บทความ | ปวีณา ครุฑธาพันธ์
สาระจากการเสวนา “สิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุน ยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0” ในงาน INTERMACH 2023
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยกลุ่มแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย (Thailand i4.0 Platform Group) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) รวมทั้งหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร จัดงานสัมมนา ในหัวข้อ “Industry 4.0 ลงทุนง่ายๆ สบายกระเป๋า” เพื่อเป็นเวทีให้ความรู้และประสบการณ์แลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเป็นกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ ผู้ที่สนใจ ผู้ประกอบการ นักลงทุน ให้ทราบและเข้าใจอุตสาหกรรม 4.0 แนวทางการปรับตัวและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐให้ผู้ประกอบการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และบริการที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0
บทบาท และ กลไกสนับสนุนของภาครัฐ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวถึง บทบาทของ EXIM BANK สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ ให้ขยายการส่งออกและการลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ผ่านการให้สินเชื่อ รับประกัน หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการอื่น ๆ บนพื้นฐานของนวัตกรรมทางการ เงินที่หลากหลายอย่างครบวงจรโดยมุ่งเน้นการเสริมศักยภาพการค้าการลงทุนให้กับธุรกิจไทย และ สนับสนุนการค้าและการลงทุนของธุรกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ใน เวทีโลกเป็นกลไกของรัฐเพื่อขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนธุรกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ประเทศไทย และอุตสาหกรรม ที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ (S-curve) เพื่อให้สามารถตอบสนองสภาพแวดล้อมภายนอกและนโยบายภาครัฐมากขึ้น และรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี (ปี 2566-2570) ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
สร้างอุตสาหกรรมใหม่ …. หนึ่งในบทบาทและภารกิจของ EXIM BANK โดยมีแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการ ได้แก่ การเร่ง “ซ่อม สร้าง เสริม”
“ซ่อม” ประคับประคองผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ประสบวิกฤต เติมสภาพคล่องผู้ประกอบการ ปรับโครงสร้างหนี้ และรักษาการจ้างงาน (Payroll Financing)
“สร้าง” อุตสาหกรรมใหม่ สร้างอุตสาหกรรม BCG สร้าง Future Industry สนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนสนับสนุน BCG Economy เป็นสะพานเชื่อมต่อ โครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาล โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านเติมเต็ม ช่องว่างทางธุรกิจให้แก่ลูกค้ารายใหญ่ เพื่อให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ
“เสริม” ศักยภาพผู้ประกอบการ พัฒนาผู้ประกอบการสู่เวทีโลกอย่างครบวงจร (เติมความรู้ เติมโอกาส เติมเงินทุน)โดยการให้สินเชื่อ EXIM for Indirect Exporters / Supply Chain Financing พัฒนากลไก Formula Lending สนับสนุนกลุ่ม SMEs สนับสนุนสินเชื่อบุคคลทำธุรกิจ สร้างช่องทางการค้าออนไลน์ผ่าน Platform ระดับโลก ภายใต้โครงการ EXIM Thailand Pavilion
“สานพลังพันธมิตร” ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการสานพลังความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมด้านบริการทางการเงิน ภายใต้แนวคิด “รวมช่องทาง รวมกระบวนการ และรวมโมเดลในการประเมินสินเชื่อเข้าด้วยกัน” เพื่อให้ผู้ประกอบ การได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ และจัดทำหลักสูตร Top X ร่วมกับ 3 สภาฯ และมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ดร.เบญจรงค์ กล่าวเสริมว่า EXIM BANK พัฒนาบริการใหม่ “EXIM Biz Transformation Loan” เป็นสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่จะช่วย “ซ่อม” “สร้าง” และ “เสริม” ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้มีความ พร้อมในการผลิตและส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก มีเป้าหมายวงเงินสินเชื่อรวม 4.9 พันล้านบาท บริการดังกล่าวเป็นสินเชื่อระยะยาวเพื่อให้ผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจ และทุกกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึง SMEs นำไปใช้ปรับปรุงเครื่องจักร โรงงาน หรือ ลงทุนเพิ่ม รวมทั้งปรับปรุงระบบ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและกระบวนการการผลิต ตลอดจนขยายกำลังการผลิต ให้ได้สินค้าคุณภาพดีได้มาตรฐานสากล โดยเน้น อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-curve) และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และเกษตร แปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงมาตรการสินเชื่ออื่น ๆ เช่น EXIM Green Start เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มสภาพ คล่องผู้ประกอบการ S M L ในกลุ่มอุตสาหกรรมดำเนินธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม EXIM Solar Orchestra สินเชื่อเพื่อติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และ EXIM Export Ready เงินทุนเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออก
EXIM BANK ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการ พัฒนาประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve และ BCG Economy) สอดรับกับนโยบายรัฐบาล ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรม ทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและขับเคลื่อนประเทศไทย
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
คุณนิธิวดี สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานเครือข่ายผู้ให้บริการ SME และส่งเสริมนโยบายภาครัฐ กล่าวถึงภารกิจหลักของ สสว. ในการเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ การส่งเสริม SME ของประเทศ รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการความ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริม SME ให้เกิดความ ต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน “สสว. ได้ออกมาตรการโครงการส่งเสริม ผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (มาตรการ SME ปัง ตังได้คืน) เพื่อเป็นการแบ่งเบา ค่าใช้จ่าย เข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับ SMEs เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ รูปแบบใหม่ ผ่าน online platform bds.sme.go.th จะรวบรวมบริการต่าง ๆ ที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การขอรับมาตรฐาน การต่ออายุ ใบอนุญาต การพัฒนาองค์ความรู้ และกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดมาให้ผู้ประกอบ การได้เลือกบริการที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง โดย สสว. จะอุดหนุน ค่าใช้จ่ายส่วน หนึ่งเป็นสัดส่วน แบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 แต่ไม่เกิน รายละ 200,000 บาท ตามขนาดกับของธุรกิจของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน พัฒนาสิทธิประโยชน์ ให้ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนผู้รับบริการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME ไทย 3 เรื่องสำคัญให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ 1) เชื่อมโยงแหล่งทุน กับธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เช่น วงเงินสินเชื่อ อัตราพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ สสว. ยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม รวมถึงอำนวยความสะดวกและให้สิทธิพิเศษ กับผู้ประกอบการ ในการเข้าร่วมโครงการระดมทุนผ่านตลาดทุนที่ได้รับการส่งเสริม จากกลต. 2) เพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุน ให้ความรู้ด้านการใช้งานและส่งเสริม การขายผ่าน TikTok โดยผ่านกิจกรรมฝึกอบรม รวมถึงโอกาสการ co-brand เพื่อทำ แคมเปญออกสินค้าร่วมกับบริษัท Fineserve Co.,Ltd. และโอกาสการขยายตลาด สู่ต่างประเทศ 3) ขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตร EXIM BANK พัฒนาระบบประเมินความพร้อมผู้ส่งออกไทย ผ่าน TERAK Platform และร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching Product Selection)
คุณนิธิวดี กล่าวเสริมว่า มาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการของ สสว. ออกมาเพื่อช่วย SME ให้สามารถแข่งขันได้จริง ๆ เพราะเป็นการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวถึง บทบาทและมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลของดีป้า ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ผ่านกลไกการส่งเสริมผู้ประกอบการ digital Startup และ SMEs ทั้งในรูปแบบ ของการให้เงินทุนสนับสนุนในการก่อตั้ง การพัฒนาธุรกิจ ไปจนถึงการขยายตลาด ผ่านการให้เงินทุนสนับสนุนให้แก่โครงการที่มีศักยภาพในการดำเนินงานและการส่งเสริมความพร้อมและการสร้างพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่การแข่งขัน ในตลาดผ่านการเป็น Digital Provider รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่ดีป้าได้ดำเนินการ ผลักดัน อาทิ บัญชีบริการดิจิทัล และสิทธิประโยชน์ Capital Gain Tax เพื่อช่วย ผลักดันให้ Digital Startup และ SMEs ซึ่งเปิดรับสมัครการสนับสนุนเข้าร่วมโครงการ ผ่านมาตรการในด้านต่าง ๆ ได้แก่
มาตรการขับเคลื่อนดิจิทัลด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
1) การสร้างให้เกิด ดิจิทัลสตาร์ทอัพ (Digital Startup) รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพผ่านมาตรการ ช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) โดยแบ่งการสนับสนุน ออกเป็น 3 ระยะ สนับสนุนสูงสุด 5,000,000 บาท/ราย
2) การกระตุ้นให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล ในภาคเอกชน (Digital Transformation) ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (depa Digital Transformation Fund) สนับสนุนสูงสุด 1,000,000 บาท/ราย และ
3) การสร้างองค์ความรู้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ในอุตสาหกรรม ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการร่วมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัล สนับสนุนสูงสุด 3,000,000 บาท/ราย
มาตรการขับเคลื่อนดิจิทัลด้านสังคม ประกอบด้วย
1) การสร้างกำลังคน และบุคลากร ดิจิทัล (Digital Manpower) ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน ผ่าน มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Manpower Fund) แบ่งการสนับสนุน ออกเป็น 2 ส่วน สนับสนุนสูงสุด 3,000,000 บาท/ราย
2) การสร้างความเข้มแข็ง ในระดับชุมชนโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ผ่านมาตรการ ช่วยเหลือหรือการอุดหนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อ ชุมชนในชนบท แบ่งการสนับสนุนออกเป็น 2 ส่วน สนับสนุนสูงสุด 5,000,000 บาท/ราย
มาตรการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เป้าหมายเพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศดิจิทัลของประเทศ โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการ พัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลซึ่งให้การสนับสนุนในสองมาตรการ 1) มาตรส่งเสริมและสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของภาคเอกชน และ 2) มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ
ดร.ปรีสาร กล่าวเสริมว่า มาตรการในการสนับสนุนดังกล่าวจะช่วยยกระดับ มาตรฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศ เพื่อการพัฒนา และวางโครง สร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งภาคเศรษฐกิจ และสังคม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
คุณอุษณีย์ ถิ่นเกาะแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า บทบาท BOI ในการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในประเทศ และการลงทุน ของไทยในต่างประเทศ มีเป้าหมายของยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ “เศรษฐกิจใหม่” “NEW Economy, NEW Opportunities” ภารกิจหลักของสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 1) ส่งเสริมการลงทุนในไทย (ทั้งนักลงทุนไทยและนัก ลงทุนจากต่างประเทศ) เพื่อนโยบายการให้การส่งเสริม (ตามประเภท กิจการ /คุณค่าโครงการ/พื้นที่เฉพาะ/ Agenda-based) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำ/กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค 2) อำนวยความสะดวก และปรับปรุง สภาพแวดล้อมการลงทุน ได้แก่ ศูนย์วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน Smart Visa เพิ่มการ ใช้ชิ้นส่วน/วัตถุดิบในประเทศ และข้อเสนอปรับปรุงกฎระเบียบการดำเนินธุรกิจ 3) ส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศให้คำปรึกษา/อำนวยความสะดวก (ไม่มีการให้สิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากร)
การส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับไปสู่ Industry 4.0
มาตรการยกระดับอุตสาหกรรม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการ มีการลงทุนเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพยกระดับการผลิตหรือบริการไปสู่ Smart & Sustainable Industry โดยมีเงื่อนไข/สิทธิและประโยชน์
1) ปรับปรุงประสิทธิภาพโครงการเดิม ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 3 ปี สำหรับรายได้ ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นสัดส่วน 50% หรือ 100% (ขึ้นกับเงื่อนไข) ของเงินลงทุนในการปรับปรุง
2) ยกระดับกิจการกลุ่ม B ที่ลงทุนโครงการใหม่ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% หรือ 100%
(ขึ้นกับเงื่อนไข) ของเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หรือระบบ การผลิตแบบอุตสาหกรรม 4.0
ขอบข่าย ใช้กับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับการส่งเสริม เป็นประเภท กิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมในวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม กรณีโครงการ ที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงิน ได้ฯ ต้องสิ้นสุดแล้ว หรือไม่เคยได้รับยกเว้น สิทธิและประโยชน์ ได้แก่ ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี เป็นสัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงเพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0ระยะเวลายกเว้น ภาษีเงินได้ฯ นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม เงื่อนไข ต้องเสนอแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ได้รับความเห็นชอบจาก สวทช. และต้องดำเนินการตามแผนที่ได้รับอนุมัติ ต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามเกณฑ์ที่กำหนดในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Automation and Network Technology) การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการ ที่ชาญฉลาด (Smart Operation) หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหาร จัดการในกระบวนการผลิต (Digital Technology in Production Process) เป็นต้น
มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมสำหรับโครงการใหม่ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน (กิจการในกลุ่ม B)
มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมเป็นมาตรการที่สนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการทั้งในส่วนที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว หรือผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นขอรับการส่งเสริมโดยการลงทุนใหม่สำหรับกิจการในกลุ่ม B (กิจการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล) ให้มีการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพหรือยกระดับกิจการทั้งในส่วนภาคการผลิตหรือการบริการเพื่อขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะและยั่งยืน (Smart and Sustainable Industry)
คุณอุษณีย์ กล่าวเสริมว่า BOI ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยมี 9 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ 2) มาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3) มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม 4) มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร 5) มาตรการกระตุ้นการลงทุนในระยะฟื้นฟูเศรษฐกิจ 6) มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart และ Sustainability 7) มาตรการส่งเสริมการลงทุน SMEs 8) มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย และ 9) มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม