หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู

ในกระบวนการผลิตบูดูนั้นปลากะตักเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ จากการสอบถามผู้ผลิตบูดูพบว่าสามารถใช้ปลาชนิดอื่นได้ แต่รสชาติและ กลิ่นของบูดูไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ผลิตบูดูเพื่อจำหน่ายใช้ปลาชนิดอื่นนอกจากปลากะตัก ซึ่งพบว่าการหมักปลาที่มีไขมันสูงจะทำให้ได้บูดูมีคุณภาพดี จากตารางการวิเคราะห์องค์ประกอบของปลาจะเห็นได้ว่าปลากะตักเป็นปลาที่มีไขมันสูง

ตารางแสดงองค์ประกอบทางเคมีของปลาโดยเฉลี่ย (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)

ชนิดปลา
ความชื้น
โปรตีน
ไขมัน
ปลาทู(1)
73.3-79.3
16.6-21.4
0.5-4.1
ปลาแชลั้น (1)
75.3-76.0
17.7-21.0
1.9-4.6
ปลาหลังเขียว (2)
52.5-67.5
11.3-18.0
13-36
ปลากะตัก (2)
52.5-67.5
11.3-18.0
13-36
ปลาทูแขก (1)
74.19
21.90
3.93
ปลาแดง (2)
79.10
18.90
1.2

ที่มา : (1) Clucas (1981) อ้างโดย พงษ์เทพ เกิดเนตร (2533)
       (2) Stansby (1962) อ้างโดย พงษ์เทพ เกิดเนตร (2533)

ในกระบวนการหมักบูดูนั้นตลอดระยะเวลา 8-12 เดือนนั้นมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น กระบวนการออสโมซิส กระบวนการย่อยโปรตีน กระบวนการย่อยไขมัน การบวนการเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยา เป็นต้น คณะผู้จัดทำได้จัดหมวดหมู่กระบวนการต่างๆ อย่างเป็นสัดส่วนเพื่อช่วยให้เนื้อหาง่ายต่อการเข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และควบคู่กันไป นอกจากนี้ยังได้รวบรวมความรู้ทางวิทยาศาตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไขมัน โปรตีน เอนไซม์ กระบวนการออสโมซิส การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีเมื่อปลาตาย บัพเฟอร์ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น

     ไขมัน                                                                          การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีเมื่อปลาตาย

  บัพเฟอร์                                                                      กระบวนการเกิดสี และกลิ่นของบูดู

   กระบวนการออสโมซิส                                                   การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยา

        การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ                                           เอนไซม์

    การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการผลิตบูด       โปรตีน


|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium