หน่วยงานพันธมิตรภายใต้ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science (National e-Science Infrastructure Consortium) จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ Workshop on e-Science and High Performance Computing หรือ eHPC2022 เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2565 โดยศาสตรจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา
การสัมมนาครั้งนี้วิทยากรได้นำเสนอผลงานและงานวิจัยที่มีการใช้ประโยชน์จากระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) และการนำ HPC เข้าไปช่วยแก้ปัญหา ทั้งด้านเพิ่มความเร็วในการพัฒนาผลงาน หรือการแก้ปัญหาตัวแปรที่ซับซ้อน ประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยสาขาต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์, โบราณวัตถุ และ Earth science
การสัมมนาแบ่งออกเป็นสองช่วงโดยช่วงแรกเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่องานวิจัย
- ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (O-Science) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายหัวข้อ แนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน ววน.
- ดร.มนัสชัย คุณาเศรษฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำเสนอหัวข้อ LANTA Supercomputer for National-Scale S&T Development
การสัมมนาช่วงที่สองเป็นการนำเสนอ ตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้งาน HPC สาขาต่างๆ “HPC สนับสนุนงานวิจัยไทยอย่างไร”
- ดร.แคทลียา โรจน์วิริยะ จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) นำเสนอหัวข้อ High performance computing in the SYNAPSE project: a challenge of 3D mapping of the entire human brain connectome
- ผศ.ดร.เธียรสิน เลี่ยมสุวรรณ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำเสนอหัวข้อ Monte Carlo simulation in radiation therapy
- ผศ.ดร. มงคล แก้วบำรุง จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา นำเสนอหัวข้อ คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงกับการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบราณด้วยพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ
- ดร.ปัถย์ ศักดิ์ธนากูล หัวหน้าทีมวิจัย ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) สวทช. นำเสนอเรื่อง Towards educational kit for HPC administrators
รับชมสัมมนาย้อนหลัง
ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ของไทย ได้พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป หรือ เซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยชั้นนำระดับโลกด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงเพื่อตอบคำถามการทำงานของจักรวาลได้ในระดับพื้นฐาน นอกจากนี้เซิร์นยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของ World Wild Web (www) จอ LCD และการใช้ลำแสงโปรตอนในการรักษาทางการแพทย์
ทั้งนี้ภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science เป็นผู้ขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ HPC ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญสนับสนุนงานวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมต่างๆ ในประเทศ ภาคีฯ ยังมีภาระกิจสำคัญในการส่งเสริมกลุ่มประชาคมผู้พัฒนาและผู้วิจัยที่ใช้งานระบบ HPC ตลอดจนความร่วมมือกับเซิร์น และยังขยายความร่วมมือในการให้บริการทรัพยากรไปสู่หน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชนมากยิ่งขึ้น
สอบถามและสมัครเข้าใช้บริการ
Email: application.e-sci@nectec.or.th
ติดต่อภาคีโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติด้าน e-Science
Facebook : https://www.facebook.com/eScienceConsoritum