<% CurrentDay=Now CurrentDay=DatePart("d", currentday) CurrentWeekday=Weekday(Now) temp=CurrentDay mod 7 FirstWeekday=CurrentWeekday-temp If (FirstWeekday) >= 0 Then FirstWeekday=FirstWeekday+1 Else FirstWeekday=FirstWeekday+8 End If CurrentMonth=Month(Now) CurrentYear=Year(Now) %>

รูปโลโก้การผลิตกระดาษจากธูปฤาษีและผักตบชวา

ค้นหาคำว่า :  
     หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
ธูปฤาษี
- ถิ่นกำเนิด
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน,ควบคมและกำจัด
- การนำไปใช้ประโยชน์
ผักตบชวา
- ถิ่นกำเนิด
- ลักษณะทางพฤษศาสตร์
- การสืบพันธุ์
- ผลเสีย
- การป้องกัน
- สาเหตุ, การป้องกันการระบาด
- การกำจัด
- ประโยชน์
- การนำมาใช้ประโยชน์
การผลิตกระดาษ
- กระดาษจากธูปฤาษี
- กระดาษจากผักตบชวา
- การฟอกขาววิธีต่างๆ
- ปัญหาในการทำ
- วัสดุอุปกรณ์

การกำจัดด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช (Chemical Control)

การกำจัดผักตบชวาด้วยสานเคมีกำจัดวัชพืช (ซึ่งเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า หรือ Herbicide) เป็นที่นิยมกันมากโดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการกำจัดแบบอื่น แต่การใช้สารเคมีช่วยกำจัดวัชพืชน้ำอย่างผักตบชวานั้น ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้ในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องราวทางวิทยาการวัชพืชและนิเวศวิทยาแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อมได้โดยง่าย ดังนั้น การอบรมให้ความรู้แก่ผู้มีหน้าที่กำจัดผักตบชวาโดยวิธีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจึงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการกำจัดผักตบชวาด้วยสารเคมี
ชนิดของสารเคมีกำจัดวัชพืช ที่นิยมให้เพื่อกำจัดผักตบชวา และอัตราการใช้ที่เหมาะสม มีดังต่อไปนี้
      ก. ประเภทคลอโรฟีนอคซี (Chlorophenoxy) สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทคลอโรฟีนอคซีนี้ มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทอื่นตรงที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของพืชได้ จึงทำให้สามารถออกฤทธิ์กำจัดผักตบชวาได้ดีและมีประสิทธิภาพสูง ประกอบกับผักตบชวามีลักษณะการเจริญเติบโตแบบเดียวกับพืชที่มีอายุหลายปี กล่าวคือ มีการเจริญเติบโตทางส่วนของลำต้นที่สามารถผลิตเหง่าเพื่อขยายพันธุ์ได้มากมาย ซึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทอื่นที่ไม่มีคุณสมบัติในการเคลื่อนตัวไปตามส่วนต่างๆ ของผักตบชวาได้ จะไม่สามารถออกฤทธิ์กำจัดผักตบชวานี้ได้สมบูรณ์ หรือได้ผลเป็นที่น่าพอไจเท่าสารเคมีประเภทฟีนอคซี
      สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทคลอโรฟีนอคซี เป็นสารเคมีที่มีจำหน่วยแพร่หลายที่ไปในท้องตลาด ชนิดที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ชนิด คือ
          (1) ทู โฟ-ดี (2, 4-D : 2, 4-dichlorophenoxy acetic acid)
          (2) เอมซีพีเอ (MCPA : 2-methyle-4-chlorophenoxy acetic acid)
          (3) ทู โฟ โฟว์-ที (2, 4, 5-T : 2, 4, 5-trichlorophenoxy acetic acid)
ทู โฟ-ดี และเอมซีพีเอ นั้น มีจำหน่ายใจรูปของเกลือโซเดียม โปแตสเซียม อมีน หรือเอสเทอร์เป็นส่วนใหญ่ ส่วน ทู โฟ ไฟว์-ที นั้น ส่วนมากอยู่ในรูปของสารละลายเข้มข้น (emulsifiable concentrate)
      ข. ประเภทกลัยโฟเสต (Glyphosate:N-(phosphonomethyl giycine)
สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นสารเคมีชนิดใหม่ล่าสุดที่มีคุณสมบัติและมีแนวโน้มที่สามารถนำมากำจัดผักตบชวาได้เมือน ทู โฟ- ดี ทั้งนี้เนื่องจากสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้มีคุณสมบัติที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของพืชได้เช่นเดียวกับ ทู โฟ-ดี นั่นเอง เนื่องจากสารเคมีประเภทนี้ไม่มีฤทธิ์ตกค้างแต่อย่างใด จึงทำให้การใช้ปลอดภัยมากกว่า ทู โฟ-ดี
อัตราที่นิยมใช้อยู่ระหว่าง 0.18-0.36 กก. ของสารออกฤทธิ์ (ai)/ไร่ เนื่องจากสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นสารใหม่ จึงมีราคาสูงกว่า ทู โฟ-ดี
      ค. ประเภทไบไพริดิล (Bipyridyl)
สารเคมีกำขัดวัชพืชประเภทไบไพริดิล เป็นสารเคมีที่ทำลายผักชวาได้เช่นเดียวกับทู โฟ-ดี สารนี้จะเข้าสู่วัชพืชอย่างรวดเร็ว จากนั้นปฏิกิริยาในการทำลายวัชพืชจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และผักตบชวาจะถูกฆ่าตามภายใน 2-3 วัน ปฏิกิริยาจะสินสุดลงในระยะเวลาอันสั้น และจะไม่พบผลตกค้างหลังจากการใช้ยาแล้ว 10 วัน อีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในแหล่งน้ำนั้น
สารเคมีกำจัดวัชพืชประเภทไบไพริดิล มีจำหน่ายในประเทศไทยนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
      (1) ไดควอต (diquat)
      (2) พาราควอต (paraquat)
สำหรับพาราควอตนั้นเป็นยากำจัดวัชพืช ที่มีราคาถูกและใช้กันแพร่หลายในการกำจัดวัชพืชทั่วไป
ชนิดที่ 2 มีราคาถูกและใช้สำหรับกำจัดวัชพืชทั่วไป พาราควอตสามารถใช้กำจัดผักตบชวาได้ดี อาจใช้ผสมกับ ทู โฟ-ดี สำหรับอัตราใช้ของสารเคมีชนิดนี้คือ 400 ซีซี. ของผลิตภัณฑ์ (ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ 20%) ผสมน้ำ 80 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่
ถ้าหากต้องการให้การกำจัดได้ผลดีขึ้น ก็อาจใช้ ทู โฟ-ดี (เกลือโซเดียม) อัตรา 200 กรัมของผลิตภัณฑ์ผสมเข้าด้วยกันกับพาราควอตในอัตราดังกล่าว
ในการพ่นสารเคมีกำจัดผักตบชวานั้น เครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนหลักการในการคำนวณปริมาณสารเคมี ก็เป็นเช่นเดียวกับการพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชบนพื้นดินนั่นเอง กล่าวคือ ยังยึดหลักขชองการคำนวณสารเคมีที่จะใช้ต่อหน่วยพื้นที่ที่ต้องการฉีดเป็นหลักนั่นเอง

ข้อควรระวัง

      แม้ว่าการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชจะเป็นวิธีการที่งาย ประหยัด สะดวก และมีประสิทธิภาพที่สุดในบรรดาวิธีการกำจัดผักตบชวาทั้งหลาย แต่ก็พึงสังวรในเรื่องต่อไปนี้
      (1) สารเคมีทุกชนิด ไม่ว่าจะมีขีดความปลอดภัยในการใช้ต่อผู้ใช้เอง ต่อชีวิตของสัตว์น้ำ และระบบนิเวศวิทยาสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ปลอดภัยถึง 100% โดยเฉพาะหากผู้ใช้ไม่ได้ศึกษาวิธีการอย่างถูกต้องเสียก่อน
      (2) ก่อนใช้ ควรศึกษาปัญหาที่แท้จริง และสภาพแวดล้อมตลอดจนประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดวัชพืช อัตราการใช้ วิธีการผสม วิธีการฉีดพ่น ความคงทนของสารเคมี ตลอดจนความเป็นพิษต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
      (3) ในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ ควรคิดอยู่เสมอว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ถ้าเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้บริโภค อย่าได้ใช้วิธีกำจัดโดยการใช้สารเคมีเป็นอันขาด หากมีพืชปลูกอื่นๆ เช่น บัว กระจับ ข้าว ฯลฯ ขึ้นอยู่ในแหล่งน้ำเดียวกัน ก็อย่าใช้วิธีนี้เพราะพืชเหล่านี้อาจจะพลอยถูกทำลายไปด้วย ถ้าการใช้ไม่ถูกต้อง ในการฉีดพ่น ควรระวังอย่าให้สารเคมีปลิวไปถูกวัชพืช ปลูกอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง
      (4) ควรพิจารณาถึงความจำเป็นรีบด่วนในการจัด ปริมาณของผักตบวาและปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายประกอบในการตัดสินใจเลือกวิธีทางเคมี โปรดระลึกอยู่เสมอว่าสารเคมีกำจัดวัชพืชทุกชนิด เรายังผลิตเองไม่ได้ จึงจำต้องเสียเงินตราต่างประเทศสั่งเข้ามาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ซากของผักตบชวาที่ถูกทำลายจะจมลงใต้พื้นน้ำ และค่อยๆ สลายตัว ระหว่างการสลายตัวนั้น จะทำให้ก๊าซออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง ถ้าการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นไปอย่างกว้างขวาง การขาดออกซิเจนจะรุนแรงจนทำให้ปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ ตายได้ทั้งๆ ที่สารเคมีนั้นๆ ไม่ได้เป็นพิษต่อชีวิตสัตว์ทั้งหลายเลย

กระทรวงต่างๆ ที่ควรรู้
- กระทรวงกลาโหม -
www.mod.go.th

- กระทรวงการคลัง -
www.mof.go.th

- กระทรวงการต่างประเทศ -
www.mfa.go.th

- กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา -
www.mots.go.th

- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ -
www.m-society.go.th

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ -
www.moac.go.th

- กระทรวงคมนาคม -
www.mot.go.th

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -
www.monre.go.th

- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -
www.mict.go.th

- กระทรวงพลังงาน -
www.energy.go.th

- กระทรวงพาณิชย์ -
www.moc.go.th

- กระทรวงมหาดไทย -
www.moi.go.th

- กระทรวงยุติธรรม -
www.moj.go.th

- กระทรวงแรงงาน -
www.mol.go.th

- กระทรวงวัฒนธรรม -
www.culture.go.th

- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -
www.most.go.th

- กระทรวงศึกษาธิการ -
www.moe.go.th

- กระทรวงสาธารณสุข -
www.moph.go.th

- กระทรวงอุตสาหกรรม -
www.industry.go.th

  หน้าแรก   |   ธูปฤาษี   |   ผักตบชวา   |   การผลิตกระดาษ   |   ติดต่อเรา   |   แหล่งข้อมูล
Copyright 2004. All rights reserved