ปรัชญาการศึกษา

ญาณวิทยา
เป็นศาสตร์ว่าด้วยรูปแบบของความรู้ พัฒนาการ และขอบเขตของความรู้

   

               กลุ่มที่ ๒ เรื่อง ญาณวิทยา รายงาน ๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ สมาชิกกลุ่ม๑. นายรังสรรค์ กลิ่นแก้ว รหัส ๔๗๑๒๕๔๐๐๖๒ โทร. ๐๖-๘๙๑-๕๓๘๑ ๒. นายพจน์ เสือรัมย์ รหัส ๔๗๑๒๕๔๐๐๘๗ โทร. ๐๗-๐๔๒-๓๙๙๘ ๒. นายวีระชัย นาสารีย์ รหัส ๔๗๑๒๔๔๐๐๘๐ โทร. ๐๖-๕๕๗-๘๒๘๕ ๔. นายนรินทร์ วงศ์คำจันทร์ รหัส ๔๗๑๒๔๔๐๑๘๗ โทร. ๐๙-๐๒๖-๒๖๕๓

               รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา ปรัชญาการศึกษา (EF 603) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗

               ญาณวิทยา (Epistemology)

               ความหมายของญาณวิทยา

               ทฤษฎีบ่อเกิดของความรู้     

                 -  เหตุผลนิยม (Rationalism)

                 - ประจักษ์นิยม (Empiricism)          

                 -  เพทนาการนิยม (Sensationism)

                 - อนุมานนิยม (Apriorism)

                 - อัชฌัตติกญาณนิยม (Intuitionism)

               ทฤษฎีธรรมชาติของความรู้

                 - จิตนิยม (Idealism)

                 - สัจนิยม (Realism)

                 - ปฏิบัตินิยม (Pragmatism)

               ทฤษฎีธรรมชาติของความรู้

               ๑.  จิตนิยม (Idealism)

               เป็นความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของปรัชญาเริ่มมีมนุษย์ สามารถเข้าใจปรากฏการณ์ของธรรมชาติมีความเชื่อว่า ธาตุอันดำรงอยู่อย่างแท้จริงมีลักษณะเป็นวิญญาณ เป็นแนวความคิดที่ได้มาจาก จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) ปรับปรุงแนวความคิดของประจักษ์นิยมเป็นจิตนิยมเชิงอัตวิสัย (Subjective Idealism) สสารที่ล็อกพูดถึงเป็นเพียงการรวมตัวของคุณสมบัติแท้และคุณสมบัติประกอบเข้าด้วยกัน แท้จริงเป็นเพียงสิ่งที่จิตรับรู้หรือเห็นว่ามีอยู่เท่านั้น สิ่งทั้งหมดเป็นเพียงภาวะจิตรับรู้ มิได้มีอยู่อย่างแท้จริง ที่เห็นว่าสิ่งภายนอกทั้งหมดมิได้มีอยู่อย่างแท้จริง จึงเรียกว่าจิตนิยมเชิงอัตวิสัย ไม่ยอมรับว่าคุณสมบัติที่แท้จริงของวัตถุ เช่น การกินเนื้อที่กับคุณสมบัติประกอบของวัตถุ เช่น สี ของวัตถุเป็นคนละสภาวะ เพราะทั้งสองอย่างต่างก็เป็นเพียงการรับรู้ของจิต และสสาร (วัตถุ) หรือสิ่งที่อยู่เหนือการรับรู้เป็นความเพ้อฝัน เพราะจะยอมรับความมีอยู่ของสิ่งที่อยู่เหนือการสัมผัสได้อย่างไร สิ่งที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้มีสภาพเป็นจิตหรือสิ่งที่จิตสร้างขึ้นทั้งหมด จิตนิยมเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ความคิดมากกว่าข้อเท็จจริง จิตนิยมแบ่งออกเป็น ๓ สาขา

                  ๓.๑  จิตนิยมเชิงอัตวืสัย (Subjective Idealism) เชื่อว่าสิ่งที่เรารู้ทั้งปวงขึ้นอยู่กับจิตตัวเอง นักปรัชญา คือ จอร์จ เบริคเลย์

                  ๓.๒  ปรากฏกาณ์นิยม (Phenomenalism) เชื่อว่าความรู้ที่เป็นไปได้นั้น คือ ควมรู้ที่เกี่ยว กับปรากฏการณ์เท่านั้น วัตถุเป็นสิ่งเดียวกันกับปรากฏการณ์ความมีอยู่ของวัตถุ และคุณสมบัติของวัตถุจึงขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ หรือการที่ถูกรู้ สิ่งที่ปรากฏในสภาพที่ปรากฏการณ์ของสิ่งนั้นนั่นเเอง คือวัตถุนั้นหรือสิ่งนั้น ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นหรือสิ่งนั้นเป็นความรู้ตรงและขึ้นอยู่กับการคิดของจิต นักปรัชญา คือ อิมมานูเอล คานท์

                 ๓.๓  จิตนิยมเชิงปรวิสัย (Objective Idealism) เชื่อว่าวัตถุทุกชนิดเป็นจริงด้วยตัวของมันเอง แต่ไม่เป็นอิสระจากจิตโดยสิ้นเชิง วัตถุมิได้เป็นอิสระจากจิต คือ ต้องมีจิตเป็นพื้นฐานในการรู้วัตถุ แต่ในขณะเดียวกันถ้าไม่มีจิตรับรู้วัตถุ วัตถุก็มีอยู่และอยู่อย่งที่มันเป็น นักปรัชญา คือ จอร์จ วิลเฮลมไฟร์ดริช เฮเกล

