ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีแสงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย งานวิจัยของห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักคือ
- งานวิจัยที่มีผู้ใช้ร่วมพัฒนา เช่น โจทย์วิจัยที่มาจากปัญหาของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนแล้วต้องการใช้เทคโนโลยีแสงเข้าไปช่วยแก้ไข
- งานวิจัยพื้นฐานเพื่อค้นหาองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งระดับในประเทศและนานาชาติ ด้วยความมุ่งหวังว่าเทคโนโลยีแสงจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศตามภารกิจของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ยังช่วยส่งเสริมและผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับตลาดแรงงานของประเทศด้วยการให้ความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยและผลิตต้นแบบให้งานวิจัยออกมาถึงมือผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ของประเทศ และผลักดันนวัตกรรมแสงสู่ภาคเอกชน
พันธกิจ
- มุ่งสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีแสงในด้านต่างๆ เช่น การเกษตร การแพทย์ การศึกษา การส่งออก และอุตสาหกรรมการผลิต
- ถ่ายทอดงานวิจัยสู่มือผู้ใช้งาน ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อสังคมและเศรษฐกิจ
- สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานรัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรมแบบก้าวกระโดด
เทคโนโลยีหลัก
- เทคโนโลยีแสงด้านเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ตรวจวัด
- เทคโนโลยีประมวลผลภาพด้านแสงขั้นสูง
- เทคโนโลยีแสงด้านอุปกรณ์และเส้นใยนำแสง
- เทคโนโลยีแสงชีวภาพ หรือ ไบโอโฟโทนิกส์
- เทคโนโลยีแสงนาโน หรือ นาโนโฟโทนิกส์
ผลงานเด่น
MuEye – มิวอาย : เทคโนโลยีกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา ที่มีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน
- รุ่นเลนส์พอลิเมอร์ เพื่อการใช้งานในโรงเรียน มีความทนทานกับการใช้งานในสภาพอากาศร้อนชื้น ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน
- รุ่นโรโบคิด เชื่อมต่อกับบอร์ดคิดไบร์ท และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ของสไลด์ตัวอย่าง และใช้มอเตอร์เพื่อปรับโฟกัสได้
- รุ่นกำลังขยายสูง ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ได้รับการออกแบบให้ใช้งานภาพสนามได้ดี รองรับการใช้งานกำลังขยายเทียบเท่ากล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติแบบ 400 เท่า
ทุกรุ่นที่พัฒนาขึ้นสามารถนำข้อมูลภาพถ่ายเข้าฐานข้อมูลของทีมวิจัยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ต่อยอดงานวิจัยในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook Fanpage: MuEye
ZpecSen – สเปกเซนส์ : เครื่องสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพาที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน ได้รับออกแบบให้สามารถใช้งานได้กับสมาร์ทโฟนทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ติดตั้งสะดวก ใช้งานง่ายผ่าน ZpecSen mobile app โดยใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ IOS
ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ โดยมาพร้อมกับ 2 ช่องการตรวจวัด ที่ช่วยให้ตรวจวัดวัตถุโปร่งแสง 2 ชนิดได้พร้อมกัน หรือตรวจวัดแหล่งกำเนิดแสงชนิดต่าง ๆ
สามารถแสดงข้อมูลเชิงแสงผ่านกราฟสเปกตรัมในรูปแบบความเข้มแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดและแม่นยำ อีกทั้งสเปกเซนส์ยังมีความสอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเสริมสร้างประสบการณ์กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาให้แก่นักเรียนได้มากยิ่งขึ้นโดยผ่านการปฏิบัติจริง
