|
ธูปฤาษี |
ผักตบชวา |
การผลิตกระดาษ |
|
การใช้ประโยชน์
การที่ผักตบชวาเป็นพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นอย่างเดียวล้วนๆ
ทำให้ลู่ทางในการนำไปใช้ประโยชน์มีมาขึ้น เพราะมีปริมาณมาก และเกิดทดแทนส่วนที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว
การลอยน้ำได้ของผักตบชวา
ช่วยให้การเก็บเกี่ยวง่ายขึ้นโดยเฉพาะถ้ามีลม หรือกระแสน้ำ ช่วยพัดพามายังสถานที่ที่ตั้งอุปกรณ์การเก็บเกี่ยว
หากเป็นในแม่น้ำลำคลอง การขึงลวดสลิงติดทุนลอยขวางลำน้ำให้เป็นมุมลู่มาทางที่ตั้งเครื่องเก็บเกี่ยว
ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวไปได้มาก อีกทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้ผักตบชวาลอยต่อไปยังอ่างเก็บน้ำหรือแหล่างอื่น
แล้วไปขยายพันธุ์ในที่ซึ่งกว้างขวางยากแก่การกำจัด
เราอาจจะนำผักตบชวามาใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
อาหารสัตว์ |
ปุ๋ย |
เพาะเห็ด |
เครื่องถักสาน |
ทำก๊าซหุงต้ม |
ช่วยแก้น้ำเสีย |
ทำแท่งเพาะชำ |
|
อาหารสัตว์ โดยปกติ ปศุสัตว์หลายชนิดกินผักตบชวาอยู่แล้ว
กล่าวคือ วัว ควาย แพะ แกะ หินผักตบชวาที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งตามธรรมชาติ ปลาบางชนิดกินผักตบชวาในน้ำ
หมูกินผักตบชวาที่ผู้เลี้ยงเก็บมาต้มให้กิน
สัตว์เหล่านี้ จะช่วยกำจัดผักตบชวาให้ลดน้อยลงได้ และเรายังได้ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม เจ้าของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ไม่ควรปลูกเลี้ยงผักตบชวาในที่สาธารณะ
เพราะเป็นการช่วยส่งเสริมการแพร่กระจายของผักตบชวาไปในที่ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตาม
พรบ. สำหรับกำจัดผักตบชวาอีกด้วย ในปัจจุบัน
ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา มีการนำผักตบชวาไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์โดยการบดเอาน้ำออก
อบให้แห้ง แล้วอัดเป็นเม็ดแบบเดียวกับมันสำปะหลังเม็ด ผักตบชวาแห้งมีโปรตีน
11.15% ซึ่งนำว่าสูงพอสมควร
ปุ๋ย ผักตบชวามาตุโปแตสเซียมอยู่มากเป็นพิเศษ ส่วนธาตุในโตรเจนและฟอสฟอรัส
ก็มีพอสมควรและขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่
เราอาจจะนำผักตบชวาไปทำปุ๋ยได้ 32 วิธี คือ
(1) ปล่อยให้แห้ง แล้วเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชปลูก
ซึ่งมีข้อได้เปรียบตรงที่ไม้ต้องขนหนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด
(2) ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ฯลฯ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก
นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน
กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ
ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา (ผสมดิน) มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1%
โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน
ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
(3) ทำวัสดุคลุมดิน โดยกานำผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน
ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
เพาะเห็ด ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดี วิธีที่เหมาะที่สุดก็คือ
ใช้ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน สลับกับฟางข้าว 1 ส่วน ควรใช้ลังไม้เป็นแบบในการกองเห็ด
ขนาดของลังประมาณ 30 x 30 x 50 ซม. เพื่อความสะดวกในการยกกองเห็ดออกจากลัง
ควรทำลังไม้เป็น 2 ส่วน ไม่มีฝาบนและล่าง แล้วประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้สายยูเกี่ยว
วางลังที่ประกอบแล้วลงบนแผ่นไม้
วางผักตบชวาแห้งที่แช่น้ำให้ชุ่มลงในลัง เป็นชั้นสูงประมาณ 10 ซม. แล้วกดให้แน่น
โรยเชื้อเห็ดตามริม (ลึกเข้าไปประมาณ 2-3 ซม.) วางฟางข้าวที่แช่น้ำให้ชุ่มเป็นชั้น
แบบเดียวกับชั้นผักตบชวา แล้วโรยเชื้อเห็ดด้วยวิธีเดียวกัน วางผักตบชวาและฟางข้าวสลับชั้นเช่นนี้จนกระทั่งถึงปากลัง
ด้านบนโรยเชื้อเห็ดทั้งหมด กองหนึ่งใช้เชื้อเห็ดประมาณครึ่งกระป๋อง (กระป๋องละ
3 บาท) จากนั้นก็แกะไม้แบบลังออก ยกกองเห็ดเข้าไปไว้ในที่อับลมและชื้น เช่นใต้ถุนบ้าน
เพื่อช่วยให้เห็ดมีความชื้นมากๆ ควรทำที่กำบังลมโดยใช้แผงจาก แฝก หรือแผ่นพลาสติกกั้น
รักษาให้ความชื้นอยู่เสมอ จะเกิดดอกเห็ดทั้งด้านข้าสี่ด้านและด้านบนประมาณวันที่
7 ปริมาณเห็ดที่เกิดบนได้ประมาณกองละ 1 กิโลกรัม ซากผักตบชวาและฟางข้าวที่เก็บเห็ดไปหมดแล้ว
ใช้เป็นปุ๋ยหมักหรือวัสดุคลุมดินได้เป็นอย่างดี การกองเห็ดกองขนาดนี้จะใช้เวลาไม่เกิน
10 นาที หากสามารถทำได้ทุกวันๆ ละกองจะมีเห็ดฟางรับประทานวันละ 1 กิโลกรัม
ถ้าหากรับประทานไม่หมด ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาเฉลี่ยประมาณกิโลกรัม
15 บาท โดยลงทุนค่าเชื้อเห็ดเพียง
1.510 บาท หรือได้กำไรถึง 10 เท่า
|
|