<% CurrentDay=Now CurrentDay=DatePart("d", currentday) CurrentWeekday=Weekday(Now) temp=CurrentDay mod 7 FirstWeekday=CurrentWeekday-temp If (FirstWeekday) >= 0 Then FirstWeekday=FirstWeekday+1 Else FirstWeekday=FirstWeekday+8 End If CurrentMonth=Month(Now) CurrentYear=Year(Now) %>

รูปโลโก้การผลิตกระดาษจากธูปฤาษีและผักตบชวา

ค้นหาคำว่า :  
     หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
ธูปฤาษี
- ถิ่นกำเนิด
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน,ควบคมและกำจัด
- การนำไปใช้ประโยชน์
ผักตบชวา
- ถิ่นกำเนิด
- ลักษณะทางพฤษศาสตร์
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน
- สาเหตุ, การป้องกันการระบาด
- การกำจัด
- ประโยชน์
- การนำมาใช้ประโยชน์
การผลิตกระดาษ
- กระดาษจากธูปฤาษี
- กระดาษจากผักตบชวา
- การฟอกขาววิธีต่างๆ
- ปัญหาในการทำ
- วัสดุอุปกรณ์

      ผักตบชวา (Eichhornia crassipes) เป็นพืชที่เจริญอยู่บนผิวน้ำ จัดเป็นประเภทลอยน้ำ (floating plant) โดยปกติรากจะไม่ยึดติดกับพื้นดิน จึงถูกกระแสลมหรือน้ำพัดพาไปได้ไกลๆ แต่ถ้าน้ำตื้นแล้ว รากจะหยั่งยึดติดกับพื้นดินได้ ลักษณะทรงต้น ประกอบด้วยกลุ่มของใบเรียงกันเป็นกระจุก ในต้นหนึ่งๆ จะมีใบตั้งแต่สองใบขึ้นไป ที่โคนก้านใบจะมีกาบใบ (sheath) ลักษณะเป็นเยื่อบางๆ สีขาวแกมเขียวอ่อนๆ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล บริเวณของกาบใบ เป็นสีน้ำตาลแกมม่วง จะเชื่อมติดต่อกันโดยมีไหล (stolon) ซึ่งเป็นลำต้นที่ทอดไปตามผิวน้ำช่วยในการขยายตัวของผักตบชวาให้เพิ่มขึ้น ต้นหนึ่งๆ ของผักตบชวาจะมีไหลแตกออกไปได้หลายอัน เมื่อไหลแตกออกไปแล้ว ก็จะเจริญขึ้นเป็นต้นใหม่ แต่ยังติดกับต้นเดิมอยู่และเกิดเป็นกอขึ้น พร้อมทั้งมีรากเกิดขึ้น รากของผักตบชวาเป็นแบบรากฝอย (fibrous root) คือ มีรากย่อยๆ เป็นกระจุก รากที่แทงออก จะมีลักษณะอวบ สีขาว เมื่อมีอายุมาขึ้นจึงจะมีรากขนอ่อน (root hair) ที่มีสีน้ำตาลอ่อน และเมื่อแก่ รากขนอ่อนนี้จะเป็นสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ ความยาวของรากจะแตกต่างกันไป บางเส้นก็ยาวเกือบถึงหนึ่งเมตร (60-90 ซม.)
     ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว (simple leaf) ประกอบด้วย แผ่นใบ (blade) และก้านใบ (petiole) แผ่นใบมีลักษณะคล้ายรูปไต (reniform) หรือคล้ายรูปหัวใจ (cordate) มักมีความกว้างมากกว่ายาว หรือเกือบจะเท่าๆ กัน เมื่อยังอ่อน ปลายใบมักจะมน แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ปลายใบจะแหลม มีสีเข้มขึ้น ขอบใบเรียบ ระบบส้นใบ (venation) ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและอาหาร เป็นแบบเส้นใบขนาน ก้านใบมีลักษณะกลม เรียบ อวบน้ำถ้าต้นผักตบชวาเจริญอยู่ห่างๆ กัน ลำต้นจะเล็กและก้านใบมักจะพองออกเป็นทุ่นลอยน้ำ (ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า buoyancy leaf) แต่ถ้าผักตบชวาเจริญอยู่ในที่เบียดชิดกันมาก โดยเฉพาะในน้ำนิ่ง ก้านใบจะไม่พอง นอกจากนั้น ก้านใบยังยาวมาก บางแห่งพบว่ายาถึงหนึ่งเมตรก็มี การเกิดใบอ่อน จะเกิดตรงกลางกอ โดยแผ่นใบของใบอ่อนจะม้วนหุ้มรอบโคนก้านใบใกล้เคียง และมีากบใบบางใหุ้มรอบอีกทีหนึ่ง ปลายกาบใบนี้ จะมีลักษณะคอดแล้วบาน ขอบหยักเล็กน้อย เป็นเยื่อบางๆ เมื่อใบอ่อนโตขึ้น ก้านใบก็จะยายขึ้น ดันกาบใบที่ห่อหุ้มนั้นออก แผ่นใบก็จะค่อยคลี่เป็นอิสระจากโคนก้านใบเดิม ในระยะแรกใบจะมีสีเขียวอ่อน ต่อไปจะมีสีเขียวเข้มขึ้น กาบใบนั้นก็จะคงติดอยู่ตรงโคนก้านใบ

