ข่าวประชาสัมพันธ์

[Press Release] เนคเทคจับมือเครดิตบูโรทำวิจัยเพื่อสาธารณะ

2 พฤศจิกายน 2559 : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ร่วมจัดพิธี “การลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการเผยแพร่ต่อสาธารณะ” โดยความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำบทความ บทวิเคราะห์ หรือบทวิจัย เกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินของภาคครัวเรือนภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร ร่วมในพิธีการลงนามในบันทึกความร่วมมือดังกล่าว โดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการเนคเทคกล่าวว่า บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เป็นองค์กรกลางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ และบัตรเครดิต โดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากทั้งสถาบันการเงินและ Non-Bank ที่เป็นสมาชิกขององค์กรกลาง จะทำหน้าที่เป็นคนเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้ให้สมาชิก หรือบุคคลทั่วไปให้เข้ามาดูได้ว่ารายละเอียด สินเชื่อ หรือบัตรเครดิต ซึ่งบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติยินดีที่จะนำส่งข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประโยชน์ในการให้ เนคเทคนำมาจัดทำบทความ บทวิเคราะห์

การประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะอนุกรรมการว่าด้วยไมโครอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology: SCMIT) ภายใต้คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology: COST) ได้เข้าร่วมการประชุม The 45th Meeting of Sub-Committee on Microelectronics and Information Technology (SCMIT-45) และการประชุม The 71st Meeting of ASEAN Committee on Science and Technology ASEAN (COST-71) ระหว่างวันที่ 24-27 ตุลาคม 2559 ณ เมืองเสียมราฐ

ภาษาไทยใช้ง่าย ด้วย “ราชบัณฑิตยฯ แอปพลิเคชัน”

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแอปพลิเคชัน “ชื่อบ้านนามเมือง” ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนในระบบ iOS Version 8 ขึ้นไป และ Android และจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ออนไลน์ ใช้งานผ่านเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา อีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนในการค้นคำภาษาไทยได้สะดวก นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำ “ราชบัณฑิตยฯ แอปพลิเคชัน” ว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาข้อมูลทางวิชาการสำหรับเผยแพร่ในรูปแบบแอปพลิเคชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลวิชาการได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เดิมสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดทำแอปพลิเคชัน “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔” และแอปพลิเคชัน “อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน” ที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนให้ประชาชนได้ใช้งานแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งประชาชนให้ความสนใจและดาวน์โหลดไปใช้งานเป็นจำนวนมาก สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องโดยจัดทำแอปพลิเคชัน “ชื่อบ้านนามเมือง” เพื่อรวบรวมชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงในต่างประเทศ แสดงชื่อเป็นภาษาต่างประเทศและชื่อที่เขียนเป็นภาษาไทย กว่า

เนคเทคจับมือ กฟผ. พัฒนาระบบตรวจสุขภาพเขื่อน DS-RMS

กฟผ.ร่วมกับเนคเทค พัฒนาระบบตรวจสุขภาพเขื่อน สามารถแจ้งเตือนและเฝ้าระวังเมื่อเกิดความผิดปกติ เสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อน กฟผ. 14 แห่งทั่วประเทศ วันที่ 27 กันยายน 2559 นายอรรถพร วัฒนวิสุทธิ์ รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีรับมอบระบบตรวจวัดข้อมูลระยะไกลด้านความปลอดภัยเขื่อน (Dam Safety Remote Monitoring System : DS–RMS) หรือ “ระบบตรวจสุขภาพเขื่อน” จาก ดร.กนกเวทย์ ตั้งพิมลรัตน์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ ห้องประชุม 5 อาคาร ท.102 สำนักงานใหญ่ กฟผ. บางกรวย จ.นนทบุรี โดยระบบตรวจวัดฯ ดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ กฟผ. และเนคเทค ตั้งแต่ปี 2557 ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับเทคโนโลยีของเครื่องมือตรวจวัดพฤติกรรมเขื่อน