|
ธูปฤาษี |
ผักตบชวา |
การผลิตกระดาษ |
|
การควบคุม
(control)
การควบคุมเป็นการกระทำที่ลดการรบกวนแก่งแย่งแข่งขันของธูปฤาษีในการปลูกพืช
หรืออีกนัยหนึ่งคือลดผลเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องควบคุมให้สมบูรณ์ถึง
100 เปอร์เซ็นต์ แต่ทำเพียงระดับที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้น
การทำลาย (eradication)
เป็นการทำลายให้หมดสิ้น ซึ่งหมายถึงการทำให้ส่วนต่างๆ ของธูปฤาษีรวมทั้งส่วนต่างๆ
ทั้งหมดให้หมดสิ้นในพื้นที่นั้นๆ การทำลายธูปฤาษีให้หมดสินไปจากพื้นที่นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายไปที่อื่น
และป้องกันการเพิ่มขยายพันธุ์ในพื้นที่เดิมด้วย วิธีการทำลายอาจกระทำให้ได้หลายแบบ
เช่นการใช้เครื่องจักรกล การใช้สารเคมี
วิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช
การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล (mechanical control)
การป้องกันกำจัดโดยวิธีเขตกรรม (cultural control)
การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี (biological control)
การป้องกันกำจัดโดยการใช้สารเคมี (chemical control)
การป้องกันกำจัดโดยวิธีการผสมผสาน (integrated control)
การป้องกันกำจัดธูปฤาษีนั้นมีการกระทำมาตั้งแต่โบราณ โดยแต่เดิมนั้นได้มีการทำแบบง่ายๆ
อันได้แก่กำจัดโดยใช้มือถอนโดยตรง จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาในการใช้สารมีกันอย่างแพร่หลาย
การควบคุมโดยการใช้สารเคมี (chemical control) เป็นวิธีการที่สะดวกและประหยัดแรงงานซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดธูปฤาษีมีหลายประเภท พอจำแนกได้ดังนี้คือ
จำแนกตามลักษณะการใช้ แบ่งเป็น
1. สารเคมีที่ใช้ก่อนปลูกพืช (pre-plating) ใช้ฉีดพ่นเพื่อทำลายต้นธูปฤาษีโดยตรง
2. สารเคมีที่ใช้ก่อนการงอก (pre-emergence) ใช้ฉีดเพื่อควบคุมไม่ให้เมล็ดวัชพืชงอก
หรือฉีดขณะที่วัชพืชกำลังงอก และพืชปลูกเองก็ยังไม่งอกหรือเริ่มงอก
3. สารเคมีที่ใช้ภายหลังการงอก (post-emergence) ใช้ฉีดพ่นภายหลังจากที่ธูปฤาษีงอกเป็นต้นอ่อนหรือต้นมีขนาดโตแล้วก็ได้
จำแนกตามลักษณะการเข้าทำลายของสารเคมี แบ่งป็น
1. การฉีดพ่นให้ทางใบ (foliar application) ใช้พ่นไปที่ใบและลำต้นให้ทั่วโดยตรงการเข้าทำลายจะมี
2 ลักษณะคือ แบบสัมผัส หรือถูกส่วนใดจะทำลายส่วนนั้น (contact-herbicide) อีกลักษณะหนึ่งคือ
เป็นสารดูดซึมที่มีการดูดซึมเข้าสู่ภายในต้นพืช และลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ที่สำคัญของธูปฤาษี
แล้วออกฤทธิ์ทำลายให้วัชพืชตายในภายหลัง (system icherbicide)
2. การให้สารเคมีทางดิน (soil application) ฉีดสารเคมีลงดินเพื่อให้ธูปฤาษีดูดเข้าลำต้นทางราก
และออกฤทธิ์ทำลายในเวลาต่อมา
ข้อดีของการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
1. ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกฤดูกาล
2. ลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน
3. ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินได้
4. สามารถควบคุมไม่ให้ธูปฤาษีงอกในพื้นที่ได้
5. ปลอดภัยต่อระบบรากของพืชปลูก
ข้อเสีย
1. ต้องลงทุนซื้อเครื่องพ่นสารเคมี ซึ่งบางชนิดมีราคาแพง
2. ต้องมีความรู้ในการใช้ และวิธีการป้องกันอันตายจากสารเคมี
3. สารเคมีบางชนิดมีผลตกค้าง เป็นพิษต่อคน สัตว์เลี้ยง และสภาพแวดล้อม
4. การควบคุมวัชพืชโดยวิธีชีวภาพ (biological control) เป็นวิธีการควบคุมและกำจัดธูปฤาษีโดยอาศัยศัตรูทางธรรมชาติ
เช่น แมลง โรค หรือสัตว์บางชนิดซึ่งกัดกิน หรือทำลายวัชพืชต่างๆ ได้
|
|