               ๒. สัจนิยม (Realism) เชื่อว่าผัสสะหรือประสบการณ์มีส่วนเข้าถึงความจริง สิ่งที่รู้โดยตรงจากประสบการณ์นั้นไม่ขึ้นอยู่กับจิตของผู้รับรู้ คือ จิตของผู้รับรู้ไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของความจริงสิ่งที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัส ความจริงก็เป็นอย่างนั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพที่ปรากฏกับสภาพที่เป็นจริง อาจมีบางอย่างประสาทสัมผัสไม่ได้ เพราะประสาทสัมผัสมีขอบเขตจำกัดในการรับรู้ บางครั้งต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัส เพื่อให้รู้ความจริงมากขึ้น เช่น แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ สัจนิยมเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ความมีอยู่ของวัตถุว่าเป็นจริง สัจนิยมแบ่งออกเป็น ๓ สาขา คือ

                    ๒.๑  สัจนิยมแบบผิวเผิน (Native Realism) เชื่อว่าความจริงเป็นเอกเทศในตัวมันเองไม่ ขึ้นกับการรับรู้ของจิตหรือผู้รู้ ไม่ว่าจะมีใครไปรับรู้มันหรือไม่ มันก็คงมีอยู่ตามปกติของมัน และปรากฏต่อประสาทตามที่เป็น ความรู้เกิดจากการที่จิตถ่ายแบบหรือลอกแบบสิ่งภายนอกพร้อมทั้งคุณภาพทุกอย่าง ความเป็นจริงของแต่ละสิ่งอย่างไรสามารถถ่ายแบบได้หมด ขนาด สี รูปร่าง เสียง อุณหภูมิ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณภาพ (Quality) ที่มีจริงของวัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น

                      ๒.๒  สัจนิยมแบบตัวแทน (Representative) เชื่อว่าไม่สามารถเข้าถึงความจริงโดยตรง แต่เข้าถึงด้วยข้อมูลอันเป็นตัวแทนของความจริง นักปรัชญา คือ ล็อก ล็อก ได้กล่าวว่า การรับรู้ (Perception) โลกภายนอกโดยผ่านทางมโนคติ (Idea) มโนคติคือตัวแทนนของวัตถุซึ่งไม่มีอยู่จริงในจิตมนุษย์ แต่เป็นภาพถ่ายโลกภายนอก แต่รับรู้โลกภายนอกโดยตรงไม่ได้สิ่งรู้ได้คือมโนคติ มีได้ ๒ ทาง คือ ประสาทสัมผัส (Sensation) คือการรับรู้ข้อมูลจากภายนอก เช่น นัยน์ตาเห็นดอกกุหลาบ (ข้อมูลภายนอก) มโนคติของดอกกุหลาบเกิดขึ้นในจิต สิ่งที่รับรู้จึงไม่ใช่ดอกกุหลาบแต่เป็นมโนคติของดอกกุหลาบ การไตร่ตรอง (Reflection) เป็นการทำงานของจิต เช่น มโนคติเกิดจากการรับรุ้ (เห็น) ดอกกุหลาบย่อมชัดเจนว่าการนึกถึงดอกกุหลาบ การไตร่ตรองเป็นข้อมูลภายใน ซึ่งจะเกิดไม่ได้หากไม่ผ่านประสาทสัมผัสมาก่อน เช่น ถ้าไม่เคยเห็นดอกกุหลาบมาก่อนจะไม่สามารถนึกถึงดอกกุหลาบได้

                      ๒.๓  สัจนิยมใหม่ (Pragmatism) เชื่อว่า ทั้งประสบการณ์และเหตุผลต่างมีส่วนเข้าถึง ความจริง ดังนั้น มาตรการตัดสินความจริงควรเกิดจากการประนีประนอมความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ นักปรัชญาได้แก่ จอร์จ เอดเวิด มัวร์ (George Edward Moore) กล่าวว่า มนุษย์สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยตรงรับรู้อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพความเป็นจริงกับสภาพที่ปรากฏ เช่น รับรู้ว่าดอกกุหลาบสีแดง ในความเป็นจริงดอกกุหลาบก็สีแดงแบบเดียวกับที่รับรู้

               ๓. ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) เชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ความคิดเป็นเครื่องมือของการกระทำ ความคิดที่เอาไปใช้ไม่ได้ก็เป็นสิ่งไร้ความหมาย การรู้ การจำ และจินตนาการก็คือ การปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งมีอยู่ในจิต หรือเป็นเพียงถ่ายแบบความจริงเท่านั้น แต่เป็นสิ่งมีการพัฒนาการไปตามพัฒนาการของชีวิต เห็นว่าขณะที่ไม่รู้โครงสร้างของมนัส (ความคิด) จึงควรยึดประสิทธิภาพในการปฏิบัติไปก่อน นักปรัชญามี ๓ ท่าน ได้แก่ ชาเลส แชนเดอร์ เพิร์ส (Charles Sanders Peirce) เชื่อว่าประสิทธิภาพเป็นตัว กำหนดความจริงกำหนดวิธีรู้ก่อนแล้วจึงจะรู้ว่าอะไรจริง คือ วิธีวิทยาศาสตร์ ได้เสนอทฤษฎีความหมาย (Theory Of Sign) ถือว่าทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีตรรกวิทยา (Logic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่าพฤติกรรมเป็นเพียงส่วนเสริมของคามหมาย คุณสมบัติต่าง ๆ อันเป็นวัตถุวิสัยเป็นแกนของความหมาย และเห็นว่าควรมีภาษาที่เป็นมาตรฐานสำหรับมนุษย์ทุกคน วิลเลียม เจมส์ (William James) เชื่อว่ามนุษย์ควรยึดความคิดของตนเองในแง่ที่ เห็นว่าจะมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากที่สุด จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นนักปฏิบัตินิยมแบบอุปกรณ์นิยม (Instrumentalism) เพราะสอนว่ามนัส (ความคิด) ของมนุษย์ฉลาดขึ้นโดยการปฏิบัติ ขึงสรุปเป็นวิธีสอนว่า เรียนโดยการปฏิบัติ (Learning By Doing) ความจริงอยู่ที่ประสิทธิภาพของการใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือฝึก เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ มีทัศนะว่า โลกและสิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งทีมีอยู่จริง ความรู้ได้มาจากประสบการณ์ไม่ใช่สิ่งที่ ไหลเข้ามาทางจิต หรือเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้แก่จิต แต่จิตของเราเป็นตัวดำเนินการในการับรู้ การเข้าใจ การคิด และการเชื่อ เป็นต้น

              ญาณวิทยา  เป็นเรื่องที่ศึกษาลักษณะเด่นของความเป็นมนุษย๋ที่เหนือกว่าสัตว์ประเภทอื่น คือ รู้จักคิด ทำให้มนุษย์มีความรู้ มีสติปัญญา จนสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าไปไกลกว่าสัตว์ในทุก ๆ ด้าน นี่คือภารกิจญาณวิทยา ญาณวิทยาจึงเป็นปรัชญาบริสุทธิ์ เพราะการที่จะรู้เข้าใจความจริง (อภิปรัชญา) ได้นั้นก็ต้องอาศัยญาณวิทยาสืบค้นหาความจริงทำการศึกษาวิเคราะห์เรื่องของความรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่น บ่อเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ เป็นต้น


ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษา




โดย




นายรังสรรค์ กลิ่นแก้ว รหัส ๔๗๑๒๕๔๐๐๖๒



รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา

ปรัชญาการศึกษา (EF 603)

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗





คำนำ


รายงานฉบับนี้ใช้ประกอบการเรียนวิชาปรัชญาการศึกษา EF 603 (EF 603) ได้จัดทำรวบรวมและเรียบเรียงความหมาย ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย ลักษณะและประเภทขององค์ความรู้ไทย แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ๔ ภูมิภาค ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา การนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา จากหนังสือหลายเล่ม เพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์ของวิชาปรัชญาการศึกษามากที่สุด

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปไม่มากก็น้อย ถ้ามีสิ่งผิดพลาดขอรับไว้แต่ผู้เดียว กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้แก้ไขต่อไป ขอขอบคุณ รศ. พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ อาจารย์ผู้สอนที่ให้คำแนะนำให้รายงานเสร็จเรียบร้อยมา ณ โอกาสนี้

                                                                ด้วยความปรารถนาดี

 

                                                                รังสรรค์  กลิ่นแก้ว                                                                                

                                                            (นายรังสรรค์ กลิ่นแก้ว)

                         นักศึกษาสาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

                                                             ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗

สารบัญ


เรื่อง หน้า


ความหมาย ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย ๑

ลักษณะและประเภทขององค์ความรู้ไทย ๒

แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยใน ๔ ภูมิภาค ๓

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา ๘

การนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ๙

ความหมาย ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย

ความหมายของภูมิปัญญาไทย หมายถึงพื้นเพรากฐานของความรู้ของท้องถิ่นที่ได้ความรู้จากการดำเนินชีวิต และสามารถสืบทอดภูมิปัญญาของพวกเขาต่อ ๆ มาได้โดยตลอด เป็นเรื่องสั่งสมกันมาแต่อดีต และเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างตนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม คนกับเหนือธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิตการทำมาหากินและพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกอย่างเพื่อให้เดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป้าหมายก็คือเพื่อให้เกิดความสงบสุขทั้งในส่วนที่เป็นชุมชนหมู่บ้าน และในส่วนที่เป็นปัจเจกชนของชาวบ้านเอง เกิดจากการสะสมการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเชื่อมโยงกันไปหมดทุกสาขาวิชา ความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมา ทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา กระบวนการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคล ซึ่งอยู่ในท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุขสอดคล้องสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย มวลความรู้ และมวลประสบการณ์ของชาวบ้านที่ใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข โดยได้รับการถ่ายทอดสั่งสมกันมา ผ่านกระบวนการพัฒนาให้สอดคล้องกับกาลสมัย ความรู้ที่สะสมและถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นหนึ่ง และถ่ายทอดระหว่างชาวบ้านด้วยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เองที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นสติปัญญา เป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่ แก้ปัญหาการดำเนินวิถีชีวิตได้ในท้องถิ่นอย่างสมสมัย ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนเรา ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ไม่ได้แยกย่อยออกมาให้เห็นเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ จัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมันใหม่ ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ และการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา เป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชน และในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นหาเพื่อศึกษาและนำมาใช้ ก็จะเป็นที่รู้จักกัน เกิดการยอมรับ ถ่ายทอด และพัฒนาไปสู่คนรุ่นใหม่ตามยุคตามสมัยได้

ความรู้ที่เกิดจากความคิดของชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของความรู้ต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เป็นความรู้ที่ชาวบ้านใช้ดำเนินชีวิต ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๗ - ๙)

ความเป็นมาของภูมิปัญญาไทย

ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ล้วนต้องต่อสู้ดิ้นรน เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดในสังคมยุคนั้น ๆ ย่างสุขสงบ และสบายในการดำรงชีวิตประจำวัน ความพยายามของมนุษย์มีทั้งการเอาชนะธรรมชาติ การปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม และการยอมรับนับถือสิ่งที่มองไม่เห็น โดยถือว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือสิ่งมีชีวิตทั้งปวงบนโลก ในสังคมหรือชุมชนที่เจริญแล้ว ผู้คนมีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการทันสมัย ก็มีการนำความรู้ความเข้าใจมาใช้หรือปรับประยุกต์ เพื่อให้ชีวิตเป็นไปอย่างที่ต้องการ ส่วนในสังคมหรือชุมชนท่อยู่ห่างไกลความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ชาวบ้านต้องใช้ความพยายามของตนเองคิดค้นหาวิธีสร้างเครื่องมือเครื่องใช้หรือเทคนิควิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้ชีวิตรอดอยู่ในสังคมและมีความสุขสงบ และสะบายเท่าที่ต้องการ สิ่งที่เกิดจากความคิดของท้องถิ่นเช่นนี้ถือว่าเป็น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”สังคมที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองมาเป็นเวลาช้านาน จะ ต้องมีภูมิปัญญาของตนเอง ภูมิปัญญาท้องถิ่นสะสมขึ้นมาจากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นวัฒนธรรม (อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๖ - ๗)

ลักษณะและประเภทขององค์ความรู้ไทย

มนุษย์จัดระบบการเรียนรู้ของสมาชิกในสังคมด้วยสติปัญญาอันล้ำเลิศของมนุษย์ สังคมในยุคต่าง ๆ ได้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีแนวประพฤติปฎิบัติ วิถีชีวิต และทักษะของการหาเลี้ยงชีพตลอดจนความเชื่อถือทางศาสนาเพื่อสั่งสอนเยาวชน เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของแต่ละสังคม กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมสมัยก่อนจึงแทรกซึมอยู่กับวิถีชีวิตประจำวัน และสอดแทรกในพิธีการต่าง ๆ เช่น พิการโกนจุก พิธีการสมรส พิธีการบรรพชา พิธีสงกรานต์ พิธีกรรมทางศาสนา และพิธีงานศพ เป็นแนวประพฤติปฎิบัติที่ผู้ใหญ่จงใจสั่งสอนผู้น้อย และเป็นพลังจิตทีหลอมรวมผู้คนในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

การพัฒนาท้องถิ่นที่อาศัยถูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบมีลักษณะ คือ

๑. มีความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยชี้นำ และเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่อสภาวะท้องถิ่น และเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ

๒. ความรู้ ภูมิปัญญา และระบบคุณค่าต่าง ๆ ได้รับการประยุกต์ และสืบสานอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกของชุมชน ด้วยกระบวนการเรียนรู้หลายลักษณะ ผ่านประเพณี พิธีกกรม ตัวบุคคล และการปฎิบัติซ้ำ มีการเลือกสรรและผสมผสานกับความรู้ที่เข้ามาจากภายนอก

๓. ผู้นำ ปัญญาชนชาวบ้าน นักเทคนิคพื้นบ้าน เครือข่ายของกลุ่มบุคคลและองค์กร


ชุมชนในรูปต่าง ๆ ซึ่งมีบาบาทในการพัฒนาการพิทักษ์ปกป้องชุมชนและขยายแนวร่วมในการพัฒนาชุมชน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นมรดกที่สำคัญยิ่งที่มีการถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ในรูปลักษณะของขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ภาษา ศิลป ดนตรี การละเล่น ตลอดจนการดำรงชีวิตประจำวัน และทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ (อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๙ - ๑๑)

ประเภทขององค์ความรู้ไทย

จำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ

๑. ภูมิปัญญาจากการใช้ชีวิตในธรรมชาติ เนื้อหาของภูมิปัญญา คือ การอธิบายปรากฎการณ์ธรรมชาติความสัมพันธ์ระหว่างชีควิตกับธรรมชาติในลักษณะของกฏเกณฑ์ที่พึงปฎิบัติ และข้อห้ามที่ไม่ให้ชาวบ้านปฎิบัติ เช่น ความเชื่อของธรรมชาติต่าง ๆ เรื่องของผีที่ทำให้สภาวะธรรมชาติสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ระบบเหมืองฝาย ผีน้ำ ผีนา เป็นต้น

๒. ภูมิปัญญาจาประสบการณ์การอยู่ร่วมกัน ภูมิปัญญาแบบนี้มีพฤติกรรมตามแบบปผนของสังคม มีกฏเกณฑ์บอกว่าอย่างนั้นดีอย่างนี้ไม่ดี มีระบบความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติเป็นหลัก มีความเข้าใจในอนิจจังของชีวิตเป็นสูงสุด รูปธรรมที่แสดงออก คือ ความเชื่อเร่องบรรพบุรุษ เช่น ปู่ตา ปู่ย่า ผีพ่อ ผีแม่ และพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

๓. ภูมิปัญญาจากประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่น ภูมิปัญญาจากประสบการณ์การทำมาหากินในด้านต่าง ๆ ภูมิปัญญาในด้านการรักษาโรค เป็นต้น (อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๑๑)

แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยใน ๔ ภูมิภาค

๑. ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

แหล่งความรู้ การเรียนรู้ในวัฒนธรรมอีสาน เป็นมิติเดียวกับการดำเนินชีวิตซ่งสัมพันธ์กับโลกภายนอกและสังคมในหมู่บ้าน การเรียนรู้ไม่มีขอบเขตจำกัดเรื่องวัย และเวลา ตราบใดที่ลมหายใจยังมีอยู่ต้องทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จึงต้องเรียนรู้อยู่ร่ำไป แหล่งเรียนรู้คือธรรมชาติแวดล้อม ครอบครัว วัด หมู่บ้าน

วัด

ชุมชนอีสานส่วนใหญ่จะมีวัดประจำหมู่บ้าน วัดที่เป็นแหล่งการศึกษานั้น มักตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ ชาวบ้านเจริญศรัทธา และมีกำลังทรัพย์พอที่จะค้ำจุนภิกษุ สามเณร สังฆการได้ หมู่บ้านบางแห่งมีทั้งวัดบ้านและวัดป่า หมู่บ้านแห่งมีวัดแต่ไม่มีพระสงฆ์


