้ป่วยที่ติดเชื้อรา HIV ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
       ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นเวลานาน จะไม่สามารถตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ได้
              4. การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อราด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ
                  (Histopathology)
                  คือการตรวจดูรูปร่างลักษณะของเชื้อราใน tissue ของผู้ป่วยที่มี
                 พยาธิสภาพ โดยนำ tissue ของผู้ป่วยมาทำ section แล้ว
                 ทำการย้อมด้วยวิธีต่างๆ จึงนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศ์
                 สีที่ย้อมจะไป Stain เซลล์ของเชื้อราทำให้เซลล์เด่นชัดใน tissue
การตรวจวินิจฉัยวัตถุตัวอย่าง