ผลการค้นหา

Tag: ทีมวิจัย

ทีมวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ

จากผลสำรวจของ World Bank ปัญหาด้านการขนส่งและจราจรส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ (Congestion Cost) เป็นมูลค่าสูงถึง 12,000 – 165,400 ล้านบาทต่อปี ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้มีการนำ Intelligent Transportation System (ITS) มาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวและพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันเรามีโอกาสทำวิจัยด้าน ITS มากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ เช่น GPS, จากการเก็บข้อมูลแบบ Crowdsourcing, เซนเซอร์ที่ภาครัฐลงทุนติดตั้ง เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวได้รับการประมวลผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ห้องปฎิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือ Intelligent Transportation Systems Laboratory (ITS) จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลสารสนเทศด้าน ITS ซึ่งมีความท้าทายเพราะเป็นข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการองค์ความรู้หลายด้านมาช่วยประมวลผล ไม่ว่าจะเป็น Geoprocessing, Stream Processing, Data Visualization, Machine Learning, Data Mining เป็นต้น

ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI)

ปัจจุบันข้อมูลมีความสำคัญต่อสังคมในหลายมิติ ทั้งเรื่องในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการออกนโยบายของภาครัฐ หากแต่การนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะยังมีข้อจำกัดอยู่ในหลายประการ เช่น ข้อมูลมหาศาลแต่ขาดการนำมาใช้ประโยชน์ ข้อมูลอยู่ในสภาพที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ ข้อมูลขาดผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งาน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ SAI มีพันธกิจในการเชื่อมโยงจาก “Data” สู่ การใช้ประโยชน์จริงจากภาค “ประชาชน” เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จริง รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อสนับสนุนความมั่นคงยั่งยืนของการบริหารประเทศจากการใช้ประโยชน์ข้อมูล โดยทีม SAI มีความเชี่ยวชาญในการสร้างคุณค่าจากข้อมูลผ่านกระบวนการหลัก 4 ด้านคือ Data Engineering และ Data Integration การบูรณาการข้อมูลจากข้อมูลดิบที่ใช้งานไม่ได้ สู่ข้อมูลพร้อมใช้งาน เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ Data Visualization ความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจและใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาองค์ความรู้และคุณค่าที่ถูกซ่อนไว้ในข้อมูล (insights) เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูล โดยอาศัยทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงประยุกต์และวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับบริบทการใช้งาน Cognitive Science คือการรวมศาสตร์ซึ่งทีม SAI มีความเชี่ยวชาญเข้าไว้ด้วยกัน (Data Science, Data Analytics, Data Visualization

ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบวัดและควบคุมระยะไกล (IST)

ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบวัดและควบคุมระยะไกล หรือ Intelligent SCADA Technology Research Team (IST) อยู่ภายใต้กลุ่มวิจัยระบบอัจฉริยะ (INSRG) โดยปัจจุบันประเทศไทยได้รับ ปรับใช้และลงทุนในเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นระบบวัดและควบคุมระยะไกล สำหรับระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นการไฟฟ้าและการประปา อีกทั้งระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยจากภัยพิบัติ ฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการนำความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ทั้งสิ้น การจัดตั้งทีมระบบวัดและควบคุมระยะไกล เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านนี้อย่างจริงจังจะทำให้สามารถรับรู้ และก้าวตามทันเทคโนโลยี จนมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นของตนเอง สามารถเป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความฉลาดมากขึ้น สารบัญ วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาระบบวัดและควบคุมระยะไกลที่ใช้งานได้จริง ที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พันธกิจ พัฒนาระบบวัดและควบคุมระยะไกลประสิทธิภาพสูงมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ลูกค้าได้รับความพึงพอใจและการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถแบบบูรณาการ เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีการแปลงค่าทางกล ให้เป็นค่าทางไฟฟ้าที่มีความแม่นยำสูง หน่วยวัดและควบคุมระยะไกลภาคสนาม (RTU) สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมร้อนชื้น ประหยัดพลังงาน เชื่อถือได้ (High reliability) เทคโนโลยีระบบสนับสนุนที่ใช้งานง่ายเช่น รองรับฐานข้อมูลที่หลากหลาย ระบบติดต่อกับผู้ใช้งานที่ใช้งานง่าย ปรับแต่งได้ตามความต้องการ เทคโนโลยีระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนสูงและระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System) เทคโนโลยีระบบเชื่อมโยงกับระบบเดิมหรือระบบอื่นๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศผ่านทางโปรโตคอลมาตรฐาน ผลงานเด่น International Conferences

ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)

ศูนย์ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Center for Cyber-Physical Systems : CPS) เป็นหน่วยงานภายใต้หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ (NCCPI) มีหน้าที่วิจัยพัฒนา รวมถึงให้บริการคำปรึกษา ทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านระบบไซเบอร์-กายภาพ และ IoT เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงของประเทศ ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Cyber-Physical Systems : CPS) คือระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ (Physical World) กับโลกไซเบอร์ (Cyber World) เข้าด้วยกัน โลกกายภาพประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร มนุษย์ ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อม ส่วนโลกไซเบอร์หรือโลกดิจิทัลนั้นเป็นโลกแห่งการประมวลผลและการควบคุม การผนวกสองโลกเข้าด้วยกันเริ่มจากการเชื่อมต่อของสิ่งต่างๆ ในโลกกายภาพแบบเป็นเครือข่าย ซึ่งเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connectivity) การสื่อสาร (Communication) และการนำข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสภาวะแวดล้อมต่างๆ ในโลกกายภาพส่งต่อไปให้โลกของไซเบอร์ช่วยประมวลผล (Computing) วิเคราะห์คำนวณ หรือตัดสินใจ

ทีมวิจัยนวัตกรรมพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก

ทีมวิจัยนวัตกรรมพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก (SMD-1 RT) เป็น 1 ใน 3 ทีมวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นการวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรม (RDDE) และการวิเคราะห์พื้นผิววัสดุด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนากำลังคน (HRD) การสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ (Research networking) การสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ (Commercial products) และระบบนิเวศน์ (Ecosystem) สำหรับเทคโนโลยีพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกอย่างยั่งยืน   สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นพันธมิตรทางด้านวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรม และการวิเคราะห์พื้นผิววัสดุด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนากำลังคน การสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ อันนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในเชิงพาณิชย์และการสร้างระบบนิเวศน์ สำหรับเทคโนโลยีพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกอย่างยั่งยืน พันธกิจ มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนากำลังคน และสร้างเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์และระบบนิเวศน์ สำหรับเทคโนโลยีพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิกอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีหลัก ทีมวิจัยนวัตกรรมพื้นผิววัสดุและอุปกรณ์ไมโครฟลูอิดิก (SMD-1 RT) เป็น 1 ใน

ทีมวิจัยการออกแบบวิเคราะห์และประเมินผลการทำงานของอุปกรณ์จากกระบวนการผลิต (DSCRT)

ทีมวิจัยการออกแบบวิเคราะห์และประเมินผลการทำงานของอุปกรณ์จากกระบวนการผลิต หรือ Design, Simulation, Characterization, and Circuit Design Research Team (DSC) อยู่ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มีหน้าที่ดังนี้ วิจัยและพัฒนาฯ เทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำเช่นเซ็นเซอร์ โดยใช้เครื่องจักรและ Cleanroom ของศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ วิจัยและพัฒนาฯ วงจรรวม (Integrated Circuit) เพื่อประยุกต์ใช้กับเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆ เช่น Chemical- และ Bio-sensor วิจัยและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้คำนวณและทำนายพฤติกรรมของอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์เช่น เซ็นเซอร์ วิจัยและพัฒนาฯ ระบบ อุปกรณ์ และวิธีการศึกษาคุณสมบัติของอุปกรณ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค สารบัญ วิสัยทัศน์ สร้างเทคโนโลยีและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอุปกรณ์เซนเซอร์ (sensors) อุปกรณ์เมมส์ (MEMS) และอุปกรณ์ อื่นๆ ที่ สามารถผลิตบนเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ อย่างยั่งยืน พันธกิจ วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจรรวม (Integrated Circuits) ที่เกี่ยวข้องกับเซนเซอร์ขั้นสูง (Advanced sensors) และ

ทีมวิจัยเชิงอุตสาหกรรมบนซิลิกอนเทคโนโลยี (SIFRT)

ทีมวิจัยเชิงอุตสาหกรรมบนซิลิกอนเทคโนโลยี หรือในชื่อย่อ “SIFRT” สังกัดหน่วยวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มีความร่วมมือในงานวิจัยและพัฒนากับหน่วยงานวิจัย สถาบันศึกษา ภาคเอกชนทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ อาทิ โครงการร่วมวิจัยพัฒนา Silicon microchannel heat exchanger ระหว่าง TMEC-ALICE/CERN โครงการรับจ้างวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตโครงสร้างระดับจุลภาค Silicon mold ให้กับบริษัทเอกชน เป็นต้น ทีมวิจัยเชิงอุตสาหกรรมบนซิลิกอนเทคโนโลยี ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิจัย ดังนี้ Silicon Process Technology Team (SPT) : กลุ่มวิจัยที่มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีกระบวนการการผลิตซีมอส-เมมส์ (CMOS-MEMS microfabrication technologies) รวมทั้งประสบการณ์เฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานจริงกับเครื่องจักรต่างๆ ในคลีนรูม (Cleanroom) เป็นอย่างดี ISFET Team (IST) : กลุ่มวิจัยที่มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ISFET หรือ Ion sensitive field