วัดบ้านตั้งอยู่ในที่ชุมชน พระสงฆ์บำเพ็ญตนเป็นผู้สืบศาสนา และประกอบพิธีกรรม

ตามความต้องการของชาวบ้าน ในตำนานการศึกษา วัดให้การศึกษาแก่ภิกษุ สามเณร และเยาวชน โดยมีพระผู้อาวุโสทำหน้าที่พระอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ วิชาที่สอนนั้นมุ่งให้อ่านออกเขียนได้ และมีศีลธรรม ส่วนวัดป่าตั้งอยู่ในที่วิเวกท่ามกลางธรรมชาติ เพราะมุ่งสอนการปฏิบัติธรรมทั้งในเพศของสมณะและฆราวาส ทำให้ชุมชนอีสานมีพระวิปัสสนากรรมฐานผู้บรรลุญาณระดับสูง เป็นที่เคารพของศาสนิกชน และเป็นแบบอย่างอันดีในการดำรงชีวิต วิธีการขัดเกลาในพุทธศาสนา มุ่งการฝึกตน และพิจารณาสภาวะธรรมชาติตามแนวพุทธวัจนะ ผู้ฝึกต้องมีเวลา และดำเนินชีวิตตามระเบียบของธรรมจักรมิใช่อาณาจักร ผู้ผ่านขบวนการขัดเกลาแบบนี้ได้รับการยกย่องสูงส่งว่าเป็นคนสุก พร้อมที่จะเป็นผู้นำครอบครัว ผู้นำสังคม ผู้ให้การศึกษาทั้งพระอรรถกถาจารย์ (บุคคล) และพระไตรปิฎก (ธรรม) (จารุวรรณ ธรรมวัตร, ๒๕๓๑ : ๑๖ - ๑๙)

๒. ภาคเหนือ

การสร้างบ้านและยุ้งข้าว

ก่อนที่จะเริ่มลงเสาเพื่อสร้างบ้านหรือยุ้งข้าว จะต้องอธิษฐานบอกแก่ซ่งทะรีเสียก่อน โดยนำข้าวสาร ๗ เมล็ด ครอบด้วยกะลามะพร้าว ณ จุดที่จะทำการสร้างบ้านเรือนหรือยุ้งข้าว แล้วอธิษฐานต่อซ่งทะรีว่า จะขอทำการปลูกบ้าน (หรือยุ้งฉาง) ในบริเณนี้ หากเจ้าธรณีอนุญาตก็ขอดลบันดาลให้คืนนี้หลับฝันถึงสิ่งที่ดี หากที่บริเวณนี้ผีแรงเจ้าธรณีไม่อนุญาต ก็ขอให้หลับฝันถึงแต่สิ่งที่ร้ายแรง หลังจากอธิฐานหาคืนนั้นกลับไปฝันถึงสิ่งที่ไม่ดี ผู้ที่จะปลูกบ้านจะต้งขยับพื้นที่ออกไปเสียเล็กน้อย

แผ่นดินและซ่งทะรี ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในชีวิตคนกะเหรี่ยง เพราะหากปราศจากการคุ้มครองจากผืนแผ่นดิน มนุษย์ก็ไม่ดำรงอยู่ ความเคารพในแผ่นดินจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ จะเห็นได้ว่าในกระบวนการเลือกพื้นที่เพื่อการทำไร่จะมีรายละเอียดซับซ้อนมาก และแม้ว่าเจ้าของไร่จะเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และสภาพดินแล้วก็ตาม แต่หากมีเหตุอันแสดงให้เห็นว่าเจ้าธรณีไม่อนุญาต หรือมีลางบอกเหตุที่ไม่ดี ก็จำเป็นต้องทิ้งพื้นที่นั้นไป เพื่อเลือกพิ้นที่ใหม่ ความเคารพนี้ถือเป็นสิ่งที่เคร่งครัดมากสำหรับชาวกะเหรี่ยง (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ๒๕๓๑ : ๑๐๐ - ๑๐๑)



๓. ภาคกลาง

โล้ชิงช้า

เสา ชิงช้าหน้าที่ว่าการกรุงเทพมหานคร สูง ๒๑ เมตร เท่ากบตึก ๖ - ๗ ชั้น ชิงช้ายักษ์ (The Giant Swing) สูงกว่ามนุษย์ธรรมดาจะนั่งเล่น ต่อถึงเดือนยี่หรือต้นเดือนมกราคมขึงจะใคนขึ้นไปโล้ชิงช้าอย่างน่าหวาดเสียวให้ดู ๒ วัน แต่น่าเสยดายที่พิธีนี้เลิกไปนานแล้ว

การโล้ชิงช้าถือเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวายหรือตรียัมพวาย ซึ่งเป็นพิธีต้อนรับพระอิศวรตามคติพราหมณ์อยู่ในช่วงปีใหม่ของพราหมณ์

พระอิศวรปกติเสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้ง ครั้งละ ๑๐ วัน วันเสด็จลงวันขึ้น ๗ ค่ำเดือนยี่ วันเสด็จขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่

พระอิศวรเสด็จกลับแล้ว พราหมณ์จึงอัญเชิญเทพเจ้าอีกองค์คือพระนารายณ์ลงมาเรียกว่าตรีปวาย ใช้เวลา ๕ วัน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ ขนถึงแรม ๕ ค่ำ พระนารายณ์จึงเสด็ขกลับ วันรุ่งขึ้นมีการโกนจุกเด็ก

เหตุทำสองพิธีนี้ จึงเรียกต่อกันว่าพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย

ตรีปวายไม่มีการโล้ชิงช้า การโล้ชิงช้าทำในช่วงพระอิศวรเสด็จลงมาและโล้เฉพาะวันแรกกับวันที่ ๓ เท่านั้น วันอื่น ๆ ใช้ไปกับการสวดต่าง ๆ

การโล้วันแรก (ขึ้น ๗ ค่ำ) ดูช่วงเช้า วันขึ้น ๙ ค่ำ สลับไปโล้ตอนเย็น เรียกว่า เจ็ดค่ำถีบเช้า เก้าค่ำถีบเย็น

