เริ่มแล้ว !!! Super AI Engineer Season2 คัดสุดยอดวิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์

Facebook
Twitter

6 ก.พ.65 : ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) เข้าร่วมในพิธีปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ Super AI Engineer Season 2 (Level 2) ณ อาคารเรียนรวม (SC 3) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี โดยมีผู้บริหารจากหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงาน กล่าวถึงบทบาทในการสนับสนุนพร้อมให้โอวาท แนวคิด และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่

กล่าวรายงานกิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรความสามารถพิเศษด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer Season 2)
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

ปาฐกถาพิเศษ
โดย รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ  อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กล่าวให้โอวาทผู้อบรม
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน  กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ
ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธา ณ นคร  ผู้อํานวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กล่าวให้โอวาทผู้อบรมและเสริมแนวคิดการให้ทุน ด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนา
สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.)
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง  ผู้อํานวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคนและทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

กล่าวให้โอวาทผู้อบรมและเสริมความร่วมมือพัฒนาบุคลากรความสามารถพิเศษ
ด้านปัญญาประดิษฐ์ ผ่านเครือข่าย AI Thailand Consortium
โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย  ผู้อํานวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เนคเทค สวทช.

ปฐมนิเทศและแนวทางปฎิบัติในค่าย
โดย ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ  ผู้อํานวยการกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช.
อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ได้กล่าวถึงบทบาทของเนคเทค สวทช. ในฐานะเลขานุการร่วมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ AI ประเทศไทย หรือ National AI Strategy ที่จะเป็นแผนยุทธศาตร์กำหนดทิศทางเดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี AI ประเทศไทยได้เตรียมทำแผนดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2562 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญของแผน ฯ จะเป็นบริบทของการบริหารข้อบังคับกฎหมายทั้งที่เป็นประโยชน์ และข้อจำกัดของเทคโนโลยี AI, การพัฒนาในเรื่องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากรซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในยุทธศาสตร์การดำเนินงาน โครงการ Super AI Engineer เป็นโครงการที่ชัดเจน และเร่งรัดพัฒนาคนตอบโจทย์ให้กับประเทศ จึงได้บรรจุโครงการนี้อยู่ในแผนปฏิบัติการ AI ในระยะเร่งด่วน นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดตั้งสมาพันธ์ปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AI Thailand Consortium) ตั้งแต่ประมาณปลายปี 2564 ซึ่งเป็นการดำเนินงานคู่ขนานกับแผน AI Strategy ที่ได้รวบรวมเครือข่ายของนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ทั้งสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) และพันธมิตรอีกหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความร่วมมือ เพื่อเตรียมพร้อมเป็นศูนย์กลางส้รางเครือข่าย/ พัฒนาผู้เชี่ยวชาญ AI ของประเทศ โครงการ Super AI Engineer จึงถือเป็นประตูที่ช่วยเปิดให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเช่น AI ได้เป็นอย่างดี

โครงการ Super AI Engineer 

โครงการ Super AI Engineer มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะในการพัฒนาความรู้ สร้างบุคลากรทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ในปีนี้เป็นโครงการปีที่ 2 (Season 2) ต่อจากโครงการปีที่ 1 ปี 2563 (Season 1) ซึ่งมีผู้ผ่านการประเมินความสามารถหลังอบรม ได้มาเป็นกลุ่มที่ได้เหรียญทอง จำนวน 8 คน กลุ่มที่ได้เหรียญเงินจำนวน 19 คน และกลุ่มที่ได้เหรียญทองแดงจำนวน 45 คน โครงการปีที่ 2 นี้ก็เช่นเดียวกัน ทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร สถาบันการศึกษา โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากเครือข่ายสมาชิกสมาคม องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนไม่น้อยกว่า 40 แห่งเพื่อดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านปัญญาประดิฐ์อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมในปีนี้ ทางโครงการได้เริ่มเปิดรับสมัคร ตั้งแต่เดือน ก.ย. 64 โดยมีผู้สนใจทั่วไป จากทั่วประเทศ อายุตั้งแต่ 15 – 55 ปี ทั้งนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดสาขาวิชาชีพ ให้ความสนในสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า 5,700 คน และได้เข้าร่วมกิจกรรมใน Level 1 ด้วยการอบรม AI ระดับพื้นฐาน (Fudamental) ผ่านระบบออนไล์ MOOC AIAT และรับสิทธิ์การทดสอบวัดระดับความรู้พื้นฐาน ให้เข้าสู่การอบรมในระดับกลาง (Intermediat Level) ซึ่งมีผู้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรมใน Level 2 จำนวน 500 คน ซึ่งจะเพิ่มความเข้มข้นในการฝึกทักษะความรู้การวางแผน การออกแบบ การวิเคราะห์ ทั้งทางด้าน AI Technology, Image Processing, Signal Processing, Data Science/ Data Analytics, Internet of Things ฯลฯ รวมถึงกิจกรรม AI Workshop ในการฝึกปฏิบัติแก้ปัญหาด้าน AI จากโจทย์จริงขององค์กรภาคธุรกิจ และการนำเสนอผลงาน (Pitching) โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. – 1 เม.ย. 65 หลังจากนั้นจะเป็นการสอบประเมินความรู้ ความสามารถ เพื่อเข้าสู่ Levle 3 ในการนำความรู้ความสามารถด้าน AI ไปประยุกต์ใช้งาน ลงสนามเรียนรู้การทำงานจริง ร่วมฝึกงานภายในองค์กร/ สถานประกอบการ และนำเสนอผลงานผลงานในรอบสุดท้าย เพื่อประกาศผลและมอบรางวัลสุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ ภายในเดือนส.ค. 65

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการ Super AI Engineer Season 2 ได้ที่ https://superai.aiat.or.th/