ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ปาฐกถาในหัวข้อ: Driving AI & IoT Application Development through Industry Collaboration ในงานอบรมสัมมนา AI & IoTs Summit 2023
โดยกล่าวถึงความก้าวหน้าของ AI & IoT ที่พัฒนาโดย เนคเทค สวทช. และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม โดยเมื่อ AI มาเจอกับ IoT สิ่งที่จะได้ประโยชน์คืออะไร, แนะนำคีย์เวิร์ดที่ควรรู้ Cyber Physical System, แนะนำงานวิจัยที่ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดในภาคธุรกิจได้, Case study ที่ทำร่วมกับเอกชน รวมถึง Campaign ที่น่าสนใจจาก เนคเทค สวทช.
โดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยกับการใช้ IoT ในลักษณะเก็บข้อมูลจากเซนเซอร์ เพื่อขึ้น Database หรือ Cloud ไปวิเคราะห์ Take Action ต่างๆ การใช้ IoT เป็นการเก็บข้อมูลทางเดียว หรือใช้ในการสั่งการ Smart Homeใช้ในการควบคุม สั่งการแบบตรงไปตรงมา แต่เมื่อ IoT มาพบกับ AI นั้น AI ซึ่งมีหน้าที่ในการประมวลผลเทียบเท่ามนุษย์ในช่วงแรก ปัจจุบันการประมวลผลมีหลายรูปแบบ ทั้งในระดับ Sensors, Gateway (Edge Computing), Server และ Cloud ความฉลาดฉลาดของ AI จะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับการออกแบบและการพัฒนา ข้อดีถ้าประมวลผลใกล้จุดปลายทางที่สุดความรวดเร็วย่อมดีที่สุดแต่ก็เปลืองทรัพยากรจำนวนมาก หากประมวลผลใน cloud แม้จะมีทรัพยากรเพียงพอแต่มี Round Trip Time (RTT) ซึ่งก็คือเวลาที่ใช้ไคลเอนต์ในการส่งคำขอและรับการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ก็จะเยอะขึ้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้พัฒนา
สำหรับการประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจของ AI & IoTs ไม่ว่าจะเป็นด้านโลจิสติกส์ การวิเคราะห์ทั้ง supply chain ในเชิงธุรกิจ เรื่องของ ERP การใช้ OCR ในการอ่านเอกสารการเงินต่างๆ การทำ Big Data Analytic การทำรถอัตโนมัติซึ่งต้องใช้เซนเซอร์ในการประมวลผลต่างๆ ให้สามารถตัดสินใจเอง ด้านอุตสาหกรรมด้าน Maintenance ที่ไม่ใช่ตามตารางเวลาและจะเป็นการคาดการณ์ว่าจะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เหล่านี้คือความหลากหลายและเป็นไปได้เมื่อ AI มาเจอกับ IoTs
Cyber-Physical Systems : เมื่อโลกทางกายภาพพบกับโลกไซเบอร์
เมื่อ AI มาพบกับ IoT สิ่งที่เกิดขึ้นจะเรียกว่า Cyber-Physical Systems คือ ระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ (Physical World) กับโลกไซเบอร์ (Cyber World) เข้าด้วยกัน โลกกายภาพเป็นข้อมูลที่ถูกดึงขึ้นมาจากสิ่งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร มนุษย์ ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อม ถูกดึงขึ้นมาเพื่อประมวลผลเป็นองค์ความรู้ แปลงสู่การตัดสินใจ เช่น หยุดการเดินเครื่องต่างๆ การปั้มน้ำ เพิ่มความดัน การตัดสินใจเหล่านี้ก็จะกลับไปควบคุมสิ่งที่เป็น Physical เครื่องจักรทางกายภาพ ดังนั้น Cyber-Physical Systems (CPS) เกิดขึ้นได้ต้องมีทั้ง AI และ IoTs การมี IoTs อย่างเดียวจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเป็น Oneway (IoT = Open-Loop) เช่น การดึงข้อมูลจากเซนเซอร์ไปเก็บในเซิฟเวอร์ (Physical สู่ Cyber) หรือการสั่งจาก App เพื่อเปิดปิดไฟ (Cyber สู่ Physical) แต่เมื่อไรที่มี AI เข้ามาจะเกิด Closed-Loop ทันที ข้อมูลที่วัดได้ ประมวลผลได้ หรือข้อมูลต่างๆ ที่ตัดสินใจได้ จะกลับมาควบคุมเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ได้ เหล่านี้คือ Cyber-Physical Systems Model
ส่วนโลกไซเบอร์ จะกล่าวถึง ซอฟต์แวร์ในรูปแบบแอปพลิเคชัน หรืออยู่ใน Embessed System, Gateway, Edge Computing มีความสามารถในการประมวลผล Server Cloud โทรศัพท์มือถือ ในรูปแบบนี้
เทคโนโลยีที่จะทำให้ CPS เกิดขึ้นได้แก่ Embedded, Robotics, Sensor, Internet of Things (IoT), Cloud Computing (CC), Edge Computing (EC), Artificial Intelligence (AI), Big Data Analytics (BDA), Decision Making Algorithms Control Algorithms นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงรูปแบบการสร้างโมเดลทางกายภาพต่างๆ เพื่ออธิบาย CPS นำไปสู่ Digital Twin ต่อไป
ช่วงท้าย ดร.พนิตาได้กล่าวแนะนำถึงบริการด้านต่างๆ ของ สวทช. อาทิ ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center: ThaiSC), NETPIE 2020, IDA : Industrial IoT Data Analytics Platform, Daysie : Edge-AI Application Platform, UNAI (อยู่ไหน) Indoor Positioning Platform, Visual AI Software Platform, Visual AI + Collaborative Robots, Production Line Digital Twin, 3D Scan and Inspection Robot, Digital Twin Modeling, VR/AR Creation Tools, Smart Maintenance & IIoT Testbed, Industry 4.0 Testbed @SMC-EECi รวมทั้ง SMC Campaign ที่น่าสนใจต่างๆแก่ผู้ประกอบการ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) ได้จัดงาน AI & IoTs Summit 2023 (ครั้งที่5) ภายใต้แนวคิดหลัก AI & IoT: The Convergence Technology to Reshape Business Growth ซึ่งมีกำหนดจัดงาน ในวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2566 จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ของ AI & IoT ให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และนำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ AI IoT เพื่อเพิ่มระดับผลิตภาพของทุกอุตสาหกรรม ที่มีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาประเทศ รวมไปถึงสร้างความตระหนัก เข้าใจถึงวิถีการทำงานของเทคโนโลยีเพื่อสามารถลงทุนได้อย่างเหมาะสม
E