       ดอก ผักตบชวามีดอกสีฟ้าสวยงามมาก ดอกออกเป็นช่อ ไม่มีก้านดอก (spike) ในช่อหนึ่งๆ จะมีจำนวนดอกแตกต่างกันไป ถ้าช่อดอกเล็ก ก็จะมีดอกประมาณ 4-5 ดอก ถ้าช่อดอกใหญ่ อาจจะมีจำนวนดอกเพิ่มขึ้นจนถึง 60 ดอก ช่อดอกจะเกิดบริเวณกลางๆ ต้นการเกิดของช่อดอก มีลักษณะคล้ายกับการเกิดใบ คือที่โคนก้านจะมีกาบใบบางๆ หุ้มไว้และที่ปลายก้านมีแผ่นใบเล็กๆ เกิดขึ้นด้วย ช่อดอกจะเจริญมาจากโคน ก้านใบเล็กๆ นี้ โดยที่ใบครึ่งแรกจะมีกาบใบบางๆ หุ้มช่อดอกไว้ที่หนึ่ง และมีกาบใบอีกอันหุ้มโคนก้านใบไว้ เมื่อช่อดอกเจริญขึ้น ก้านช่อดอกจะค่อยๆ ยาว พองใหญ่ขึ้น ทำให้ภายในที่หุ้มก้านช่อดอกกับก้านใบขาดออก และเมื่อก้านช่อดอกเจริญมากขึ้น ก็จะดันกาบใบด้านในขาด ก้านช่อดอก (peduncle) ก็แทงชูช่อดอกเจริญโผล่ขึ้นมาก โดยมีใบเล็กๆ ที่ปลายก้านใบ และภายในทำหน้าที่เป็นใบประดับ (bract) รองรับช่อดอกอีกทีหนึ่ง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วดอกมักจะบานพร้อมกันหมดทั้งช่อ โดยจะค่อยๆ บานตั้งแต่แสงอาทิตย์เริ่มส่องแสง แล้วก็จะบานเต็มที่เมื่อแสงแดดส่องจ้า ดอกจะบานเพียง 1 วัน หลังจากนั้น กลีบดอกก็จะหุบเหี่ยวขดเป็นเกลียว แล้วก้านช่อดอกก็จะโค้งงอลงสู่พื้นน้ำ ผักตบชวาต้นหนึ่งๆ จะมีดอกได้หลายช่อ โดยจะทะยอยกันออกดอก ดอกแต่ละดอก ประกอบด้วยกลีบดอก 9perianth) 6 กลีบ ปลายกลีบแยกเป็นแฉก มีขนาดแตกต่างกัน ส่วนโคนกลีบจะติดกันเป็นหลอด (tube) มีสีเขียว หลอดนี้จะติดไปถึงก้านช่อดอก ส่วนกลีบรวมนั้น จะเป็นสีม่วงอ่อน มีกลีบอันหนึ่งซึ่งอยู่ตรงกาล ขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น มีแต้มสีเหลืองทับอยู่บนสีม่วง ทำให้ดอกมีสีสันสวยงามมาก นอกจากนี้ ยังมีเกสรตัวผู้ (stamen) 6 อัน สั้น 3 ยาว 3 ติดอยู่ที่ตอนล่างของกลีบดอก อับเกสรตัวผู้ (anther) มีสีเหลือ ส่วนเกสรตัวเมีย (pistil) มีส่วนตรงปลายเรียกว่า stigma มีสีม่วงอ่อน อยู่บนก้าน (style) ต่อมากจากรังไข่ (ovary) ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอก (superior ovary) รังไข่นี้เมื่อได้รับการผสมแล้ว จะเจริญขึ้นเป็นผล แต่ตามปกติแล้วในสภาพแวดล้อมในประเทศไทยมักจะไม่ค่อยพบว่า มีการผสมของดอกผักตบชวา จึงไม่ค่อยพบเมล็ด (seed) ผักตบชวา ในกรณีที่มีการผสม เมล็ดมีขนาดเล็กมาก สีน้ำตาลเข้ม
     หลังจกาที่ดอกบานได้ 48 ชั่วโมง และไม่มีแมลงมาช่วยผสมเกสร จะเกิดการผสมตัวเอง หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ เมล็ดเล็กๆ สีดำจะแก่ และก้านช่อดอกจะโค้งงอลงเบื้องล่าง เมื่อกระเปาะผลแตก เมล็ดก็จะหลุดลงสู่พื้นท้องน้ำ ในเนื้อที่ 1 ไร่ จะมีเมล็ดตกในโคลนตมใต้พื้นน้ำถึง 18 ล้านเมล็ด และสามารถรักษาความงอกอยู่ได้นานถึง 15 ปี เพราะฉะนั้น ภายใต้พื้นน้ำของดินแดนต่างๆ ที่เคยมีผักตบชวาขึ้นอยู่อาจจะมีเมล็ดผักตบชวาสะสมอยู่นับเป็นพันล้านเมล็ด รอคอยที่จะงอกจากเมล็ดเป็นต้นอ่อนเมื่อถึงคราวจำเป็น

กระทรวงต่างๆ ที่ควรรู้
- กระทรวงกลาโหม -
www.mod.go.th

- กระทรวงการคลัง -
www.mof.go.th

- กระทรวงการต่างประเทศ -
www.mfa.go.th

- กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา -
www.mots.go.th

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ -
www.m-society.go.th

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ -
www.moac.go.th

- กระทรวงคมนาคม -
www.mot.go.th

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -
www.monre.go.th

- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -
www.mict.go.th

- กระทรวงพลังงาน -
www.energy.go.th

- กระทรวงพาณิชย์ -
www.moc.go.th

- กระทรวงมหาดไทย -
www.moi.go.th

- กระทรวงยุติธรรม -
www.moj.go.th

- กระทรวงแรงงาน -
www.mol.go.th

- กระทรวงวัฒนธรรม -
www.culture.go.th

- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -
www.most.go.th

- กระทรวงศึกษาธิการ -
www.moe.go.th

- กระทรวงสาธารณสุข -
www.moph.go.th

- กระทรวงอุตสาหกรรม -
www.industry.go.th

  หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
Copyright 2004. All rights reserved