ตำนานการโล้ชิงช้ามีว่า เมื่อพราหมณ์สร้างโลกเสร็จแล้ว พระอิศวรลงไปตรวจดูว่าสร้างมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ เวลาลงเกรงว่ายังไม่แข็งแรงเสด็จลงพระบาทเดียว เพราะถ้าลงสองข้างโลกจะแตก จากนั้นให้พญานาคทรงฤทธิ์มาโล้ยื้อยุดฉุดขุนเชาสองฝั่งมหาสมุทร เมื่อปรากฏว่าแผ่นดินของโลกแข็งแรง พญานาคทั้งหลายพากันโสมนัสยินดีลงสู่สาครใหญ่ เล่นน้ำเฉลิมฉลองเป็นที่สนุกสนาน

จากตำนานที่กล่าวมามีการสมมุติให้ขุนนางใหญ่คนหนึ่งรับหน้าที่เป็นำพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า มีพลแห่ติดตามเป็นเกียรติยศนับพันคน เริ่มแห่ตั้งแต่วัดราชบูรณะไปตามกำแพงเมืองจนถึงเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง คึกคักใหญ่โตมาก เจ้านายเช่น พระเจ้าลูกเธอเสด็จไปทอดพระเนตรเสมอ ๆ




ฝ่ายพระยายืนชิงช้า พอถึงโรงพิธี ต้องปล่อยเท้าลงเดินเพียงข้างเดียว ห้ามเผลอ เสาชิงช้าสมมุติว่าเป็นขุนเขาสองช้าง เอาขันสาครใหญ่มาตั้ง สมมุติเป็นมหาสมุทร คน ๑๒ คนสวมหัวพญานาคต่างพญานาค เรียกพวกหลังนี้ว่า นาลิวัน ได้เวลา นาลิวันขึ้นไปโล้ชิงช้าทีละ ๔ คน

เหนือชิงช้ามีเชือก ๔ เส้น โยงลงมาให้จับ ช่วยป้องกันไม่ตกลง

ระหว่างอยู่บนอากาศคนหน้าต้องพยายามโล้ไปคาบถุงเงิน ซึ่งผูกเสาถือไว้ข้างหน้า

ทำให้คนดูใจหายใจคว่ำ ตื่นเต้น จากนั้นจึงลงมารำเขนงหรือรำเสนง หรือรำเขาสัตว์ สาดน้ำกันไปมา จบพิธี

การโล้ชิงช้าทำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎหลักฐานในกฎหมายตราสามดวง อายุ ๕๐๐ กว่าปี และทำเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๗ เลิก ๖๒ ปีก่อน (นบจาก พ.ศ. ๒๕๓๙) แม้มีผู้ให้ข่าวว่าจะรื้อฟื้นพิธีขึ้นมาใหม่หลายครั้ง แต่ก็ไม่มีการทำจริงเสาชิงช้าปลูก พ.ศ. ๒๕๑๕ แทนเสาเก่าที่ถูกไฟไหม้ พ.ศ. ๒๔๙๐

เสาชิงช้าถือเป็นโบราณสถานกรมศิลปากรขึ้นมะเบียน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเสาชิงช้าปลูกแถว ๆ หน้าเทวสถาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโรงแก๊สขึ้น (ภายหลังรื้อสร้างเป็นตลาด แล้วรื้อเป็นของกรุงเทพมหานคร) จึงย้ายมาสร้างตรงที่ปัจจุบัน

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่างโล้ชิงช้า ผู้กูคนหนึ่งถอดรองเท้าทั้งสองข้าง ขว้างไปยังนาลิวัน พลตระเวนจับตัวไต่ถาม ความว่าเป็นคนญวน ถามไม่รู้เรื่องเป็นคนเสียจริต บางทีอาจเพราะอากาศร้อนหรือก็ดูสนุก

รูปวาดพระราชพิธีโล้ชิงช้ามีในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ (อเนก นาวิกมูล, ๒๕๔๖ : ๑๙๓ - ๑๙๘)

๔. ภาคใต้

เท่งสงขลา

คนสงขลาภูมิใจ ไอ้เท่ง ถ้ารู้ว่าเท่งเป็นคนสงขลา หมายถึงคนบ้านคูขุด อำเภอสทิงพระ แหล่งนกเป็ดน้ำ แต่ความภูมิใจนี้ไม่ควรจำกัดเฉพาะบ้านั้นเมืองนี้ คนปักษ์ใต้ทั้งมวลมีสิทธิที่จะรักเท่งด้วยกันทั้งนั้น และคนภาคอื่นก็มีสิทธิร่วมชอบพอเท่งด้วยเหมือนกัน

เมื่อร้อยปี เท่งเป็นคนจริง ๆ มีชีวิตและเลือดเนื้อ เป็นหมู่บ้านริมทะเลสาบ เห็นแผ่นดินรอบทะเลสาบด้านขวาขอบเหนือสุดที่อำเภอระโนด เป็นแหลมใหญ่ ยื่นลงมาปากทะเลสาบสงขลา คูขุดอยู่บริเวณกึ่งกลางแหลมใหญ่นี้ และเพราะเหตุที่บ้านอยู่ริมทะเล เท่งจึงมีอาชีพรุนกุ้งขาย



เท่งเป็นคนตลกโบกฮาบ้าบิ่นไม่กลัวใคร ในยุนั้นเองนายหนังตะลุงรุ่นเก่า บ้านเดียวกันชื่อ (นาย) หนังจ้วน (ครูจ้วนคูคุดในบทไหว้ครูหนังตะลุง) ชอบใจบุคลิกของเท่งมาก แล้วในที่สุดหนังจ้วนก็ตัดรูปเท่งขึ้นในฐานะเป็นตัวตลก ดังนั้น เท่ง หรือไอ้เท่งจึงเกิดขึ้น

เท่งบนจอหนังตะลุงยุคแรก ๆ ยังไม่มีชื่อเสียงโด่งดังนัก แต่ต่อมานายหนังคนอื่นที่ชอบใจบุคลิกเท่งที่หนังจ้วนสร้าง ก็เริ่มเอาเท่งเป็นตลกหน้าจอ เท่งรุ่นแรกแกะด้วยหนังวัวอย่าง

