ข่าวประชาสัมพันธ์

เนคเทคจัดโครงการประกวดคลิปสั้น “เกษตรกรรมสู้ภัยแล้ง”

  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร (Agricultural Data Integration and Zoning Optimization Modeling) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรม ส่งผ่านไปยังเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสามารถเรียนรู้เทคนิคการเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ซึ่งเนื้อหาองค์ความรู้ จะอยู่ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ในคลังทรัพยากรสารสนเทศด้านการเกษตรให้มีความหลากหลาย ศูนย์ฯ จึงได้จัดประกวดคลิปสั้น“เกษตรกรรมสู้ภัยแล้ง” เพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมส่งคลิปสั้นเข้าประกวด โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะถูกเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์โครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนต่อไป คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมการประกวด ไม่จำกัดอายุ เพศ และระดับการศึกษา ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานคลิปสั้นได้มากกว่า 1 ผลงาน แต่ไม่เกิน 3 ผลงาน กติกา/เงื่อนไขการสมัคร เนื้อหาต้องเกี่ยวกับเกษตรกรรมเพาะปลูกพืชสู้ภัยแล้งหรือเทคนิคเกษตรกรรมที่ใช้น้ำน้อย โดยเนื้อหาต้องแสดงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก, เทคนิคการใช้น้ำ/ให้น้ำในการเพาะปลูกเป็นอย่างน้อย เนื้อหาต้องถ่ายทอดจากเกษตรกรที่เพาะปลูกจริง สามารถอ้างอิงที่มาได้ คลิปสั้นจะต้องมีความยาว 7-10 นาที ไม่จำกัดไอเดียและรูปแบบการนำเสนอ ไฟล์คลิปสั้นต้นฉบับที่ส่งจะต้องเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพในระดับ HD ขึ้นไปในรูปแบบ MP4 เท่านั้น คลิปสั้นที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นใหม่

การเลือกซื้อแบตเตอรี่มือถือที่ได้มาตรฐาน

เมื่อมือถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คนและเป็นมากกว่าอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้เพียงโทรหากัน จากบทความ ภัยเงียบของแบตเตอรี่เถื่อน  ที่เนคเทคได้นำเสนอไปแล้วนั้นต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงการเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รวมถึงคนรอบข้าง วิธีการเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐานสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ [Download PDF] อย่าซื้อแบตเตอรี่ที่เป็นของลอกเลียนแบบ เพราะอาจเกิดเหตุระเบิด และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของเราได้ ก่อนซื้อสังเกตดูที่กล่องของแบตเตอรี่ ต้องมีชื่อผู้ผลิตและชื่อของผู้นำเข้าระบุไว้อย่างชัดเจนและตรวจสอบได้ ฉนวนต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าและความร้อน มิเช่นนั้น อาจส่งผลให้แบตเตอรี่เกิดความร้อนสูงและลัดวงจรในที่สุด ด้านผู้จำหน่ายต้องตรวจสอบแบตเตอรี่ทุกครั้งก่อนวางจำหน่าย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในคุณภาพแบตเตอรี่ให้กับตัวผู้ซื้อและผู้จำหน่ายเอง ผู้ซื้ออย่าลืมมองหาแบตเตอรี่ที่ประทับเครื่องหมาย มอก. (มอก.2217) หรือตรา NECTEC Mark ที่ผ่านการทดสอบ 5 ด้าน เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้มากขึ้นดังนี้ ด้านความปลอดภัย ด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ด้านความทนทาน ด้านสมรรถนะการใช้พลังงาน ด้านสมรรถนะการทำงาน อย่าปล่อยให้โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับพวกเรา กลับกลายมาเป็นอาวุธร้ายทำลายชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นผู้ใช้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยการเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่ได้มาตรฐานและหลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่เถื่อน เพื่อยกระดับความปลอดภัยและชีวิตที่ดียิ่งขึ้น “เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ เพิ่มความอุ่นใจ… ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน” ด้วยความห่วงใย จาก งานรับรองคุณภาพบริภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  ภาพและบทความ โดย สุรสิทธิ์ เหลาภา,

เนคเทคจัดบรรยายพิเศษ เปิดมุมมองทางเทคโนโลยีด้าน Health Care

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ขอเชิญผู้ที่สนใจรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Active Implants: Current Status and Technology Requirements” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ Dr.Amitava Gupta ตำเเหน่ง Chief Technical Officer บริษัท One Focus Vision LLC และ Elenza, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดโอกาสให้นักวิจัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจได้พูดคุยและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการแพทย์ วันที่ 15 กันยายน 2559 ณ ห้องบุษกร ชั้น 1 อาคาร เนคเทค ผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โทร 02-5646900 ต่อ 2321 – 2322 หรือ Email :

เนคเทคสร้างสื่อการเรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล” บอย-แพนเค้ก ร่วมแจม

วันที่ 27-29 สิงหาคม 2559 ดร.ชัย วุฒิวิวัฒนชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ เยี่ยมชมการถ่ายทำสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำและเยี่ยมโครงการการทำเกษตรกรรมตามแนวคิด “โคก หนอง นา โมเดล” ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ บ้านดู่/หนองบอน ต.หนองบัวบาน อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒนชัย กล่าวถึงที่มาของการสร้างสื่อการเรียนรู้ภายใต้โครงการ What2Grow ว่า “นอกจาก What2Grow จะเป็นระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังมีสื่อการเรียนรู้ด้านการเกษตรไว้ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ จากปัญหาภัยแล้งทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ โครงการ What2Grow จึงเลือกเนื้อหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการที่ดินและน้ำ ด้วย โคก หนอง นา โมเดล มาสร้างสื่อการเรียนรู้โดยเล็งเห็นว่าเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน” สื่อการเรียนรู้ดังกล่าวจะถูกนำเสนอในรูปแบบสารคดี ยาว 60 นาที แบ่งเป็น 6 ตอน สอดแทรกสาระและความบันเทิงด้วยการให้ชาวบ้านที่ร่วมโครงการ เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาจากประสบการณ์จริงอย่างเป็นกันเองและเข้าใจได้ง่าย พร้อมกันนี้ยังมี บอย-พิษณุ