|
ธูปฤาษี |
ผักตบชวา |
การผลิตกระดาษ |
|
การป้องกันธูปฤาษี
การป้องกันธูปฤาษี เป็นวิธีการที่จะไม่ให้มีวัชพืชเข้ามาปะปนอยู่ในพื้นที่
หรือทำลายให้หมดสิ้นไปจากพื้นที่นั้น หรือให้เหลือน้อยที่สุด โดยที่ไม่ไปมีผลทำให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกในพื้นที่นั้นลดลง
มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี และควรจะต้องใช้หลายๆ วิธีการร่วมกันในการป้องกันธูปฤาษี
คือ
เป็นการลดปริมาณวัชพืชแล้วยังทำให้ดินโปร่งร่วนขึ้น
การควบคุมโดยวิธีเขตกรรม (cultural control)
การไถพรวน เป็นการเตรียมดิน เตรียมพื้นที่ปลูกพืชในขณะเดียวกันก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปพร้อมๆ
กัน การไถพรวนควรกระทำสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อไถพรวนแล้ว ตากแดดทิ้งไว้ให้เศษของธูปฤาษีแห้งตาย
แต่เมล็ดจะสามารถงอกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งได้ จึงทำให้ทำการพรวนดินอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำจัดเมล็ดวัชพืชที่งอกขึ้นมาในภายหลัง
การใช้วัสดุคลุมดินโดยใช้เศษพืชหญ้าแห้งที่ปราศจากเมล็ดมาปกคลุมแปลงปลูก
หรือบริเวณโคนต้นของไม้ผล วัสดุคลุมดินจะบดบังแสงแดด ทำให้ธูปฤาษีไม่สามารถเจริญเติบโตได้
การทดน้ำและการระบายน้ำ (water management)
ในพื้นที่มีสามารถควบคุมระดับน้ำได้ อาจใช้วิธีการปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่งจะทำให้ธูปฤาษีตาย
แล้วจึงค่อยระบายน้ำออกจากแปลง แต่ถ้าเป็นวัชพืชน้ำก็ต้องระบายน้ำออกจากแปลงให้หมด
ปล่อยให้ธูปฤาษีแห้งตายไปแล้วจึงทดน้ำเข้าแปลงตามปกติ
การจัดการระบบปลูกพืช โดยการจัดปลูกพืชในระบบหมุนเวียน
หรือใช้วิธีการปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซมเป็นการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของธูปฤาษี
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่สะอาดปราศจากเมล็ดของธูปฤาษี
ควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และอาจจะทำความสะอาดหรือตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำเมล็ดพืชไปหยอด
หรือหว่านในแปลงปลูก
ดินผสมหรือวัสดุผสมที่นำมาจากแหล่งอื่นๆ ควรระมัดระวังอย่าให้มีวัชพืชปะปนมาด้วยหรือการซื้อกิ่งพันธุ์ไม้ผลที่ชำในถุงหรือในกระถาง
ควรทำการกำจัดวัชพืชให้หมดก่อนนำลงปลูกในแปลง
ปุ๋ยคอกที่ใช้จะต้องผ่านการหมักอย่างดี และปราศจากเมล็ดธูปฤาษี
น้ำที่ใช้ในการเกษตร หรือเพื่อให้น้ำแก่พืชที่ปลูกควรเป็นน้ำที่สะอาด
ปราศจากเมล็ดพืช
การออกกฎหมายควบคุมวัชพืช (legislative control)
โดยการห้ามนำเข้าธูปฤาษี หรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะมีเมล็ดธูปฤาษี หรือมีวิธีการทำลายเมล็ดธูปฤาษีเหล่านั้นเสียก่อน
โทษหรือความเสียหายที่เกิดจากวัชพืช
เกิดความเสียหายต่อการเกษตรกรรม ทำให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตลดลง
เพราะวัชพืชแก่งแย่งน้ำ ธาตุอาหาร แสงแดด และแก่งแย่งพื้นที่สำหรับการเจริญเติบโต
เป็นอุปสรรคในการทดระบายน้ำเพื่อการชลประทาน ธูปฤาษีทำให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานในสวน
ในไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ลำบากเป็นอุปสรรคในการลำเลียงผลผลิต และธูปฤาษียังเป็นที่อยู่อาศัยของโรค
และแมลงศัตรูพืช เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ
ความเสียหายด้านการประมง เนื่องจากวัชพืชทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน
รากและซากธูปฤาษีทับถมกันแน่น สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ และเมื่อทับถมไปนานๆ
จะทำให้เกิดน้ำเสีย น้ำเน่า ขาดออกซิเจน สัตว์น้ำก็จะตาย
ความเสียหายทางด้านป่าไม้ การปลูกป่าจะให้พื้นที่ขนาดใหญ่
อุปสรรคสำคัญคือ ธูปฤาษีขึ้นแก่งแย่งน้ำธาตุอาหารและขึ้นปกคลุมพืชปลูก ทำให้พืชปลูกตายไป
นอกจากนี้ธูปฤาษีจะแห้งเมื่อถึงฤดูแล้ง เป็นเชื้อไปเป็นสาเหตุของไฟป่าได้เป็นอย่างดี
|
|