ผลการค้นหา

Tag: AINRG

ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ (STU)

ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ หรือ Speech and Text Understanding (STU) ดำเนินการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ ภาษาพูดและภาษาเขียนของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นสื่อพื้นฐานที่ขาดไม่ได้สำหรับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ แต่คงไว้ซึ่งความซับซ้อน ความหลากหลาย และความสวยงาม ที่เกิดจากการสร้างสรรค์และสืบทอดต่อกันมา เป็นองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค การประมวลผลภาษาจึงมีความน่าสนใจและท้าทาย ผลลัพธ์ของการวิจัยและพัฒนานี้ ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร และระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง อาทิ การสั่งการด้วยเสียงในโทรศัพท์มือถือ การสืบค้นข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการวิเคราะห์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เป็นต้น สารบัญ วิสัยทัศน์ ผู้นำทางด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภาษาพูดและภาษาเขียนสำหรับภาษาไทย พันธกิจ ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนา สร้างเครือข่ายและขยายกลุ่มผู้ร่วมวิจัย พันธมิตรและผู้ใช้งาน สร้างสภาพแวดล้อมพื้นฐานเพื่องานวิจัยสำหรับประเทศ ถ่ายทอดงานวิจัยเพื่อสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีการประมวลผลเสียงพูด (Speech Processing Technology) เทคโนโลยีการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition) เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Speech Synthesis) เทคโนโลยีภาพและเสียง (Audio-visual technology) เทคโนโลยีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อความ (Text Processing and Mining Technology)

ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP)

ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท เป็นหนึ่งในทีมวิจัยของกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงลึกด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสมอง รวมถึงเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งเป้าสู่การนำไปสู่การใช้งานจริงในกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่มีผลงานวิชาการด้านการประมวลสัญญาณประสาทและการใช้งานได้มาตรฐานระดับนานาชาติ ได้รับการยอมรับว่ามีความเข้มแข็งในกระบวนการทำ Translational Research และ Product Development ร่วมกับพันธมิตร สามารถผลักดันงานวิจัยสู่การใช้งานได้จริง พันธกิจ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการประมวลสัญญาณประสาท และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และร่วมกับพันธมิตรในการขยายผลสู่การนำไปใช้จริง ภายใต้รูปแบบเช่นการร่วมหรือรับจ้างวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ การเป็นที่ปรึกษาทางเทคนิค เทคโนโลยีหลัก ทีมวิจัย มีประสบการณ์หรือความสนใจในการวิจัยพัฒนา อุปกรณ์ ระบบ และ บริการ เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้ Neural Signal Processing in Human’s Cognitive and Affective Domains Brain Computer Interface Auditory Processing Neurorobotics ผลงานเด่น ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับ ระบบฝึกฝนสัญญาณสมองแบบป้อนกลับสำหรับผู้สูงอายุ เป็นเกมส์ที่ควบคุมโดยการอ่านสัญญาณสมองผ่านสัญญาณ EEG ใช้เพื่อฝึกสมาธิการจดจ่อ

กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AINRG)

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์โดยเน้นการประมวลผลภาษา เสียงพูดรูปภาพ และสัญญาณคลื่น พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ใช้ในประเทศไทยเข้าถึงได้ง่ายและสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างเข้าใจและเหมาะสม วิสัยทัศน์ ผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สู่สังคมไทย พันธกิจ คงความเป็นเลิศในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฐาน (Research) สร้างทรัพยากรวิจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประเทศ (Resource) ขยายกลุ่มผู้ร่วมวิจัย วิศวกรรม และผู้ใช้งาน (Transfer) สร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง (Impact) เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีประมวลผลภาพ เทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย เทคโนโลยีประมวลสัญญาณประสาท เทคโนโลยีประมวลผลเสียงและข้อความ โจทย์วิจัย / ความท้าทาย โจทย์วิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มีหลากหลายด้าน ตัวอย่างได้แก่ การเกษตรแนวใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการทำนายและแนะนำการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การแพทย์และสาธารณสุข สามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น และการวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์ บริการภาครัฐ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างบริการที่ดีสู่่ประชาชนผ่านทางบริการภาครัฐต่างๆ การศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการจัดเนื้อหาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนและนักศึกษา อุตสาหกรรมการผลิต สามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการจัดการวางแผนในโรงงานเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น อุตสาหกรรมการให้บริการ สามารถใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการตอบคำถามและช่วยเหลือลูกค้าแทนพนักงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทีมวิจัยภายใต้สังกัด ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ (IPU) ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) ทีมวิจัยการประมวลสัญญาณประสาท (NSP) ทีมวิจัยการเข้าใจเสียงและข้อความ (STU) ติดต่อ ดร. เทพชัย ทรัพย์นิธิ กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์

ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ (IPU)

ในปัจจุบันข้อมูลภาพมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นจากภาพถ่ายมือถือ ภาพในสื่อสังคมออนไลน์ ภาพจากกล้องวิดีโอวงจรปิดสำหรับจราจรหรือสำหรับความปลอดภัย หรือภาพจากอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น การประมวลผลข้อมูลภาพเหล่านี้สามารถนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ทีมวิจัยการประมวลผลและเข้าใจภาพ หรือ Image Processing and Understanding (IPU) มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยพื้นฐานด้านการประมวลผลภาพ และผลักดันให้ไปสู่การใช่งานจริง สารบัญ วิสัยทัศน์ ร่วมสร้างรากฐานและผลักดันเทคโนโลยี ภาพ วิดีโอ และ 3D สู่การใช้งานจริง พันธกิจ มุ่งสร้างเสริมการวิจัย พัฒนา เทคโนโลยีด้านการประมวลผล ภาพ วิดีโอ และ ข้อมูล 3D โดยอาศัยพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริง ร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นเพื่อประโยชน์ของสังคมไทย สร้างและแบ่งปันองค์ความรู้ให้นักวิจัยและนักศึกษาภายนอกองค์กร เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ เทคโนโลยีหลัก การปรับปรุงคุณภาพของภาพ (Image Enhancement) การรู้จำรูปภาพ (Image Classification) การตรวจสอบภาพใบหน้า (Face Verification) การตรวจจับวัตถุในภาพ (Object Detection) การติดตามวัตถุในวิดีโอ (Object

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย

ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย มุ่งเน้นที่จะพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เป็นข้อความภาษาไทยและการเข้าใจความหมายของภาษา ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทางภาษา การพัฒนาแพลตฟอร์มการประมวลผลภาษา การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้งานข้อมูลภาษาไทย ได้แก่ พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ระบบตัดคำ กำกับชนิดของคำ ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ และระบบการจัดการฐานความรู้เชิงความหมาย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมที่ต้องอาศัยงานทางภาษาธรรมชาติและความหมาย สารบัญ วิสัยทัศน์ เป็นทีมวิจัยที่ผลักดันงานวิจัยทางด้านภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับประเทศไทย พันธกิจ ศึกษาค้นคว้า พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย พัฒนาแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมายให้กับหน่วยงานที่สนใจ เทคโนโลยีหลัก เทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวกับด้าน Language และ Knowledge มีดังนี้ Corpus Technology Deep Learning and NLP Machine Translation Ontology Semantic Web Knowledge Graph ผลงานเด่น พจนานุกรมเล็กซิตรอน และ แพลตฟอร์มพจนานุกรม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสภาฉบับออนไลน์ Royal Dictionary, Read and Write, ชื่อบ้านนามเมือง Ontology Application Management Framework (OAM