<% CurrentDay=Now CurrentDay=DatePart("d", currentday) CurrentWeekday=Weekday(Now) temp=CurrentDay mod 7 FirstWeekday=CurrentWeekday-temp If (FirstWeekday) >= 0 Then FirstWeekday=FirstWeekday+1 Else FirstWeekday=FirstWeekday+8 End If CurrentMonth=Month(Now) CurrentYear=Year(Now) %>

รูปโลโก้การผลิตกระดาษจากธูปฤาษีและผักตบชวา

ค้นหาคำว่า :  
     หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
ธูปฤาษี
- ถิ่นกำเนิด
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน,ควบคมและกำจัด
- การนำไปใช้ประโยชน์
ผักตบชวา
- ถิ่นกำเนิด
- ลักษณะทางพฤษศาสตร์
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน
- สาเหตุ, การป้องกันการระบาด
- การกำจัด
- ประโยชน์
- การนำมาใช้ประโยชน์
การผลิตกระดาษ
- กระดาษจากธูปฤาษี
- กระดาษจากผักตบชวา
- การฟอกขาววิธีต่างๆ
- ปัญหาในการทำ
- วัสดุอุปกรณ์

ปัญหาที่เกิดจากผักตบชวา
ผักตบชวา ก่อให้เกิดปัญหาแก่วงการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ เช่น การชลประทานการไฟฟ้าพลังนั้น การประมง การกสิกรรม การสาธารณสุข ฯลฯ ดังต่อไปนี้

การชลประทาน
การไฟฟ้าพลังน้ำ
การกสิกรรม
การประมง
การสาธารณสุข
การคมนาคมทางน้ำ

การชลประทาน

จุดมุ่งหมายสำคัญของงานชลประทานในประเทศไทย คือ การพัฒนาแหล่งน้ำโดยการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ประโยชน์หลายๆ อย่าง โดยวิธีการต่างๆ กัน
ผักตบชวาทำให้การพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลเต็มตามเป้าหมายเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ลดการไหลของน้ำลงประมาณ 40%
- ส่วนต่างๆ ของผักตบชวาที่จมลงใต้น้ำก่อให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝาย ประตูระบาย และอื่นๆ ทำให้ทางเดินของน้ำเกิดการตื้นเขินเร็วกว่าปกติ และทำให้เกิดน้ำท่วมในหน้าน้ำ
- การระเหยของน้ำในที่ซึ่งมีผักตบชวาจะสูงกว่าในที่ซึ่งไม่มีผักตบชวา ประมาณ 3-8 เท่า

การไฟฟ้าพลังน้ำ

ผักตบชวาก่อให้เกิดปัญหาสำคัญในการผลิตไฟฟ้าพลังนั้นดังต่อไปนี้
- ลดปริมาณน้ำจากการที่ผักตบชวาตายทับถมกัน ทำให้อ่างเก็บน้ำตื้นเขิน
- เพิ่มอัตราการระเหยน้ำ ทำให้น้ำหมดไปโดยเปล่าประโยชน์อย่างรวดเร็ว
- แย่งเนื้อที่การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ ทำให้เก็บรักษาน้ำได้น้อยลง

การกสิกรรม ปัญหาที่เกิดกับการกสิกรรม คือ

- แย่งน้ำและอาหารจากพืชปลูก ซึ่งควรจะได้รับมากขึ้นจากการชลประทานหากไม่มีผักตบชวาอยู่ในแหล่งน้ำ
- ผักตบชวาที่ลอยมากับกระแสน้ำก่อให้เกิดปัญหาแก่นาข้าวขึ้นน้ำ เพราะผักตบชวาจะลอยมาทับต้นข้าว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นข้าว
- แพผักตบชวาที่ไหลมาตามน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ศัตรูพืชานาชนิด เช่น หนูซึ่งมีปริมาณมาก เมื่อแพผักตบชวาไปติดที่ใด หนูและศัตรูอื่นๆ ก็ทำความเสียหายแก่พืชผลของเกษตรกร
- ทำให้การพัฒนาแหล่งน้ำได้ผลไม่เต็มตามเป้าหมาย เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการกสิกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกสิกรปลูกพืชลงไปแล้ว และหวังว่าจะได้รับน้ำจากการชลประทาน แต่ผักตบชวาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้กสิกรไม่ได้รับน้ำตามที่คาดไว้เป็นเหตุให้พืชผลเสียหาย

