ขอแสดงความยินดีกับทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ดำเนินโครงการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทดสอบประเมินและการฝึกพูดของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ร่วมกับ นักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยส่งผลงานโปสเตอร์วิชาการนำเสนอในงานประชุมวิชาการประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก ของ สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้า และศีรษะแห่งประเทศไทย ( nuccc.nu.ac.th/thaicleft2017/ ) จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
- 1. เครื่องประเมินการแปรเสียงอัตโนมัติ (Automatic Articulation: AAT)
- ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภท Research โดยมีผู้ร่วมวิจัย ดังนี้
- ดร.ชัย วุฒิวิวัฒนชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- คุณศวิต กาสุริยะ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- คุณภัชริกา ชูตระกูล นักวิจัย หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี นักวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผศ.ดร.กัลยาณี มกราภิรมย์ นักวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- และ นันทิยา อุปนาศักดิ์
- 2. การเปรียบเทียบวัสดุสำหรับเครื่องมือประเมินเสียงสั่นพ้องในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภท Research โดยมีผู้ร่วมวิจัยดังนี้
- ดร.ชัย วุฒิวิวัฒนชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- คุณศวิต กาสุริยะ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- คุณภัชริกา ชูตระกูล นักวิจัย หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU)
- รศ.ดร.เบญจมาศ พระธานี นักวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- และ ผศ.ดร.กัลยาณี มกราภิรมย์ นักวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เนคเทค, หน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (HCCRU), ประชุมวิชาการ, Thai Cleft, สมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะแห่งประเทศไทย
วันที่เผยแพร่ 14 พฤศจิกายน 2560 11:32