รวมตัวเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประชุม “APEC Workshop on Accelerating Industry 4.0”

Facebook
Twitter

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างมากสำหรับห่วงโซ่อุปทานการผลิต ที่หลายอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัว รวมถึงการฟื้นตัวให้กลับมาดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Digital Transformation) จึงกลายเป็นความหวังให้เป็นโซลูชันสำหรับการลดต้นทุน ปรับปรุงกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ การพัฒนาศักยภาพของแรงงาน อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ยังคงเป็นประเด็นความท้าทายสำหรับเขตเศษฐกิจที่กำลังพัฒนา เนื่องจากขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการพึ่งพาโซลูชันต่างๆ ที่ยังมีราคาแพง

เมื่อวันที่ 14-15 พ.ค. 2567 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ภายใต้การสนับสนุนจาก Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) ได้จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ “APEC Workshop on Accelerating Industry 4.0 Technology Adoption in Manufacturing Sectors Through STI Partnerships Among Smart Manufacturing Research and Innovation Centers” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย รัสเซีย และไทย เข้าร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตัวอย่างความสำเร็จในการดำเนินงานเพื่อเร่งการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI) ไปใช้ขับเคลื่อนในภาคการผลิต, การสร้างหลักสูตร และพัฒนากำลังคนที่มีทักษะสูง, กำหนดแนวทางข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับความพร้อมของอุตสาหกรรม 4.0 โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเขตศรษฐกิจเอเปค โดยมีคุณอุดม ลิ่วลมไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช. ในฐานะผู้ดูแลโครงการฯ ให้การต้อนรับ

ภายในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากเขตเศรษฐกิจเอเปค ร่วมนำเสนอในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ

(1) “Success Journey and Best Practices of Digital Transformation Sharing by APEC Developed Economies”

– Dr. Satoko Itaya
Research Manager, National Institute of Information and Communications Technology (NICT), Japan
– Mr. Mun Gu Park
Partner of Digital Transformation CoE/ Operations Consulting & Tax, KPMG International Limited, Republic of Korea
– Dr. Roland Lim
Research Scientist, Singapore Institute of Manufacturing Technology (SIMTech), Singapore
– Dr. Derek Luo
Senior Consultant, Industrial Technology Research Institute (or ITRI), Chinese Taipei

(2) Overview and key result of “Manufacturing Digital Transformation Course”
Dr. Roland Lim, Research Scientist, and Mr. Yi Yung Lim, Principal Research Engineer,
from Singapore Institute of Manufacturing Technology (SIMTech)

(3) Course Experiences Sharing
Mr. Adul Premprasert
Chief Executive Officer of Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd.

รวมถึงการเปิดวง Workshop แบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว มาร่วมให้มุมมอง ข้อมูลเชิงลึก สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอุปสรรค และข้อจำกัดในการนำเทคโนโลยี Industry 4.0 ไปใช้ในเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา ภายใต้ 3 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ (1) Strategy & Vision + Organization Management & Governance (2) People & Culture และ (3) Technology & Capabilities เพื่อรวบรวมเป็นข้อเสนอแนะต่อนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ที่เหมาะสมต่อไป โดยเฉพาะในภาคการผลิต

นอกจากนี้คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ณ สำนักงานใหญ่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) อ.วังจันทร์ จ. ระยอง ซึ่งมีภารกิจหลักในการดำเนินงานเพื่อเข้ามาช่วยตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 โดยให้บริการทั้งทางด้านการตรวจประเมินระดับความพร้อมของโรงงาน (Thailand i4.0 Index), บริการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร, ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี แหล่งทุน และสิทธิประโยชน์, บริการแพลตฟอร์มพื้นฐานการผลิตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform: IDA Platform), บริการวิจัย พัฒนา ตามโจทย์ความต้องการเฉพาะด้าน รวมถึงยังเป็นเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสนามทดสอบ (Testbed) ให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมได้เข้ามาเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เห็นตัวอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ที่เห็นผลลัพธ์สามารถใช้งานได้จริง ก่อนที่จะนำไปขยายผลต่อยอด หรือลงทุนภายในโรงงาน ได้แก่
– Industrial Automation
– Smart Maintenance
– Demo line (Flexible manufacturing)
– 3D Scanner Robot
– Embedded Mobile Robot Controller (EMR)
– Motor Testbed
– Smart Warehouse Solution
โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากมุมมอง และแนวทางที่หลากหลายในการประชุมครั้งนี้ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และเป็นข้อพิสูจน์แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายในสมาชิกเขตเศรษฐกิจ APEC ที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิต รวมถึงส่งเสริมเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานนวัตกรรมทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้เข้มแข็งต่อไป