การประมง ปัญหาของผักตบชวาที่มีต่อการประมง คือ

- ผักตบชวาที่ขึ้นหนาแน่นเป็นอุปสรรคแก่การเจริญเติบโตของปลาและการจับปลาผักตบชวาไม่เพียงแต่ลดผลผลิตของปลาเท่านั้น แต่ปลาที่จับได้ยังมีขนาดเล็กลงด้วย
- ปริมาณผักตบชวาที่ลอยอยู่อย่างหนาแน่นบนผิวน้ำ จะทำให้แสงสว่างในน้ำลดลง เป็นผลให้พืชอาหารปลาขนาดเล็ก (ไฟโตแพลงตอน –Phytoplankton) มีปริมาณน้อยลง ไฟโตแพลงตอนนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนในน้ำ ซึ่งจำเป็นแก่การหายใจของปลาและสัตว์น้ำทุกชนิด
- ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินจึงไปลดที่อยู่อาศัยของปลา
- พื้นน้ำที่มีผักตบชวาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและน้ำไม่มีการไหล จะมีปลาหรือสัตว์น้ำอาศัยอยู่น้อยกว่าปกติ

การสาธารณสุข ผักตบชวามีส่วนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุข ดังนี้

- เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำซึ่งบางชนิดเป็นพาหะนำโรค เช่น หอยชนิดหนึ่ง (หอยไบธีเนีย –Bithynia) ซึ่งเป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ในตับ
- เป็นที่อาศัยของลูกน้ำของยุงนำโรคเท้าช้าง ลูกน้ำของยุงชนิดนี้สามารถปากเจาะไชรากผักตบชวาเพื่อใช้เป็นที่หายใจ นอกจากนั้น น้ำที่ค้างตามซอกใบก็เป็นที่อาศัยวางไข่ของยุงอื่นๆ
- เมื่อขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ผักตบชวาเป็นตัวการทำให้การกำจัดหอย (ซึ่งเป็นพาหะสำคัญในการนำโรค) โดยการใช้ยากำจัดเป็นไปได้โดยยากและสิ้นเปลืองมาก เนื่องจากผักตบชวาจะดูดยาไว้ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือมีน้อยจนไม่สามารถจะทำอันตรายกับหอยได้ นอกจากนั้น ผักตบชวายังเป็นตัวกันไม่ให้ยาถูกพ่นลงในน้ำได้สะดวก ดังนั้น การใช้ยาในการกำจัดหอยจึงต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่คนและสัตว์อื่นๆ
- เป็นที่อาศัยสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อราษฎร เมื่อแพผักตบชวาลอยไปติดเรือนแพ หรือท่าน้ำ หรือในการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการใช้แรกงานดึงขึ้นจากน้ำ นอกจากนั้น หนูที่อาศัยอยู่บนแพผักตบชวา ก็อาจแพร่เชื้อโรคกาฬโรคได