ข้อมูลเพิ่มเติม Zpecsen Channel
Perovskite X-ray screens : วัสดุนาโนที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถเปลี่ยนรังสีเอ๊กซ์เป็นแสงที่ตามองเห็นได้ มีคุณสมบัติทางแสงเฉพาะที่เหมาะแก่การนำมาขึ้นรูปเป็นจอรับภาพรังสีเอ็กซ์
ปัจจุบันทีมวิจัยสามารถเตรียมวัสดุนาโนประเภทนี้ได้จากโครงสร้างเพอรอฟสไกต์ที่ประกอบด้วยธาตุบิสมัท ทองแดงและกำลังพัฒนาวัสดุนาโนที่มีโครงสร้างต่างๆกัน เพื่อให้ได้คุณสมบัติทางแสงที่เหมาะสมกับงาน โดยวัสดุต้นแบบที่เตรียมได้ในห้องปฏิบัติสามารถให้ภาพเบื้องต้นจากรังสีเอ็กซ์ได้และทีมวิจัยกำลังพัฒนาต่อไปเพื่อให้สร้างจอรับภาพรังสีเอ็กซ์เพื่อประยุกต์ใช้งานด้านการแพทย์ การเกษตรต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม Optica Publishing Group
รางวัล
- 2016 The National Research Council of Thailand (NRCT) Excellent Invention Award- Honorable Award (MuEyes)
ผลงานตีพิมพ์ (ย้อนหลัง 7 ปี)
- Worakit Naewthong, Waridsaraporn Juntapo, Ratthasart Amarit, Kamonchanok Duangkanya, Sarun Sumriddetchkajorn, Thiti Rungseesumran, Natthaporn Kamwang, Yaowaluk Tariwong, Jakrapong Kaewkhao, and Atcha Kopwitthaya, “Rubidium copper chloride scintillator for X-ray imaging screen,” Opt. Mater. Express 12, 308-316 (2022)
- Worakit Naewthong, Waridsaraporn Jantapo, and Atcha Kopwitthaya “Synthesis of copper halide nanocrystals and their optical properties”, Proc. SPIE 11903, Nanophotonics and Micro/Nano Optics VII, 1190304 (2021)
- Ratthasart Amarit, Atcha Kopwitthaya, Prasit Pongsoon, Ungkarn Jarujareet, Kosom Chaitavon, Supanit Porntheeraphat, Sarun Sumriddetchkajorn, Taweesak Koanantakool, “High-Quality Large-Magnification Polymer Lens from Needle Moving Technique and Thermal Assisted Moldless Fabrication Process,” PLoS ONE, 11(1), 1–11 (2016)
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- รัฐศาสตร์ อัมฤทธิ์ วิศวกรวิจัย/หัวหน้าทีมวิจัย: Optical sensor, Biosensor, Optical design
- สถาพร จันทน์หอม วิศวกรอาวุโส : Mechanical System, Mechanical Design, Prototyping and Part
- อัชฌา กอบวิทยา นักวิจัย: Nanophotonics , Optical materials, Biophotonics
- อังคาร จารุจารีต นักวิจัย: Microrheology, Particle sizing, Image processing and analysis, Digital holography
- น้ำฝน เข็มทองเจริญ ผู้ช่วยวิจัย: Biosensors, Molecular Diagnosis, Biomedical Optics
- วรกิจ แนวทอง ผู้ช่วยวิจัย: Optical materials, Nanophotonics
- พงษ์สกุล ศรีเพชร ผู้ช่วยวิจัย: Electronics, Optical design, Programming
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กล้องจุลทรรศน์มิวอาย (MuEye)
- MuEye RoboKid : มิวอายโรโบคิด
- นักวิจัยเนคเทคพา “MuEye” คว้ารางวัลผลงานวิจัย พสวท. รุ่นใหม่ 62 ประเภทนวัตกรรมดีเยี่ยม
- หนังสือ “เปิดโลกมิวอาย” ตอน ครัชเตเชียนตัวน้อย
- ZpecSen จากสเปกโตรมิเตอร์แบบพกพา สู่สื่อการสอนเรื่องแสงและสเปกตรัม
- ZpecSen : สเปกโตรมิเตอร์สำหรับมือถือ (mobile spectrometer)
ติดต่อ
ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)
กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล : pht[at]nectec.or.th
โทร. : (+66)2-564-6900 ต่อ 2104, 2353
https://www.facebook.com/PhotonicsNectec/