ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน หรือ Smart Machine and Mixed Reality (SMR) เป็นทีมวิจัยทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งแนวโน้มเครื่องจักรกลในอนาคตจะมีความฉลาดมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) อยู่เบื้องหลัง เครื่องจักรกลเหล่านี้จะสามารถทำงานที่ซับซ้อนที่เครื่องจักรแบบเดิมไม่สามารถทำได้ ประกอบกับการที่โลกกำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหรือหุ่นยนต์ในงานต่าง ๆ มากขึ้น
ที่ผ่านมาทีมวิจัย SMR มีโครงการวิจัยหุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Inspection Vehicle : GIV) ที่ได้พัฒนาร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และถูกใช้งานในกิจการของ กฟผ. อยู่ในปัจจุบัน ทางทีมวิจัย SMR ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ Smart Factory เช่น Mobile Robot และ Inspection Robot ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0
นอกจากนี้เทคโนโลยีอีกประเภทที่มีแนวโน้มจะใช้งานมากในอนาคตคือ เทคโนโลยีวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) ทั้งในส่วนของระบบเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) และการประสานระหว่างโลกจริงกับระบบเสมือน (Augmented Reality : AR) เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ การนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเทคโนโลยีวิศวกรรมดิจิตอลเข้ามาทำงานร่วมกันจะสามารถช่วยให้ระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ดีขึ้น
สารบัญ
วิสัยทัศน์
เป็นทีมวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านการพัฒนาระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างต้นแบบที่มีนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
พันธกิจ
- ดำเนินการวิจัย พัฒนา และออกแบบวิศวกรรม ในโจทย์ทางด้านหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรม 4.0 และวิศวกรรมดิจิทัล
- ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางด้านระบบอัตโนมัติ ที่ถูกนำไปใช้ได้จริงและสามารถอยู่ได้ในท้องตลาด
- สนับสนุนการทำงานของศูนย์นวตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) เพื่อช่วยผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีหลัก
- เทคโนโลยีหุ่นยนต์บริการ (Service Robot) เน้นหุ่นยนต์สำหรับงานเชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Service robot for professional use)
- เทคโนโลยี Machine Vision และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)
- เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual and Augmented Reality)
- เทคโนโลยี 3D Inspection Robot
- เทคโนโลยี Autonomous Mobile Robot
ผลงานเด่น
- ต้นแบบภาคอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รุ่นที่ 1 (2558) และ 2 (2563)
- ต้นแบบภาคอุตสาหกรรม ชุดฝึกอบรบขับรถเกี่ยวนวดข้าวและรถขุด ด้วยเทคโนโลยี VR (2561)
- ต้นแบบภาคอุตสาหกรรม อัลกอริธึมวางแผนสำหรับซอฟต์แวร์ระบบบริหารอะไหล่กังหันก๊าซ (2557)
- ต้นแบบภาคอุตสาหกรรม ซอฟท์แวร์ระบบบริหารการตัดเหล็กเส้นในอุตสาหกรรมก่อสร้างระยะที่ 1 และ 2 (2555, 2561)
- ต้นแบบเชิงพาณิชย์ เครื่องย้อมสไลด์อัตโนมัติรุ่นที่ 1 และ 2 (2557, 2560)
- ต้นแบบภาคอุตสาหกรรม ระบบควบคุมเครื่องกัดและเครื่องกลึงอัตโนมัติในการศึกษา (2553)
- ต้นแบบภาคสนาม UAV ตรวจไฟป่า (2563)
บุคลากรและความเชี่ยวชาญ
- ดร.กิตติพงศ์ เอกไชย : Optimization, Man-Machine Interface, Neural Network
- ดร.วุฒิภัทร คอวนิช : Reconfigurable manufacturing system, Digital Real-Time Control System, Machine Vision
- ดร.พิเชษฐ์ บุญหนุน : Augmented Reality, Machine Vision, Digital Real-Time Control System, Robot Operating System
- นายวุฒิกร เชาว์ประมวลกุล : Motion Control System, CNC & PLC System, Embedded Programming
- นายอุดม โกมินทร์ : Automated Manufacturing System, Multi-Axis Motion control, Fuzzy Systems, Adaptive Control, Robot Control
- นายประกอบ โกเมศวรากุล : Embedded System, Modbus RTU
- ดร. อภิสิทธิ์ ตันตระวรศิลป์ : Robot Design, Embedded System
- ดร. พงศกร สีขาว : Man-Machine Interface, Motion Control, Channel Coding in Communications
- ดร. สิริชัย นิธิอุทัย : Machine Design , Robot Control
- นายภานุพันธ์ ขวัญสุด : Wiring, SCH & PCB Design, CAD/CAM Design
- ดร. เชิดศักดิ์ กิ่งก้าน : Deep Learning, Signal Processing, Machine Vision
- ดร. ธีศิษฏ์ ลีลาสวัสดิ์สุข : Image Processing, Machine Vision, Pattern Recognition, Gaze Detection
- นายวิทย์วศิน วิมลมงคลพร (ลาศึกษาต่อ) : Mechanical Design, Virtual Reality
- นายพิเชษฐ พุดซ้อน : Man-Machine Interface
- นายศตวรรษ ปราการเจริญ : Mechanical Design
- นายราชันย์ ไชยหาญ : Mechanical Design, Embedded System
- นายศักย์ปณชัย เกศสิชาปกรณ์ : Robot Operating System, SLAM
ติดต่อ
ทีมวิจัยสมองกลอัจฉริยะและความจริงเสมือน (SMR)
กลุ่มวิจัยระบบอัจฉริยะ (INSRG)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
อีเมล : smr[at]nectec.or.th