การคมนาคมทางน้ำ

     ผักตบชวาเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการสัญจรทางน้ำในคลองบางแห่ง เช่น คลองรังสิตเขตที่ติดต่อกับแม่น้ำในและแม่น้ำนอก จังหวัดนครนายก การสัญจรทางน้ำในหน้าน้ำเป็นไปได้ยาก ไม่วาจะเป็นเรือที่มีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม คลองธรรมชาติบางแห่ง เช่น คลองสามจุ่น ในเขตโครงการสามชุก จังหวัดอุทัยธานี มีผักตบชวาขึ้นหนาแน่นปะปนกับต้นลำเจียก ปิดกั้นการสัญจรทางน้ำโดยเด็ดขาด แม้แต่ในแม่น้ำใหญ่ๆ บางสาย เช่น แม่น้ำสะแกรัง จังหวัดอุทัยธานี ในบางฤดูก็มีผักตบชวาอยู่อย่างหนาแน่น
การท่องเที่ยว ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา มนุษย์มักจะเลือกทำเลใกล้แหล่งน้ำเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างเต็มที่ ในปัจจุบันผู้ที่ไม่มีโอกาสได้พำนักอยู่ในที่ใกล้ๆ น้ำ ก็มักจะนิยมไปท่องเที่ยวในแหล่งที่มีน้ำ สถานที่ที่มีแหล่งน้ำใหญ่ เช่น บึงบอระเพ็ด กว๊านพะเยา ทะเลสาบสงขลาและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เป็นสถานที่ที่มีประชาชนมักจะไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ถ้าสถานที่เหล่านนี้มีผักตบชวาขึ้นอยู่หนาแน่นแล้ว การที่จะพัฒนาให้สถานที่นั้นๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็เป็นไปได้ยาก เพราะผักตบชวามีส่วนทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำนั้นๆ นอกเหนือไปจากการรบกวนกิจกรรมอื่นๆ ในขณะพักผ่อนหย่อนใจแหล่งน้ำนั้นๆ เช่น การลงเรือท่องเที่ยว การว่ายน้ำ ตกปลา ฯลฯ
เศรษฐกิจและสังคม ผักตบชวามีส่วนก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น เมื่อการพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลเต็มตามเป้าหมาย การเพาะปลูกซึ่งอาศัยน้ำก็ย่อมจะได้ผลผลิตน้อยกว่าที่ควร รายได้ลดลง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แผนพัฒนาประเทศไม่ได้ผลตามความมุ่งหมาย สำหรับความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น ในประเทศไทยยังไม่มีการคำนวณออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กรมประมง และเทศบาลท้องถิ่นต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีละหลายสิบล้านบาท เฉพาะกรมชลประทานเพียงหน่วยงานเดียวซึ่งได้งบประมาณสำหรับการกำจัดวัชพืชน้ำประมาณปีละ 4 ล้านบาท ต้องใช้จ่ายงบประมาณไปในการกำจัดผักตบชวาถึง 60% หรือประมาณ 2.4 ล้านบาท

     ในด้านความเดือดร้อนรำคาญที่ราษฎรได้รับอันเนื่องมาจากสาเหตุของผักตบชวา ก็ไม่สามารถจะประมาณเป็นตัวเงินได้ ดังตัวอย่างเช่นในกรณีที่ผู้อยู่อาศัยอยู่ตามเรือแพในแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี ต้องประสบกับความเดือดร้อนจากปัญหาผักตบชวาเป็นประจำ โดยเฉพาะในหน้าน้ำ ทำให้การสัญจรทางน้ำเป็นไปโดยความยากลำบาก และบางครั้ง เมื่อแพผักตบชวาลอยมาปะทะกับเรือนแพ อาจทำให้เรือนแพนั้นพังเสียหายหรือถูกดันออกสู่กระแสน้ำได้ ในกรณีของโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายจากสัตว์ร้ายอันมีสาเหตุมาจากผักตบชวาก็เช่นเดียวกันที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธรณสุขแก่ราษฎร์เป็นอันมาก

กระทรวงต่างๆ ที่ควรรู้
- กระทรวงกลาโหม -
www.mod.go.th

- กระทรวงการคลัง -
www.mof.go.th

- กระทรวงการต่างประเทศ -
www.mfa.go.th

- กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา -
www.mots.go.th

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ -
www.m-society.go.th

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ -
www.moac.go.th

- กระทรวงคมนาคม -
www.mot.go.th

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -
www.monre.go.th

- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -
www.mict.go.th

- กระทรวงพลังงาน -
www.energy.go.th

- กระทรวงพาณิชย์ -
www.moc.go.th

- กระทรวงมหาดไทย -
www.moi.go.th

- กระทรวงยุติธรรม -
www.moj.go.th

- กระทรวงแรงงาน -
www.mol.go.th

- กระทรวงวัฒนธรรม -
www.culture.go.th

- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -
www.most.go.th

- กระทรวงศึกษาธิการ -
www.moe.go.th

- กระทรวงสาธารณสุข -
www.moph.go.th

- กระทรวงอุตสาหกรรม -
www.industry.go.th

  หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
Copyright 2004. All rights reserved