Upskill เด็กอาชีวะ ด้วยทักษะ IoT ในภาคอุตสาหกรรม พร้อมสู่เส้นทางการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ

Facebook
Twitter

ผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยกับความเข้มข้นตลอด 36 ชั่วโมงในการแข่งขัน IoT Hackathon 2022 Gen R ภายใต้แนวคิด “Data Analytics for Factory 4.0” ได้พิสูจน์ความสามารถ และฝีมือน้อง ๆ Gen R ทั้ง 11 ทีม จำนวน 33 คน จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตภาคตะวันออก ในการนำความรู้ และทักษะทางด้าน Industrial Internet of Things หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่งเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2565 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จ.ชลบุรี

การแข่งขันในครั้งนี้ดำเนินงานโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับการสนับสนุนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา บริษัท เอส เอ็น ซี จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้เอื้อเฟื้องบประมาณและสถานที่ ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จ.ชลบุรี ในการจัดกิจกรรมแข่งขัน

เรียนรู้แบบท้าทายด้วยโจทย์จริงจากภาคอุตสาหกรรม

ด้วยแนวคิดของการแข่งขันในปีนี้ คือ “Data Analytics for Factory 4.0” ที่น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะได้พบกับโจทย์จริง ข้อมูลจริง จากอุตสาหกรรมใน 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มต้นจากการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์เพื่อตามหาประเภทอุตสาหกรรมที่ทีมได้รับ เพื่อใช้ข้อมูลนี้ไปออกแบบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล พร้อมการนำเสนอในรูป แดชบอร์ด สำหรับการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะใน 6 ด้าน Production Monitoring, Quality Control, Power Management, Warehouse Management, Maintenance, Lean Manufacturing

โดยคณะกรรมการจะพิจารณาผลงานใน 3 ส่วน ได้แก่ (1) ความสามารถในการเลือกและดึงข้อมูลทางอุตสาหกรรมออกมาได้อย่างครบถ้วน ตรงตามแอปพลิเคชันที่ทีมเลือก สามารถอธิบายความสำคัญและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เลือกใช้ได้ (2) การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสร้างตัวแปร เชิงตรรกะ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับโรงงาน หรือแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาจากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (3) ความสามารถในการออกแบบและพัฒนา รายงาน, แดชบอร์ด ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงงาน และ Presentation ในการนำเสนอผลงาน

โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิร่วม พิจารณาตัดสินผลงาน ดังนี้
1. คุณวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ที่ปรึกษา ในโครงการพัฒนาทักษะแบบเข้มข้นสำหรับบุคลากรระดับอาชีวศึกษา ทางด้าน Industrial Internet of Things
2. คุณเสมา พูลเวช บริษัท เอส ซี จี เคมิคอลส์ จำกัด
3. คุณวภช หลายวัฒนไพศาล นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานปฏิบัติการ สังกัดสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA)
4. ดร.กุลชาติ มีทรัพย์หลาก หัวหน้าทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค สวทช.
5. ดร.เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์ นักวิจัย ทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) เนคเทค สวทช.

ผลงานเด็ก Gen R คว้าชัยเวที IoT Hackathon 2022

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ALT + F4
ได้รับข้อมูลอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (Conrod) สร้างแดชบอร์ดและรายงาน แสดงผลการตรวจสอบสินค้า (Production Monitoring) ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) การบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) การบริหารจัดการด้านพลังงาน (Power Management) การบริหารค่าใช้จ่ายพนักงานและเครื่องจักร

สมาชิกในทีม
นางสาวนิชาภา ฝ่าพิมาย วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายธนกร ชลศิริพงษ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นางสาวกรกนก ขำดำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม DMK Transport

ได้รับข้อมูลอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (ไส้กรอก) สร้างแดชบอร์ด และ รายงาน แสดงผลการตรวจสอบสินค้า (Production Monitoring), การบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management), การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) และการบริหารจัดการด้านพลังงาน (Power Management)

สมาชิกในทีม
นายณัฐสิทธิ์ องค์เจริญ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายสรายุทธ สามารถ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
นายณภัทร อิ่มใจจิตร์ วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม แอ๊ะแอ๋แม่จ๋า

ได้รับข้อมูลอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ผลิต Resistor) สร้าง แดชบอร์ด และ รายงาน แสดงผล ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE), สถานภาพและปริมาณของสินค้า (Status & Product Quantity) ชนิดของสินค้าและความสามารถในการผลิต (Type of Product & Productivity) การบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) การควบคุมคุณภาพและพลังงาน (Power and Quality Control) การขาย (Sales) และต้นทุนจากการสูญเสีย (Cost Lost)

สมาชิกในทีม
นายสินชัย พร้อมจรรยา วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายณณณณณ งามปัญญา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายนิธิพงษ์ สายคง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล  ได้แก่  (1) Ctrl C / Ctrl V

ได้รับข้อมูลอุตสาหกรรมผลิตอาหาร (ไส้กรอก) สร้าง แดชบอร์ด และรายงาน Production Line การบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) การบริหารจัดการด้านพลังงาน (Power Management) และ ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE)

สมาชิกในทีม
นางสาวแพรวา เทียนขจร วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
นางสาวเขมิกา ภูริปรัชญา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายปิยพนธ์ ธนะวาสน์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

2) ทีม M1
ได้รับข้อมูลอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ สร้างแดชบอร์ด และรายงาน แสดงผลการบริหารจัดการและแจ้งเตือนด้านพลังงาน (Power Management) อุณหภูมิ (Temperature) เวลาในการผลิต (Cycle Time) ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) และการบริหารจัดการด้านพลังงาน (Power Management)

สมาชิกในทีม
นายพงษ์พิพัฒน์ ศรีเกษม วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
นายภูธิต ห่อคนดี วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
นายภานุพันธ์ วัฒนชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
ได้รับรางวัลมูลค่า 5,000 บาท


IoT Hackathon 2022 Gen R เป็นตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาเยาวชนด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อง ๆ กลุ่มอาชีวศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในภาคการผลิตของไทยในอนาคต จากการเรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจากโจทย์จริง ทั้งในด้าน Hard Skill การประยุกต์ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม รวมถึง Soft Skill ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนใหม่ การวางแผนการทำงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป