ทีมวิจัยระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)

Facebook
Twitter

ศูนย์ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Center for Cyber-Physical Systems : CPS) เป็นหน่วยงานภายใต้หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ (NCCPI) มีหน้าที่วิจัยพัฒนา รวมถึงให้บริการคำปรึกษา ทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สร้างองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านระบบไซเบอร์-กายภาพ และ IoT เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงของประเทศ

ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Cyber-Physical Systems : CPS) คือระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ (Physical World) กับโลกไซเบอร์ (Cyber World) เข้าด้วยกัน โลกกายภาพประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร มนุษย์ ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อม ส่วนโลกไซเบอร์หรือโลกดิจิทัลนั้นเป็นโลกแห่งการประมวลผลและการควบคุม การผนวกสองโลกเข้าด้วยกันเริ่มจากการเชื่อมต่อของสิ่งต่างๆ ในโลกกายภาพแบบเป็นเครือข่าย ซึ่งเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connectivity) การสื่อสาร (Communication) และการนำข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสภาวะแวดล้อมต่างๆ ในโลกกายภาพส่งต่อไปให้โลกของไซเบอร์ช่วยประมวลผล (Computing) วิเคราะห์คำนวณ หรือตัดสินใจ เพื่อส่งข้อมูลย้อนกลับมาควบคุม (Feedback Control) โลกกายภาพอีกทีอย่างเป็นอัตโนมัติ

การหลอมรวมของสองโลกนี้ทำให้สิ่งต่างๆ ในระบบสามารถเชื่อมต่อทำงานร่วมกันได้ สามารถตรวจสอบและควบคุมเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆ ของระบบได้ตามความเหมาะสม แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยจากการนำศาสตร์แขนงต่างๆมาบูรณาการร่วมกัน ประกอบไปด้วยวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า (อิเล็กทรอนิกส์,คอมพิวเตอร์,ระบบควบคุม) วิศวกรรมเครื่องกล วิศกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมการผลิต เป็นต้น ระบบไซเบอร์-กายภาพจึงเป็นภาพที่ใหญ่กว่า IoT เนื่องจากเป็นการบูรณาการการสื่อสาร การประมวลผล และการควบคุม เข้ากันเป็นระบบที่ชาญฉลาดนั่นเอง

เนคเทค-สวทช. มีเป้าหมายส่งเสริม CPS ให้เป็นแนวทางสำหรับอนาคตที่ผนวกรวมความเชี่ยวชาญจาก 3 ด้านหลักของศูนย์ ได้แก่ Sensor, System/Network และ AI-Data Analytics โดยกลจักรทั้งสามส่วนนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของประเทศในส่วนต่างๆ เช่น ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการศึกษา และในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ

สารบัญ

บทบาทหน้าที่

  • ให้บริการคำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมให้กับภาคเอกชน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการของประเทศในตลาดโลก
  • บริการ Testbed Facility ในการทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) CPS และ IoT ในด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมต่อ ความปลอดภัย และการทำงานร่วมกันได้ระหว่างต่างระบบหรือต่างอุปกรณ์ โดยอำนวยความสะดวกในการจัดหาทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ชนิดต่างๆ สำหรับการทดสอบ รวมถึงการบริการผลิตฮาร์ดแวร์และเซนเซอร์สำหรับการพัฒนาต้นแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และให้บริการพื้นที่และเครื่องมือสำหรับวิจัยพัฒนาต้นแบบ (Lab co-working space) โดยจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาต้นแบบด้าน CPS และ IoT ตัวอย่างบริการ อาทิ
    • บริการโครงสร้างพื้นฐาน Cloud Platform สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ IoT
    • บริการ Testbed เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ
    • บริการ Testbed เพื่อทดสอบความปลอดภัยของระบบและอุปกรณ์ IoT
    • บริการ Testbed เพื่อทดสอบการทำงานร่วมกันได้ข้ามระบบ
  • Showroom แสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ด้าน CPS และ IoT เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้และกระจายแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ออกสู่วงกว้าง
  • ดำเนินงานวิจัยพัฒนา สร้างองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้าน CPS และ IoT เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงของประเทศ
  • สร้างระบบนิเวศเกื้อหนุนผู้ประกอบการ CPS และ IoT
 

วิสัยทัศน์

เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้และกระจายแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านระบบไซเบอร์-กายภาพ ชั้นนำของประเทศไทยและขยายสู่ภูมิภาคอาเซียน

พันธกิจ

จัดตั้งศูนย์บริการโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ ที่มีผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือ และห้องทดสอบ สำหรับการสร้างนวัตกรรม ให้คำปรึกษา และถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี CPS แก่สาธารณชน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยสู่ยุค 4.0

เทคโนโลยีหลัก

  • Internet of Things (IoT), Industrial IoT
  • Communications & Edge Computing
  • Data Analytics & Visualization
  • Sensors & Data Acquisition

บุคลากรและความเชี่ยวชาญ

  • ดร.กุลชาติ มีทรัพย์หลาก : Optimization, Operations Research, IoT
  • ดร.สุวัฒน์ โสภิตพันธ์ : Sensor Technology, Smart Maintenance, Analog/Digital Circuit Design, Microelectronics Technology
  • ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ : IoT, Wireless Sensor Network, Precision Farming
  • ดร.ธีรเชษฐ์ สูรพันธุ์ : Embedded system, Analog/RF Design, Optimization
  • ดร.ธนกร ตันธนวัฒน์ : Machine Design, Design Optimization, Lean Automation System Integration
  • ดร.เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์ : IoT, System Modeling, Signal Processing, AI
  • นายชำนาญ ปัญญาใส
  • นายมนตรี แสนละมูล
  • นายเอกชาติ หัตถา
  • นายรพีพงศ์ โชครุ่งอิสรานุกูล
  • นายทองพูล สังกะเพศ
  • นายอาคม แห้วชิน
  • นายนริชพันธ์ เป็นผลดี

ติดต่อ

ศูนย์ระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS)
หน่วยทรัพยากรด้านการคำนวณและไซเบอร์-กายภาพ (NCCPI)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
อีเมล : nccpi-cps[at]nectec.or.th
เว็บไซต์ : https://www.nstda.or.th/cps
โทร. : (+66)2-564-6900 ต่อ 2578