สวทช. เนคเทค และ SMC ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดหัวข้อสัมมนาภายในงาน INTERMACH 2024 (งานอินเตอร์แมค 2024) ภายใต้แนวคิด ” Bridging Manufacturing Solution Towards Net Zero Carbon” หรือ โซลูชั่นเพื่อการผลิตยกระดับสู่อุตสาหกรรมปลอดคาร์บอน เป็นเวทีเพื่อให้ความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ได้เห็นถึงที่มาความสำคัญแนวโน้มของเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของผู้ประกอบการให้ทันต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เตรียมพร้อมสู่การปฏิวัติสู่ยุคเศรษฐกิจ 5.0 ที่จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการลดผลกระทบจากการผลิต และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) โดยมีวิทยากรจาก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตรร่วมนำเสนอในหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้
16 พฤษภาคม 2567 เสวนาหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลและการใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาธุรกิจแข่งขันได้ที่ยั่งยืน” (Digital Transformation for Competitive Sustainability) ดำเนินรายการโดย ดร.อติชาต พฤฒิกัลป์ และคุณกล้า จิระสานต์ สถาบันดิจิทัลและนวัตกรรมแห่งเอเชีย เสวนานี้เป็นการเชิญผู้มีบทบาทและผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการทำงานด้านการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลหลายท่านมาร่วมพูดคุยและให้ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในการปรับปรุงกิจการสู่ความสามารถในการแข่งขัน และ ESG โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
Subsession 1: แนวปฏิบัติต่อความท้าทาย ด้านมาตรฐานและกฏหมายของไทยเรื่องความยั่งยืน โดยคุณณัฐวีร์ พงศ์อาจารย์ Founder & CEO, Planet C ที่ปรึกษาและผู้ทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นต์องค์กร, การเก็บข้อมูลและบริหารด้วย Factory Information System โดยคุณคณพล วงศ์พิชญวิศาล กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ESG Data Platform โดยคุณธัญธิดา สาสุนทร ESG Provision Specialist, Convene ESG
Subsession 2: การบริหารข้อมูลในธุรกิจสีเขียว Data Governance in Green Business โดยอาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยกุล ผู้ช่วยรองอธิการบดีสำนักดิจิทัลการศึกษาและบริการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, การสร้างความยั่งยืนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียด้วย Data Analytics โดย รศ.ดร.นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อุตสาหกรรม 4.0 บนความยั่งยืน และการรับการสนับสนุนจาก BOI ในการเปลี่ยนผ่านความยั่งยืน โดยคุณอุดม ลิ่วลมไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เนคเทค สวทช. จัดโดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.
เปิดตัว “SMC ACADEMY” พัฒนาทักษะ ความรู้ สู่การผลิตแบบดิจิทัล โดย ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ In-House Training และ Public Training โดยจัดอบรมในกลุ่มหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทางด้านโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1) Automation & Robotics กลุ่ม 2) Internet of Things & Edge Computing กลุ่ม 3) AI & Data Technology กลุ่ม 4 Lean Management & Smart Manufacturing กลุ่ม 5) Factory Management กลุ่ม 6) Smart Factory Executive Program ซึ่งในปี 2567 นี้ SMC ACADEMY ได้ผลิตหลักสูตรสำหรับจัดอบรมขึ้นมาทั้ง 28 หลักสูตร และมีแผนการจัดอบรมมากกว่า 30 ครั้ง โดยมีเป้าหมายการพัฒนากำลังคนเพื่อไปยกระดับเตรียมความพร้อมให้อุตสาหกรรมไทย 7000 โรงงาน ในระยะเวลา 5 ปี รูปแบบการอบรมมีทั้งการอบรมแบบทฤษฎี และภาคปฏิบัติซึ่งเน้นลงมือทำจริงให้เข้าใจถึงการใช้งานจริงของเทคโนโลยีนั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ที่หน้างานของผู้เข้าอบรมได้ SMC ACADEMY เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบพัฒนาจากงานวิจัย โดยนักวิจัยและทีม SMC ACADEMY โดยมีความร่วมมือกับพันธมิตรจัดทำ พัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม หรือตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายเฉพาะทางในอนาคตอีกด้วย
17พฤษภาคม 2567 สัมมนาเชิงวิชาการในธีม Robotics and AI in Future Manufacturing โดยการสนับสนุนจาก Thai Chief Information Officer Association (TCIOA) AI & Robotics Chapter