หนาไม่บางไสเหมือนเดี๋ยวนี้ ขนวัวก็ติดอยู่หลายเส้น และลงสืออย่างง่าย ๆ หน้าตาเป็นคนโผงผางไม่ยอมค้อมหัวให้ใคร นายหนังรุ่นต่อ ๆ มาค่อย ๆ ประจุความกล้าพูดกล้าทำลงไปในตัวเท่งทีละน้อยทีละนิดจยกลายเป็นไอ้เท่ง ที่ชาวบ้านยกย่องให้เป็นตัวแทนของตัวตลก ไอ้เท่งกล้าพูด พอกำนันโกงเงินผันเอาเงินช่วยน้ำท่วมไปเข้ากระเป๋า ไอ้เท่งก็จะสับแหลกแทนชาวบ้านจเป็นที่สะใจกันทั่วหน้า เพราะชาวบ้านพูดเองเหมือนเอาน้ำรดสาด ไอ้เท่งด่าตำรวจจริตไถประชาชนได้ สอนประชาธิปไตยทางอ้อมได้ เมื่อหน่วยงานวางแผนครอบครัว หรือหน่วยงานอื่นขอความร่วมมือให้นายหนังในนามของเท่งและตัวตลกอื่น ๆ ช่วยประกาศสรรพคุณของสิ่งที่ปรารถนา เท่งก็ทำได้ ไอ้เท่งด่าเด็กหนุ่มไว้ผมฮิปปี้ได้แสบถึงใจ ล้อใคร ด่าใคร ได้ทั้งนั้น

หนังตะลุงบางโรงตลกไอ้เท่งชนิดเรียกว่า กินรูป คือเข้าถึงวิญญาณกันจริง ๆ ก็ไดสมญานามเท่งต่อท้ายไป เช่นหนังคล้ายเท่ง จะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และหนังอิ่มเท่ง อำเภอรัตนภูมิ ถ้าอยากฟังเท่งตลก ก็หาโอกาสลงไปเที่ยวปักษ์ใต้ จะพบเท่งได้แทบทุกหนทุกแห่ง เท่งจะเป็นตลกชั้นแนวหน้าระดับขุนพลโดยมี หนูนุ้ย ศรีแก้ว ยอดทอง สะหม้อ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เคยเป็นคนจริง ๆ มาแล้ว คอยประกบเสมอ นักการเมืองนั้นถ้าอยากฟังเสียงชาวบ้านก็ต้องหาฟังจากเท่ง หรือไม่ก็จากปากนายหนังทำให้ทราบอะไรได้มากมาย อาจหาซื้อภาพขงเท่งไปประดับบ้านได้ เท่งเป็นชาวบ้านจึงไม่พิถีพิถันกับการแต่งตัวนัก ตัวตลกส่วนมากระบายสีดำ ไม่แพรวพรายเหมือนพวกเจ้านาย ค่าตัวของเท่งก็ไม่แพงเกินไป ราว ๓๐ - ๔๐ บาท โดยทั่วไปคนทำรูปหนังตะลุงขายมักอยู่ตามชนบท สงขลา มีบางร้านในตัวเมืองเป็นคนกลาง คอยรับซื้อภาพหนังตะลุงจากศิลปินพื้นบ้านมาขายอีกทอดหนึ่ง แต่จะอุดหนุนศิลปินชาวบ้าน และอยากดูวิธีการทำหนังตะลุง ก็ไปที่บ้านช่างทิ้ง อ่างทอง (ต.ทุ่งหวัง จ.สงขลา) ซึ่งชาวบ้านละแวกนั้นแปลกตาน่าชม หรือบ้านช่าง…(จำชื่อไม่ได้) บ้านน้ำน้อย ทางไปหาดใหญ่ บ้านนางช้วน อายุ ๘๐ ปี บ้านดีหลวง อ.ระโนด ซึ่งเคยได้รับรางวัลมาแล้ว ใครอยากไปดูฝูงนกเป็ดน้ำนับพันนับหมื่นตัว เที่ยวชายทะเลอันงดงามสุดพรรณนา และถือโอกาสเยี่ยมบ้านเดิมของเท่ง ต้องวานเท่งเป็นปากเสียงให้สักนิดหนึ่งว่า เวลาจะข้ามแพจากฝั่งเมืองสงขลาไปยังปลายแหลมเสียเวลาตอนลอยแพ



แพมี ๓ ลำ แต่บางทีวิ่งลำเดียว บางทีวิ่ง ๒ ลำ วันหนึ่งแพวิ่งลำเดียวทำให้รถติดยาวเหยียดเป็นร้อย ๆคัน รถด่วนก็กลายเป็นรถช้า เพราะต้องคอยกัน ๕ ชั่วโมง ท่ามกลางแดด กว่าจะข้ามกันได้ชาวบ้านก็เจริญพรแก่ความเลวร้ายโดยทั่วหน้ากันและอย่างขมขื่น วันนั้นมีผู้ใหญ่คนหนึ่งไปติดแพอยู่ด้วยจนทนโมโหไม้ไหวไปจดการอย่างไร แต่รุ่งเช้าแพ ๓ ลำวิ่งกันขวักไขว่

เท่งช่วยเป็นปากเสียงชาวบ้านที แล้วถ้าเท่งสมัคร ส.ส. เมื่อไหร่รับรองว่าเท่งจะได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้น (อเนก นาวิกมูล, ๒๕๔๖ : ๒๐๑ - ๒๐๗)

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา

จากสภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถเป็นแนวคิดในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการศึกษาได้ ๒ แนวทาง คือ

๑. โรงเรียเป็นผู้นำเนื้อหาสาระที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจัดการศึกษาให้นักเรียนได้เรียนรู้ โดยเนื้อหาสาระจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

๒. โรงเรียนเชิญเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ปัญญาชน ช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ทั้งนี้การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละระดับชั้นด้วย

การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งได้ ๒ วิธี ดังนี้

๑. ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ในกรณีนี้บทบาทการจัดกิจกรจมการเรียนการสอนอยู่ภายใต้การกระทำของครู ซึ่งเป็นไปตามลักษณะกิจกรรมที่ได้จัดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น นั่นคือ ครูเป็นตัวแทนของปราชญ์ท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าวได้รับการกำหนดเป็นหลักสูตรแล้ว

๒. ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน แทนที่ทางโรงเรียนจะให้ครูดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาก็เปลี่ยนเป็นปราชญ์ท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือเป็นครูแทน รวมทั้งให้ปราชญ์ในท้องถิ่นทำหน้าที่ประเมินผลการเรียนของนักเรียนด้วย

การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งตามลักษณะได้ ๒ ลักษณะ คือ แบบเป็นลายลักษณ์อักษร และแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่วิธีการถ่ายทอดถูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนมีหลายวิธี คือ

๑. โดยการถ่ายทอดความรู้โดยตรงต่อครูผู้สอน

๒. โดยการถ่ายทอดความรู้โดยตรงให้แก่นักเรียน


๓. โดยการให้คำปรึกษาหารือแนะนำให้กับครูผู้สอน

๔. โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนร่วมกับครูผู้สอน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่น เป็นความรู้ที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่น จึงมีควมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้เพื่อเยาวชนรุ่นหลัง ในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้แก่เยาวชน โรงเรียนจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น (อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๒๔ - ๒๖)

การนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา

แนวทางการจัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

โรงเรียนระดับอุดมศึกษาของประเทศมีแนวการจัดการศึกษา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ

๑. การดำเนินการจัดการเรียนการอน

๑.๑ ให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน มีการมอบหมายงานกิจกรรมให้นักเรียนไปทำที่บ้าน ครูและชาวบ้านจะเป็นผู้ติดตามและประเมินผล

๑.๒ ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน โดยนำนักเรียนไปศึกษาขากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

๑.๓ โรงเรียและชุมชนประสานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน

๒. วิธีการในการจัดการศึกษา

๒.๑ ควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างครูผู้สอน และปราชญ์ชาวบ้าน

๒.๒ เน้นการศึกษา วิเคราะห์ ทำความเข้าใจวิธีและความคิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒.๓ นำกระบวนการ หรือความคิด แนวปฎิบัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดเป็นกระบวนการเรียนการสอน

๒.๔ เสริมสร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์

๒.๕ ฝึกให้ผู้เรียนคิดหลายด้านหลายมุม อย่างอิสระแล้วสรุปเป็นความรู้ และประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต

๒.๖ ผสมผสานระหว่างความรู้ความสากลกับความรู้ท้องถิ่น

๑๐


๒.๗ เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต

๒.๘ ครูผู้สอนหรือปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน

๓. แนวทางการจัดการศึกษา

๓.๑ ครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการใช้หลักสูตร โดยพิจารณานำหลักสูตรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลุ่มประสบการณ์ตามในหลักสูตรแม่บท โดยใช้ระยะเวลา จำนวนคาบ เรียนตามที่กำหนดไว้ในแผนการสอนของประสบการณ์นั้น ๆ

๓.๒ เน้นให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติจริง

๓.๓ นำบุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้กับผู้เรียน

๓.๔ สอดแทรกคุณธรรมค่านิยมต่าง ๆ ที่ปรากฎตามเนื้อหาของหลักสูตรให้กับผู้เรียน

๓.๔.๑ มีความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของชุมชน

๓.๔.๒ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของชุมชน

๓.๔.๓ สามารถพึ่งพาตนเองได้เกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้น

๓.๔.๔ ตระหนักและยอมรับสิ่งที่มีคุณค่า สิ่งที่ดีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน

๓.๔.๕ สามารถปรับปรุงและประยุกต์ใช้ให้มีคุณค่า สิ่งที่ดีให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน

๓.๔.๖ มีความรักความภูมิใจ และเช้าใจในบทบาทของตนที่มีต่อชุมชน

การดำเนินการตามแนวทาง โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นหรือผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ๓ ประการ คือ

๑. พัฒนาหลักสูตรของท้องถิ่นร่วมกับโรงเรียน หรือหน่วยงานกับท้องถิ่น

๒. วางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับครูผู้สอน

๓. ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ในการดำรงชีวิตให้กับผู้เรียน

(อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔ : ๓๗ - ๓๙)

 

                                บรรณานุกรม


จารุวรรณ ธรรมวัตร. ๒๕๓๑, ภูมิปัญญาแห่งอีสานรวมบทความอีสาน. เนื่องในสัปดาห์

มนุษยศาสตร์และวิทยาการพื้นบ้าน ๒๐ ปี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรมหาสารคาม.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ๒๕๓๙, ภูมิปัญญานิเวศวิทยาชนพื้นเมือง ศึกษากรณีชุมชนกะเหรี่ยงใน

          ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร.

อเนก นาวิกมล, ๒๕๔๖, ชีวิตไทย การแต่งกายของไทย เกร็ดชีวิตพ่อเพลงแม่เพลง เพลงขอทาน

          สงกรานต์ โล้ชิงช้า หนังตะลุง

อุพร จานประดับ, ๒๕๔๔. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร, วิทยา

          นิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (พื้นฐานการศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์, รองศาสตราจารย์ ๒๕๔๖, ปรัชญาการศึกษา, ภาควิชาพื้นฐานการ

          ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[หน้าถัดไป :      ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ >>]


โดย : นาย รังสรรค์ กลิ่นแก้ว, โรงเรียน กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โทร.06-891-5381, วันที่ 28 สิงหาคม 2547