21 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมทีมบริหาร เยี่ยมชมผลงาน สวทช.ในงาน The 43rd Bangkok International Motor Show 2022 (รอบ V.I.P) โดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค และ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) พร้อมนักวิจัยให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอผลงาน
mcTEST แท่นทดสอบวัดคุณสมบัติมอเตอร์
“mcTest” ย่อมาจาก “Machine Characteristic Test” ซึ่งเป็นแท่นทดสอบวัดคุณลักษณะของมอเตอร์ไฟฟ้า โดยสามารถหาพารามิเตอร์ต่างๆ ของมอเตอร์ได้ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างค่าฟลักซ์สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากับค่ากระแสไฟฟ้า (Flux-linkage vs Current) ค่าความเหนี่ยวนำกับค่ากระแสไฟฟ้า (Inductance vs Current), ค่าแรงบิดกับมุมควบคุม (Torque vs Control angle) รวมทั้งสามารถหามุมเริ่มต้นที่ใช้สำหรับติดตั้งชุดเซ็นเซอร์วัดตำแหน่งได้ ซึ่งขณะนี้แท่นทดสอบสามารถทดสอบได้ 3 ชนิด ประกอบด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดซิงโครนัสแบบใช้แม่เหล็กถาวร (Permanent magnet synchronous motor PMSM) มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดซิงโครนัสรีลักแตนซ์ (Synchronous reluctance motor SynRM) มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดซิงโครนัสรีลักแตนซ์แบบใช้แม่เหล็กถาวร (Permanent magnet assisted synchronous reluctance motor PMA-SynRM)
HIL การทดสอบซอฟต์แวร์และการให้บริการ Hardware in the loop
การทดสอบ Hardware-in-the-loop โดยการจำลอง Hardware-in-the-loop (HIL) เป็นวิธีการทดสอบฟังก์ชันการรวมระบบและการสื่อสารของชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) อย่างละเอียดในสภาพแวดล้อมจำลอง ตัวอย่างเช่น ECU ที่เชื่อมต่อถึงกันหรือส่วนที่เหลือของรถอาจยังไม่พร้อมใช้งาน แต่ฟังก์ชันของ ECU ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาจะต้องได้รับการทดสอบโดยเร็วที่สุดในสภาพแวดล้อมจริง วิธีแก้ไขคือ การจำลองสภาพแวดล้อมทางเทคนิคของ ECU และชิ้นส่วนระบบที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยระบบไฟฟ้าและแบบเรียลไทม์