Fungus หมายถึง เชื้อราและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์  สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว  และหลายเซลล์ นำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ก่อให้เกิดโรคหลายชนิดขึ้นกับมนุษย์
| หน้าหลัก | ราวิทยาเบื้องต้น | ลักษณะสำคัญ | การดำรงชีวิต | การจัดกลุ่ม | การวินิจฉัย | การรักษาและทำลาย | ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ | เชื้อราในสิ่งส่งตรวจ | เชื้อรากับบิ๊กD2B |


เชื้อรา
ราวิทยาเบื้องต้น
ผลของเชื้อราต่อสิ่งมีชีวิต
โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
การเรียกชื่อเชื้อรา

ลักษณะสำคัญ
ลักษณะของเชื้อรา
เนื้อเยื่อของเชื้อรา
โครงสร้างของเชื้อรา

การดำรงชีวิต
การดำรงชีวิตของเชื้อรา
การเจริญของเส้นใย
สัณฐานวิทยา
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การจัดกลุ่ม
การจัดหมวดหมู่เชื้อรา
Ascomycota
Basidiomycota
Deuteromycota
Zygomycota

การวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัย
ความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ
การเก็บวัตถุตัวอย่าง
การดำเนินการตรวจ

การรักษาและทำลาย
การทำลายและฆ่าเชื้อรา

รูปภาพ
เชื้อราทั่วไป
ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
ภาพเชื้อราที่เกิดกับร่างกาย
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลลำพูน

ภาคผนวก
ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราที่พบในสิ่งส่งตรวจต่างๆ

เชื้อรากับบิ๊ก D2B


เชื้อราที่เกิดกับร่างกาย

                 1. เชื้อราที่ศีรษะ (Tinea capitis)
         ส่วนใหญ่เชื้อราที่หนังศีรษะนี้ มักจะพบในเด็กเท่านั้น
         เป็นเด็กวัยเรียนหนังสือชั้นประถม ในผู้ใหญ่จะพบน้อยมาก
         ลักษณะเชื้อรานี้คล้ายกับ ลักษณะของฝีชันนะตุ (Kerion)
         เป็นหนองแฉะ ๆ บางครั้งเป็นสะเก็ดแห้งกรัง มีขอบเขต
         เป็นวงค่อนข้างชัดเจน มีอาการคัน หรือเจ็บได้บ้าง
         ติดต่อลูกลามไปยังเด็กคนอื่นได้
เชื้อราที่ศีรษะ
เชื้อราที่ลำตัว
              2. เชื้อราที่ลำตัว แขน ขา (Tinea corporis)
       ส่วนใหญ่คนไทยจะเรียกว่า โรคกลาก หรือ ขี้กลาก นั่นเอง
       ลักษณะผื่นเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน (ringworm) ผื่นวงแหวนสีแดง
       มีขอบเขตชัดเจนมาก อาจมีขุยสะเก็ดลอกที่ขอบ ๆ ของวงแหวน
       เมื่อทิ้งไว้ผื่นวงแหวนสีแดงนี้ จะลุกลามขยายวงออกกว้างขึ้นได้ มีอาการคัน
       ถ้าเหงื่อออกจะยิ่งคันมากขึ้น

              3. เชื้อราที่ขาหนีบ (Tinea cruris)
       เกิดขึ้นที่บริเวณขาหนีบโดยตรง จะมีผื่นสีแดงจัด
      ขอบเขตค่อนข้างชัดเจนมาก มีสะเก็ดหรือขุยลอกเล็ก
      มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองไทย
      มี 2 ฤดูคือ ร้อนมากกับร้อนน้อย และมีความชื้นสูง
      เพราะฉะนั้นเชื้อราที่ขาหนีบจึงผูกพันกับคนไทยเป็นพิเศษ
เชื้อราที่ขาหนีบ
เชื้อราที่เล็บ
               4. เชื้อราที่เล็บ (Tinea unguium)
       ลักษณะของเล็บที่เป็นเชื้อราคือ เล็บเปลี่ยนสี เช่น มีสีคล้ำ ดำขึ้น
       น้ำตาล เขียวคล้ำ เป็นต้น เล็บหนาขึ้น ใต้ฐานเล็บหนาขึ้น
       เล็บเปลี่ยนรูปร่างไป เช่น บิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรงเดิม มีรอยหยักเป็นลูกคลื่น
       เล็บโค้งงอ เล็บกร่อน เล็บผุ พื้นผิวเล็บไม่เรียบ


                 5. เชื้อราที่ใบหน้า (Tinea faceii)
          ลักษณะจะมีผื่นสีแดง รูปวงกลม วงแหวน (ringworm)
          มีขอบเขตชัดเจน มีขุยสะเก็ดลอก ที่บริเวณใบหน้า
          อาการคันจะไม่มากนัก
เชื้อราที่ใบหน้า
เชื้อราที่มือและเท้า


       6. เชื้อราที่มือและเท้า (Tinea manum, Tinea pedis)
       ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่มือ หรือเท้า ข้างใดข้างหนึ่ง มี 2 ลักษณะคือ
   1.   ลักษณะแบบแห้ง ๆ ผื่นแดงเป็นวง มีขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ดแห้ง ขุยลอก
   2.   ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสแตกออก เป็นแบบแฉะ ๆ
       เชื้อรานี้มักจะเป็นตามซอกนิ้วมือ ซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้า ที่อับชื้น ทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็นได้