NECTEC SMC ร่วมเสวนาหัวข้อ “AI Vision in Manufacturing Industry” นำเสนอแนวทางการพัฒนา การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดอนาคตโดยใช้เทคโนโลยี AI กรณีศึกษา ตัวอย่างความสำเร็จ ของหน่วยงานเครือข่าย/พันธมิตร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนานำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาหน้างานของตนเอง และการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะด้วย AI IoT Automation และ Robotics รวมถึงช่องทางการเพิ่มโอกาสและคำแนะนำการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง (คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง สัมมนานี้ได้รับความสนใจจากบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรม และผู้สนใจงานด้านวิทยาการหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ & AI เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย
การประเมินความพร้อม INDUSTRY 4.0 ด้วยตัวเอง เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่และอุตสาหกรรมสีเขียว
สวทช. โดยกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 ร่วมกับNECTECและ EECi รวมทั้งหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร ร่วมกันจัดสัมมนาขึ้นเพื่อเป็นเวทีถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน จึงเป็นเรื่องท้าทายของผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่งที่ และจำเป็นต้องเปลี่ยนจากโรงงานเดิมสู่โรงงาน 4.0 เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เติบโต และยั่งยืน โดยมี ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) กล่าวเปิดสัมมนา ร่วมด้วย ดร.อัมพร โพธิ์ใย นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทคสวทช. บรรยายในหัวข้อ “Carbon Accounting Platform” ระบบรวบรวม วิเคราะห์ และคำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับองค์กร และ ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 สวทช. นำเสนอ “แนวทางการยกระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0”
ปิดท้ายด้วยเสวนา “เปิดประสบการณ์การประเมินระดับความพร้อมขององค์กรสู่การผลิตดิจิทัลด้วยตัวเอง” มาร่วมแชร์ประสบการณ์จริงจากผู้ใช้งานระบบ Online & Interactive Self-Assessment โดยวิทยากรประกอบด้วย คุณนันทพัชร ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและผู้ช่วยประธานบริหารกลุ่มบริษัท FDI คุณเอกราช รัตนอุดมพิสุทธิ์ นักวิจัย กลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 สวทช. ดำเนินรายการโดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล เนคเทค สวทช.
นอกจากนี้ยังมีบูธผลงานมาร่วมนำเสนอบริการ ให้คำปรึกษา จากหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ได้แก่ บริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และบริษัท FDI Consulting & service) รวมถึงหน่วยงานสวทช. แนะนำแนวทางและตัวอย่างการดำเนินงานมุ่งสู่ Industry 4.0 เช่น ระบบ Online & Interactive Self-Assessment, Manufacturing Digital Transformation, Carbon accounting platform
18 พฤษภาคม 2567 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ร่วมกับ AIS Business จัดสัมมนาในหัวข้อ “Industry 4.0 Checkup” ตรวจสุขภาพโรงงานกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมรับแนวทางการยกระดับโรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 รับฟังการบรรยายพิเศษและเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนชั้นนำเฉพาะทาง วิทยากรประกอบด้วย แนวทางการยกระดับโรงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดย ดร.พรพรหม อธีตนันท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล เนคเทค สวทช., อุดช่องว่างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในโรงงาน มุ่งพิชิต Thailand i4.0 Index โดย คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ Head of Enterprise Marketing & SME Business Management Section, AIS Business, การประยุกต์ใช้งานระบบ Material Handling กับ Industry 4.0 โดย คุณวรรัฐ สาระสุรีย์ภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท สมบูรณ์เซี่ยซันเทค จำกัด (บริษัทในเครือของ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (มหาชน))
ปิดท้ายด้วยเสวนาในหัวข้อ “Next gen factory & logistics with Smart 5G” ซึ่งวิทยากรได้ให้คำแนะนำพร้อมแนวทางการแก้ปัญหาที่พบจากการทำงาน เล่าถึงความท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้นำไปปรับใช้ในการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
INTERMACH 2024 (งานอินเตอร์แมค 2024) งานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกล และอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตเพื่อการจัดซื้อชิ้นส่วนอุตสาหกรรมชั้นนำของอาเซียน ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Bridging Manufacturing Solution Towards Net Zero Carbon” เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงแนวคิดในการผสมผสานเทคโนโลยีและ โซลูชั่นการผลิตเข้ามายกระดับประสิทธิภาพการผลิต และเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการในการก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จัดขึ้นในวันที่ 15-18 พฤษภาคม 2567 ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา