เนคเทค สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยบัณฑิตวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จัดประชุมสัมมนาวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ “Spectroscopic AI: Health, Agriculture and Food Science Applications” เมื่อวันที่ 18 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศ.ดร.เกียรติไชย ฟักศรี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรม
ในโอกาสนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำเสนอความก้าวหน้าจากการนำรามานสเปกโทรสโกปีและการประยุกต์ใช้ AI เพื่อวินิจฉัยวัณโรค มากกว่า 1,000 ตัวอย่าง ความถูกต้องมากกว่า 90% พร้อมด้วยทีมวิจัยจากเนคเทคได้นำเสนอผลงานวิจัย ได้แก่
- Portable Raman Mapping System เครื่องตรวจวัดสัญญาณรามานแบบพกพาที่สามารถตรวจวัดด้วยเทคนิค Mapping ได้ พร้อมระบบประมวลผล Cloud computing
- Gasset: แพลตฟอร์มพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ชนิดสารกึ่งตัวนําการประยุกต์ใช้งาน และการวิเคราะห์สัญญาณร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- LSRP Spectra Chip ชิปตรวจวัดทางการแพทย์ ตรวจวัดสารชีวโมเลกุล พวกโปรตีน แอนติบอดี (Biomolecules)
- LSPR Spectra อุปกรณ์ตรวจวัดทางการแพทย์ สารชีวโมเลกุล (Biomolecules)
- Micro-sampling Device อุปกรณ์เก็บตัวอย่างปริมาตรน้อย
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 เป็นกิจกรรมบรรยายและแนะนำผลงานวิจัย หัวข้อการบรรยายประกอบด้วย
- หัวข้อ Introduction to Raman spectroscopy and ONSPEC; NECTEC’s SERS Sensor
บรรยายโดย ดร.นพดล นันทวงศ์
ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ เนคเทค - หัวข้อ Advanced Applications of NECTEC SERS Sensors in Medicine, Agriculture, and Food Safety
บรรยายโดย ดร.พิทักษ์ เอี่ยมชัย
นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี - หัวข้อ GASSET: แพลตฟอร์มพัฒนาแก๊สเซนเซอร์ชนิดสารกึ่งตัวนำ การประยุกต์ใช้งาน และการวิเคราะห์สัญญาณร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
บรรยายโดย ดร.คทา จารุวงศ์รังสี
นักวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์แสงไฟฟ้าเคมี - หัวข้อ หัวข้อ Raman spectroscopy and AI Application on Tuberculosis Diagnosis (Funded by Good Venture Foundation, USA)
บรรยายโดย ดร.เบญจวรรณ แก้วสีขาว
นักวิจัย ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที 19 มิถุนายน 2567 เป็นกิจกรรมอภิปรายโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรามานสเปกโทรสโกปี และการประยุกต์ใช้ทางด้านสุขภาพ เกษตรและอาหาร โดยได้รับความสนใจจากนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาปริญญาโทและเอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำตัวอย่างมาร่วมทดสอบ พร้อมหารือด้านงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต