เทคโนโลยีเกี่ยวกับมอเตอร์ ระบบขับเคลื่อน และการแปลงผันกำลังงาน เป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้งานกระจายไปในระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งใน บ้านพักอาศัยและภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้น มาใช้เพื่อควบคุมจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและรวมถึงการแปลงพลังงานให้อยู่ใน รูปแบบที่ เหมาะสมตามความต้องการ ซึ่งการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพนับเป็นปัจจัยที่สำคัญ ต่อทุกสังคมสมัยใหม่ และมีผลต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศ ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การขนส่ง อุตสาหกรรม หรือสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การใช้พลังงานที่ขาดการจัดการ หรือการควบคุมที่ดีในวงกว้างจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่ ไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจและส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงทางด้านพลังงานอีกด้วย
จากความสำคัญดังกล่าว ทีมวิจัยมอเตอร์ และการแปลงผันกำลังงาน จึงถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านมอเตอร์ ระบบขับเคลื่อน และการแปลงผันกำลังงาน ประสิทธิภาพสูง เพื่อควบคุมจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่า รวมถึงพัฒนาระบบให้มีความฉลาด ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมในอนาคต เพื่อให้เกิดการเติบโต และยั่งยืนทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศต่อไป
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยวิจัยและพัฒนาที่มุ่งมั่นส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบ มอเตอร์ ระบบขับเคลื่อน การแปลงผันกำลังงานชนิดต่าง ๆ และระบบการจัดการพลังงาน ที่สามารถใช้งานได้จริงและสร้างผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรม ชุมชนและการศึกษา แบบบูรณาการ
พันธกิจ
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน มอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง ระบบขับเคลื่อน การออกแบบมอเตอร์ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับงานโดยทั่วไปหรือแบบเฉพาะทาง
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน ระบบการแปลงผันกำลังงาน การจัดการพลังงาน และปรับปรุงคุณภาพกำลังไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง
สร้างเครือข่ายงานวิจัยร่วมกับกับสถาบัน/องค์กรเอกชนต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานวิจัยและพัฒนา ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ สังคม และองค์ความรู้ของ ประเทศอย่างยั่งยืน
เทคโนโลยีหลัก / โจทย์วิจัย
- การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง
- การวิเคราะห์เสียงและการสั่นสะเทือนสำหรับการออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า
- การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังและระบบขับเคลื่อนมอเตอร์
- การแปลงผันกำลังงานด้วยการสวิตช์ความถี่สูงและประสิทธิภาพสูง
- การแปลงผันกำลังงานและการจัดการพลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบกักเก็บกำลังพลังงาน
- อินเวอร์เตอร์หลายระดับ
ผลงานเด่น / ผลงานที่เปิดให้บริการ
- รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ความเร็วสูงชนิดสวิทซ์รีลัคแตนซ์
- มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงสำหรับระบบปรับอากาศ
- อุปกรณ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน (Dental platform)
- ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าแบบผสมระหว่างแบตเตอรี่กับตัวเก็บประจุยิ่งยวด
การให้บริการ
- ชุดทดสอบวัดคุณลักษณะมอเตอร์ไฟฟ้า – ชนิดมอเตอร์ที่ให้บริการทดสอบ
- Induction Motor (IM)
- Permanent-Magnet Synchronous Motor (PMSM)
- Synchronous Reluctance Motor (SynRM)
- Permanent-Magnet Assisted Synchronous Reluctance Motor (PMA-SynRM)
- แรงบิดสูงสุด 200 Nm, กระแสสูงสุด 100 A, แรงดันไฟฟ้าสูงสุด 1000 V
- ชุดทดสอบวัดเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนมอเตอร์ไฟฟ้า
- วัดค่าและลดผลกระทบจากเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือน
- แหล่งกำเนิดทางกล, แหล่งกำเนิดทางกลศาสตร์ของอากาศ, แหล่งกำเนิดทางแม่เหล็กไฟฟ้า
- ชุดทดสอบหาแผนผังประสิทธิภาพมอเตอร์ไฟฟ้า พร้อมเครื่องมือวัด
- สำหรับงานประยุกต์ทางอุตสาหกรรมและยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
- พิกัดสูงสูด: 380 kW, 1,800 Nm, 15,000 รอบต่อนาที
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.ณัฐพล ชโยพิทักษ์ : การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า, การสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์, ระบบควบคุม
- ดร.ณัชพงศ์ หัตถิ : การแปลงผันกำลังงาน, การจัดการพลังงาน, อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
- ดร.ฤเชาว์ ภู่ประดับศิลป์ : การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า, การวิเคราะห์เสียงและการสั่นสะเทือนสำหรับการออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า
- ดร.บุรินทร์ เกิดทรัพย์ : การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้า, การสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์, การออกแบบมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยเทคนิคออฟติมัยเซชั่น
- ดร. ศิริยา สกลธนารัตน์ : คุณภาพไฟฟ้าในระบบกำลังไฟฟ้า, การสร้างแบบจำลองระบบกำลังไฟฟ้า, การเชื่อมต่อโครงข่ายพลังงานลม
- ดร.นันทวัฒน์ ฐิติชัยวรกรณ์ : การแปลงผันกำลังงาน, อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
- นายประสิทธิ์ จำปา : การออกแบบวงจรแปลงผันกำลังงาน, การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์, การออกแบบ, การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบทางกล
- นายประพนธ์ จิตรกรียาน : ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์, อิเล็กทรอนิกส์กำลัง, การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
- นายสันติพงศ์ ครุกานันต์ : การเขียนโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัว, ระบบฐานข้อมูล, ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- นายสุรศักดิ์ นุ้ยเลิศ : อิเล็กทรอนิกส์กำลัง, การประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัว
- นายสืบสรวง คชาภรณ์กุล : การเขียนโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัว, การประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัว, การออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์
- นายนิยม หนูเล็ก : การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบทางกล, การออกแบบทางกล, การออกแบบผลิตภัณฑ์
- นายปกาศิต สมศิริ : ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์, การออกแบบระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ ให้มีความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ติดต่อ
นายปกาศิต สมศิริ
ทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน (MAP)
กลุ่มวิจัยการควบคุมและอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง (ACERG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล : Pakasit.Somsiri[at]nectec.or.th
โทร. : (+66) 2-564-6900 ต่อ 2803