จากการทดลองหมักบูดู
และค้นคว้างานวิจัยหลายเล่มทำให้พอสรุปกระบวนการเปลี่ยนแปลงระหว่างการหมักบูดูตามระยะเวลาในการหมัก
ได้ดังนี้
บูดูที่หมักเป็นเวลา
7 วัน และมีความเข้มข้นของเกลือร้อยละ 25-27 จะมีเนื้อปลาที่แข็งและเหนียว
เนื่องจากในระยะแรกที่ปลาสัมผัสกับเกลือ ของเหลวที่มีอยู่ในตัวปลาประมาณร้อยละ
80 จะค่อยๆ ซึมออกมาข้างนอกตัวปลา ขณะเดียวกันเกลือจะซึมเข้าไปในตัวปลาทำให้ปลามีลักษณะเหมือนปลาดองน้ำเกลือ
ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการออสโมซิส ทำให้เนื้อปลามีลักษณะหดตัว แข็ง
และมีความเค็มจัด สีของปลาซีดลง มีกลิ่นคาวปลามาก น้ำหมักปลาจะมีสีเหลืองปนเทา
และมีไขมันปลาสีเหลืองเข้มลอยที่บริเวณผิวน้ำ และมีโปรตีนเพปไทด์ กรดอะมิโน
เกลือแร่ รวมทั้งวิตามินบีละลายปนออกมามากในน้ำหมักปลา
บูดูที่หมักเป็นเวลา
15-60 วัน จะมีลักษณะคือ เนื้อปลานิ่มลงแต่ยังเป็นตัวปลาอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากเอนไซม์จากปลาและแบคทีเรียร่วมกันย่อยสลายให้เนื้อปลานิ่มลง
สีของเนื้อปลาซีดลง กลิ่นคาวปลาลดลง เมื่อกวนน้ำหมักปลาจะขุ่มกว่าน้ำหมักปลาในระยะแรก
ไขมันของปลาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล และลอยอยู่บนผิวน้ำมากขึ้น
บูดูที่หมักเป็นเวลา
3-4 เดือน เนื้อปลาเริ่มเปื่อยหลุดออกจากก้างปลากลายเป็นของเหลวข้นสีเทาอมแดง
ส่วนน้ำหมักปลาเป็นสีน้ำตาลเป็นผลจากกรดอะมิโนทำปฏิกิริยากับน้ำตาลไรโบส
และกลิ่นคาวปลาจะหายไป แต่มีกลิ่นคล้ายน้ำปลาแทน น้ำบูดูดังกล่าวจัดเป็นน้ำบูดูที่สามารถนำไปบริโภคได้
บูดูที่หมักเป็นเวลา
8-12 เดือน จัดเป็นบูดูที่มีคุณภาพดี บูดูที่ได้จะมีกลิ่นหอมกว่าบูดูที่หมักนาน
3-4 เดือน เนื้อปลาจะละเอียดเพิ่มขึ้น น้ำหมักปลาจะมีสีน้ำตาลและใสขึ้น
ไขมัน การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีเมื่อปลาตาย
บัพเฟอร์ กระบวนการเกิดสี
และกลิ่นของบูดู
กระบวนการออสโมซิส การเปลี่ยนแปลงทางจุลชีววิทยา
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เอนไซม์
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการผลิตบูดู โปรตีน