ทีม SAI เนคเทค คว้ารางวัลจากเวทีการแข่งขัน Brain Hackathon Competition

Facebook
Twitter

ขอแสดงความยินดีกับทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (SAI) กลุ่มวิจัยวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ (DSARG) ที่คว้ารางวัลจากเวทีการแข่งขัน Brain Hackathon Competition จำนวน 2 รางวัล ดังนี้

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดโปสเตอร์ ภายในโครงการ Brain Hackathon จากผลงาน ‘Identifying Mild Cognitive Impairment Using Network Analysis On Time-Series of Electroencephalogram (EEG)’ โดย          นายจตุพงศ์ อบอุ่น (ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ทีมวิจัย SAI, กลุ่มวิจัย DSARG, NECTEC) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566

รางวัล Outstanding Award (Academic Track) จากผลงาน “A neuromarker for Mild Cognitive Impairment on attention task using EEG between-region routing efficiency” ในงาน Coding ERA ชั้น 1 Central Plaza Grand Rama 9 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2567

สมาชิกในทีมประกอบด้วย

    • นาย จตุพงศ์ อบอุ่น (ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ทีมวิจัย SAI, กลุ่มวิจัย DSARG, NECTEC)
    • นาย ปิยนนท์ เจริญพูนพาณิชย์ (ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ทีมวิจัย SAI, กลุ่มวิจัย DSARG, NECTEC)
    • นางสาว จิตณัฏฐา โธนบุตร (3rd year student, KMITL)

พี่เลี้ยง / ที่ปรึกษา

    • ดร.ชัยณรงค์ อมรบัญชรเวช นักวิจัย สังกัดทีมวิจัย SAI, กลุ่มวิจัย DSARG, NECTEC
    • ดร.อิทธิ ฉัตรนันทเวช หัวหน้าทีมวิจัย สังกัดทีมวิจัย NAI, กลุ่มวิจัย NCAS, NANOTEC
    • ผศ.ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและวัตนกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โครงการ “Brain Hackathon” หรือ โครงการจัดกิจกรรมการแข่งขันและเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเขียนโปรแกรมในเยาวชนและบุคคลากรจากสหสาขา ผ่านประสบการณ์จริงในการรังสรรค์นวัตกรรมด้านประสาทวิทยาการคำนวณเพื่อตอบโจทย์วิจัยและอุตสาหกรรม และ สร้างกลไกการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพอย่างเร่งด่วนและยั่งยืนได้ถูกจัดทำขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนากระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคำนวณ รวมถึงความรู้ทางด้านประสาทศาสตร์ ให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีศักยภาพและความรู้ความสามารถมากพอที่จะนำสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานในชีวิตจริงต่อไป