|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

กระบวนการผลิตบูดู

กระบวนการผลิตบูดูนั้นเริ่มด้วยการนำปลาทะเลสด ซึ่งอาจจะใช้ปลาชนิดใดก็ได้ แต่ผู้ผลิตบูดูในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีจะนิยมใช้ปลากะตัก เพราะจะได้บูดูที่มีกลิ่น และรสชาติดี โดยผู้ผลิตจะซื้อปลากะตักจากชาวประมงที่กลับเข้าฝั่งในตอนเช้า หลังจากนั้นจึงนำปลากะตักมาล้างให้สะอาด (ผู้ผลิตบางรายจะไม่ทำการล้างปลา โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้รสชาติและกลิ่นของบูดูเสียไป และกระบวนการหมักจะช่วยให้บูดูสะอาดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้บริโภคก็จะนำบูดูไปปรุงก่อนบริโภคอยู่แล้ว) ใส่กระบะไม้ขนาดประมาณ 0.5 x 2 เมตร แล้วเติมเกลือสมุทรประเภทหยาบลงไป โดยใช้อัตราส่วน ปลากะตักต่อเกลือ 3:1 โดยน้ำหนัก หลังจากนั้นจะทำการคลุกให้เข้ากันโดยใช้ไม้พาย เมื่อคลุกปลากะตักกับเกลือให้เข้ากันได้ที่ดีแล้ว ก็จะนำไปใส่ในโอ่งดินหรือบ่อซิเมนต์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "บ่อบูดู" มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 1 เมตร แล้วใช้กระสอบปุ๋ยหรือผ้าคลุมปิดไว้ เพื่อคอยให้ปลานั้นยุบตัวลงไปอีก (สาเหตุที่ต้องคอยให้ปลายุบตัวลงไป เพราะว่าในการหมักจะต้องพยายามให้มีอากาศเข้าไปในบ่อบูดูน้อยที่สุด) แล้วจึงเติมปลาและเกลือที่คลุกแล้วลงไปอีก จนเกือบเต็ม โดยจะเว้นปริมาตรบางส่วนของบ่อบูดูไว้เพื่อเผื่อก๊าซที่เกิดจากการหมักดันฝาปิดบ่อบูดู เมื่อปลาในบ่อบูดูอัดแน่นดีแล้วจึงทำการปิดบ่อบูดูให้มิดชิดด้วยกระสอบเกลือ แล้วไม้ไผ่สาน หรือกระเบื้องหลังคาปิดทับอาจใช้วัตถุหนักทับไว้ ระยะเวลาการหมักจะใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน โดยในช่วงระหว่างการหมักจะไม่มีการเปิดบ่อบูดูเลย และจะต้องพยายามไม่ให้น้ำเวลาฝนตกเข้าไปในบ่อบูดู จะทำให้บูดูมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็น
เมื่อครบกำหนดเวลาผู้ผลิตจะเปิดบ่อบูดูซึ่งจะมีน้ำบูดูและเนื้อบูดูปะปนกันอยู่ในบ่อบูดู ในการนำบูดูออกจากบ่อบูดูจะทำโดยการเปิดฝาที่ครอบบ่อบูดู และเอาไม้ไผ่ที่สานออก ตักเกลือที่อยู่บนกระสอบเกลือออก แล้วนำกระสอบเกลือออก นำแกลอนพลาสติกที่เปิดหัวเปิดท้าย ใส่ลงไปในเนื้อบูดูในบ่อบูดู ตักเนื้อบูดูที่อยู่ในแกลอนพลาสติกออกเพื่อให้เหลือแต่น้ำบูดู และน้ำบูดูจะไหลเข้ามาภายในแกลอนพลาสติก โดยมีเนื้อบูดูปะปนเข้ามาบ้างเล็กน้อย แล้วจึงใช้ภาชนะตักน้ำบูดูในแกลอนพลาสติกขึ้น เพื่อนำไปบรรจุในภาชนะ ส่งต่อให้ผู้จัดจำหน่ายต่อไป โดยบูดูที่มีน้ำบูดูเป็นส่วนใหญ่จะเรียกว่า "บูดูใส" ส่วนน้ำบูดูที่มีเนื้อบูดูที่เหลือปะปนในบ่อจะนำไปผลิตเป็น"บูดูข้น" ในการหมักปลากะตัก 450 กิโลกรัมจะได้บูดูประมาณ 400 ลิตร นอกจากนี้เนื้อบูดูที่เหลือจะเอาไปผสมกับน้ำเกลือเพื่อทำบูดูที่มีคุณภาพรองลงมา
การบรรจุบูดูใส่ขวดนั้น จะใส่ขวดสองขนาดคือ ขวดกลมและขวดแบน โดยการนำบูดูใส่ขวดที่สะอาด ปิดฝาให้สนิท และนำไปล้างอีกครั้ง แล้วนำพลาสติกมาปิดปากขวดแล้วนำน้ำร้อนราดเพื่อให้พลาสติกปิดสนิท สุดท้ายนำไปปิดฉลาก และส่งจำหน่ายต่อไป
จากการสังเกตพบว่า สถานที่ในการผลิตบูดูนั้น จะทำการผลิตในสวนมะพร้าว ซึ่งผู้ผลิตบอกว่าเนื้อบูดูที่เหลือ และน้ำคาวปลาที่หกระหว่างการผลิตบูดูนั้น จะช่วยทำให้มะพร้าวมีลูกดกและรสชาติดีขึ้น

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
ภาพประกอบ

 

ผู้ผลิตกำลังนำปลากะตัก
และเกลือใส่ในกระบะไม้
้เพื่อเตรียมคลุก ให้เข้ากัน
ผู้ผลิตกำลังคลุกปลากะตัก
และเกลือให้เข้ากันเพื่อ
เตรียมนำไปหมักในบ่อบูดู
บ่อบูดูที่มีปลากะตักหมัก อยู่ข้างในรอให้ครบกำ
หนดเวลาเพื่อนำบูดูขึ้นมา
ปลากะตักและเกลือถูกนำไป ไว้ในบ่อบูดูและคอยให้ยุบตัว เพื่อให้มีอากาศน้อยที่สุด
ผู้ผลิตกำลังนำกระสอบที่คลุมไว้
้ ออกหลังจากที่นำไม้ไผ่สานออก
ไปก่อนแล้ว
ผู้ผลิตกำลังนำแกลอนใส่ลงไปใน
บ่อบูดูเพื่อให้น้ำบูดูไหลเข้ามาใน
แกลอน
ผู้ผลิตกำลังตักบูดูที่ไหลเข้ามาใน แกลอน
เนื้อบูดูที่เหลือจะนำไปทำบูดูข้น
นำบูดูที่ได้ไปกรองและบรรจุขวด พร้อมทั้งปิดฝา
จะได้บูดูพร้อมจำหน่ายต่อไป