ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ (KEA)

เทคโนโลยีสำคัญที่มีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีการคาดการณ์อนาคตที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจำเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลปริมาณมากและมีความถูกต้องสูง ประเทศไทยเองมีข้อมูลที่ได้จากภาครัฐและแหล่งสาธารณะมีปริมาณไม่น้อย แต่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยและมีความถูกต้องพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะข้อมูลด้านพื้นที่ (GeoSpatial) และข้อมูลด้านเครือข่าย (Social Network) นอกจากนี้เทคโนโลยีด้าน cloud ก็มีส่วนอย่างมากที่ช่วยสนับสนุนและรองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยเฉพาะในกรณีที่ขาดแคลนบุคลากรผู้ดูแลระบบและทรัพยากรเครื่อง server ทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ คุ้มการลงทุนและมีความน่าเชื่อถือสูง ระบบการจัดการข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและการเรียนรู้จากข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์บน Cloud จึงเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยและส่งผลต่อความก้าวหน้าและความยั่งยืนของประเทศ ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงจำเป็นต้องมีทีมวิจัยที่จะมาจัดการชั้นข้อมูลปริมาณมหาศาล ให้พร้อมใช้งาน ทีมวิจัยคลังอนุพันธ์ความรู้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในมิติต่างๆ จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีและแอปพิเคชั่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการของประเทศในการกำหนดแนวทางและนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรองรับการเข้าใช้งานจากบุคคลทั่วไปและสามารถขยายผลไปถึงความต้องการของภาคเอกชนได้ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยด้านการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ชั้นนำของประเทศ โดยเน้นด้านการวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าที่ให้ผลดีที่สุด เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆในด้านอาหารและการเกษตร การแพทย์ และความมั่นคงเป็นต้น พันธกิจ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) เช่นการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Mining, Statistical Inference) และการแสดงผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Visual Analytics) สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการตามความต้องการของประเทศ เทคโนโลยีหลัก แบบจำลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ด้วยวิธีการทาง Spatio-Temporal Data Analysis … Read more

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นข้อความภาษาไทยและการเข้าใจความหมายของภาษา ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางภาษา การพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผลภาษา การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานข้อมูลภาษาไทย ได้แก่ พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบตัดคำ กำกับชนิดของคำ ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ และระบบการจัดการฐานความรู้เชิงความหมาย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยงานทางภาษาธรรมชาติและความหมาย สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่ผลักดันงานวิจัยทางด้านภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับประเทศไทย พันธกิจ ศึกษาค้นคว้า พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับหน่วยงานที่สนใจ เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวกับด้าน Language และ Knowledge มีดังนี้ Corpus Technology Deep Learning and NLP Machine Translation Ontology Semantic Web Knowledge Graph ผลงานเด่น พจนานุกรมเล็กซิตรอน และ แพลตฟอร์มพจนานุกรม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสภาฉบับออนไลน์ Royal Dictionary, Read and Write, ชื่อบ้านนามเมือง Ontology Application Management Framework (OAM … Read more

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 28 | ค.ศ.2005 สำหรับผลงานที่เกี่ยวกับการนำทฤษฎีควอนตัมมาอธิบายถึงความเป็นโคฮีเรจน์ของแสงและจากการพัฒนาเทคนิค Optical Frequency Comb สำหรับการวัดที่ให้ความละเอียดสูง

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 28 | ค.ศ.2005 สำหรับผลงานที่เกี่ยวกับการนำทฤษฎีควอนตัมมาอธิบายถึงความเป็นโคฮีเรจน์ของแสงและจากการพัฒนาเทคนิค Optical Frequency Comb สำหรับการวัดที่ให้ความละเอียดสูง

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 27 | ค.ศ.2001 สำหรับความสำเร็จในการควบแน่นอะตอมของก๊าซให้อยู่ในสถานะ Bose-Einstein

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 27 | ค.ศ.2001 สำหรับความสำเร็จในการควบแน่นอะตอมของก๊าซให้อยู่ในสถานะ Bose-Einstein

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 25 | ค.ศ.1997 สำหรับการพัฒนาวิธีการที่ทำให้อะตอมของก๊าซเย็นลงและการจับอะตอมด้วยแสงเลเซอร์

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 25 | ค.ศ.1997 สำหรับการพัฒนาวิธีการที่ทำให้อะตอมของก๊าซเย็นลงและการจับอะตอมด้วยแสงเลเซอร์

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 24 | ค.ศ.1991 สำหรับการค้นพบถึงการนำวิธีการที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นระเบียบมาใช้กับผลึกเหลวและพอลิเมอร์

แสงกับรางวัลโนเบล ตอนที่ 24 | ค.ศ.1991 สำหรับการค้นพบถึงการนำวิธีการที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นระเบียบมาใช้กับผลึกเหลวและพอลิเมอร์