11 พ.ค. 66 สมาคมไทยไอโอที ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ต้องทำอย่างไรให้สามารถยกระดับการผลิต สู่ industral 4.0 ” ในงาน INTERMACH & SUBCON THAILAND 2023 เพื่อให้ความรู้แลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ได้เห็นถึงที่มาความสำคัญและแนวโน้มของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้ผลิตจะปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างไร เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องเผชิญสำหรับผู้ผลิต และผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมที่จะต้องทำความเข้าใจแนวคิดพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในอุตสาหกรรมแทนการทำงานในรูปแบบเดิม โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยไอโอทีและระบบอัตโนมัติสำหรับงานอุตสาหกรรม เนคเทค สวทช. คุณอาคม ไทยเจริญ กรรมการสมาคมโปรแกรมเมอร์ ดร.สุรชัย ทองแก้ว หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม และกรรมการสมทบสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย โดยมี คุณนิติ เมฆหมอก นายกสมาคมไทยไอโอที ผู้ดำเนินรายการ
คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล ได้ให้มุมมองว่า อุตสาหกรรมไทยต้องเร่งปรับตัวนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อความอยู่รอดทั้งในด้านลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แม้อุตสหกรรม 4.0 จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ไม่ใช่เรื่องง่ายด้วยค่าใช้จ่ายซึ่งอาจไม่คุ้มทุน สำหรับบางประเภทอุตสาหกรรมจึงต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อความคุ้มค่าในการลงทุน เช่น การผลิตในรูปแบบ High Mix Low Volume คือ เน้นสินค้าในเชิงคุณภาพความหลากหลายมากกว่าปริมาณ (สินค้ามีความหลากหลายสูง แต่จำนวนการผลิตต่ำลง) รวมถึงเทคโนโลยีที่มาพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ กระบวนการผลิตสมัยใหม่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นโดยปัจจุบันกระบวนการผลิตสมัยใหม่เน้นไปที่การนำระบบ Automation เข้ามาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกล นอกเหนือจากนี้ยังมีเทคโนโลยีและระบบอื่น ๆ เช่น ระบบ IoT ที่สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนการผลิตในรูปแบบใหม่ได้การนำแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) โดยเนคเทค สวทช. ได้พัฒนาขึ้นสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) โดยตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จากเครื่องจักรทำให้ทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักรนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-Time ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการผลิต ลดต้นทุน และบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องจักรจะเกิดอาการเสียหายในอนาคต นอกจากเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพแล้ว การนำ AI Edge computing และ Cloud Computing มาใช้ในส่วนของกระบวนการผลิตช่วยตรวจจับความบกพร่องต่าง ๆ ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำงานด้วยการระบุและแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา ทำให้ทราบข้อมูลแบบ Real-Time นำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะวางแผนการผลิตและทราบข้อมูลของปัญหาได้ในทันที คุณอุดม กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นทางออกในอนาคตองค์กรต้องมีความพร้อมและคำนึงความจำเป็นการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งควรเตรียมรับมือให้พร้อม คือในเรื่องของแรงงานที่จะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำงานทดแทนแรงงานจะต้องเตรียมความพร้อมและเพิ่มทักษะของแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาของเทคโนโลยีด้วย
ดร.สุรชัย ทองแก้ว กล่าวเสริมคุณอุดมว่า ในแต่ละยุคของการปฎิวัติอุตสากรรมจะมี Keyword ในแต่ละเจนเนอเรชัน Gen 1 ยุคไอน้ำ ซึ่งใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักรในโรงงาน หรือภาคอุตสาหกรรม Gen 2 ระบบไฟฟ้าเข้ามาเปลี่ยนจากระบบไอน้ำเป็นระบบไฟฟ้า Gen ที่ 3 คือใช้คอมพิวเตอร์ System เข้ามาช่วยไม่ว่าจะเป็น Controller หรือคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยควบคุมช่วยในการอ่านค่าต่างๆ Gen 4 คือ Cyber Physical System ประกอบด้วย 2 โลกด้วยกันคือ Cyber world และ Physical world ซึ่งในปัจจุบันเราใช้คำว่า OT IT ซึ่ง IT (Information Technology) ส่วน OT (Operational Technology) คือการบูรณาทั้ง 2 มิตินี้ ร่วมกันซึ่งหากย้อนไป Cyber system ที่สอดคล้องกับของคุณอุดม การจะเป็น Cyber ได้นั้นคือการนำเอา 9 เทคโนโลยี (Cloud Computing, IoT, Cybersecurity, Augmented Reality, Big Data, Autonomous Robots, Additive Manufacturing, Simulation,System Integretion) มาผนวกรวมกับ physical technology หรือ OT เชื่อมเป็น Cyber physical System เป็นการนำเอา IT กับ OT มา บรรจบกันแล้วเชื่อมต่อนำไปสู่ IoT กับ AI ที่จะมีบทบาทต่อไปมิติของเทคโนโลยี 4.0 ต่อ Industry 4.0 นอกจากนี้ ดร.สุรชัย ยังได้ให้มุมมมองเพิ่มเติมถึง IoT มีความเกี่ยวข้องกับ Industry 4.0 อย่างไรนั้น โดยขยายความ Indusrty 4.0 ในภาพ Cyber Physical System เมื่อเป็นโลกของ IT กับ OT มาจรรจบกันท่อนตรงกลางที่จะเชื่อมรอยต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ก็คือพาร์ทที่เรียกว่า Connectivity ซึ่งหากดูตามโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม IoT ใน layer ด้านล่างเรียกว่า Thing layer หรือที่มักจะเรียกกันว่า IoT ซึ่งเท่ากับ Hardware หรือ Physical (เครื่องจักร) ที่บางคนมักจะเรียกว่า Sensing แต่สิ่งที่อยากจะเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อความสมบูรณ์ นอกจากที่มี Sensor แล้วต้องมีความสามารถในการอ่านค่าของ Thing ขึ้นมาได้แล้วต้องสามารถควบคุมโยน Data พวกนี้ลงกลับไปได้เช่นกัน และเมื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมก็สามารถทำขั้นตอนการรับส่ง Data ผ่าน Connectivity หรือเรียกว่า Network layer ซึ่งจะได้ Data ต่าง ๆ แล้วขึ้นไปที่แพลตฟอร์ม ปัจจุบันเป็น Cloud based สามารถนำ Data ไปประมวลผลได้แบบเรียลไทม์ (Real-Time) เกิดเป็นแอปพลิเคชันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมิติต่าง ๆ ดังนั้นโครงสร้างของ IoT เมื่อนำมาใช้งานในอุตสากรรม 4.0 จะช่วยในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณอาคม ไทยเจริญ ได้แสดงมุมมองในฐานะโปรแกรมเมอร์ โดยยก Keyword มา 3 คำว่า CIA (Confidentiality – Integrity and Availability ทั้ง 3 สิ่งนี้คือเป้าหมายหลักของการวางโครงสร้างด้านความปลอดภัยข้อมูล) แล้วทำไมถึงต้องนำเอามาเป็นฐานของ Industrial 4.0 เพราะข้อมูลที่ได้มาต้อง I – Integrity ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ A – Availability ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ และ C – Confidentiality ข้อมูลต้องเป็นความลับเพราะว่าโรงงานไม่ต้องการให้ข้อมูลมันหลุดออกไปสู่ภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากต่อโรงงานและอุตสาหกรรม 4.0