ข่าวประชาสัมพันธ์

8 ขั้นตอนซื้อปลั๊กไฟ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยไม่ลัดวงจร

หนึ่งในอุปกรณ์ยอดนิยมที่ทุกสถานที่ต้องมีนั่นก็คือ “ปลั๊กไฟพ่วง” เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้ความนิยมของปลั๊กไฟพ่วงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในทางกลับกันปลั๊กไฟพ่วงยังคงเป็นเพียงแค่สินค้าที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียเงินมากขึ้นเพื่อซื้อปลั๊กไฟพ่วงที่มีคุณภาพดี ส่งผลให้หลายครั้งที่ปลั๊กไฟฟ้าที่ใช้งานนี้เป็นต้นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน หรือร้ายแรงที่สุดก็อาจลุกลามไปจนถึงอันตรายต่อชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง วันนี้เนคเทคจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ “การซื้อปลั๊กไฟ เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่ลัดวงจร”เพื่อเป็นแนวทางในการร่วมกันป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ปลั๊กไฟพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนี้  [Download PDF] ตัวปลั๊กไฟมีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กจากเต้าเสียบ มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด เช่น ฟิวส์, เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยจากการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด ระบุค่าพิกัดไฟฟ้าสูงสุด ได้แก่ ค่าปริมาณไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า และ กำลังไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะกับไฟฟ้าในประเทศไทย กำหนดใช้งานได้ระหว่าง 220-250 โวลต์ วัสดุทำรางเต้ารับผลิตจากพลาสติกเอวีซี (AVC) ซึ่งเนื้อพลาสติกจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกพีวีซี (PVC) ลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง เต้าเสียบที่ได้มาตรฐาน ควรเป็นแบบขากลม มีฉนวนที่โคนขาปลั๊กทั้ง 2 ขา เพื่อป้องกันนิ้วไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กที่มีไฟ เลือกซื้อปลั๊กไฟพ่วงที่มีเครื่องหมาย มอก.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นประธานเปิดงาน i-CREATe 2016

วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 10 (i-CREATe 2016) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงค์เวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานอำนวยการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2016 ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ศาสตราจารย์ ดร.อัง ไว เต็ก (Dr. Wai Tech Ang) ที่ปรึกษาการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ i-CREATe 2016 และคณะกรรมการจัดงาน เฝ้ารับเสด็จฯ โดยในปีนี้

พบกับ 4 งานใหญ่โชว์สุดยอดนวัตกรรมยกระดับชีวิตผู้สูงอายุ และผู้พิการไทย

“พก.”-“สวทช.”-“นีโอ” จับมือแน่น จัด 4 งานใหญ่ อินเตอร์แคร์ เอเชีย 2016, งานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 10 (i-CREATe 2016), การแข่งขันออกแบบสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 หุ่นยนต์เพื่อสังคม และงานการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 8 หวังสร้างความเท่าเทียมและโอกาสทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และคนพิการ นางสาวบุษยา ประกอบทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด ผู้จัดงาน อินเตอร์แคร์ เอเชีย 2016 (InterCare Asia 2016) กล่าวว่า สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประชากรของไทยที่กำลังก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 25 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบัน ไทยมีจำนวนผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 14.9 จากประชากรทั้งหมด หรือประมาณ

นักวิจัยเนคเทคคว้ารางวัล Best Presentation จาก “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 8

นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (CSL) หน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สาย และความมั่นคง (WISRU) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการ ประเภทบรรยายดีเด่น (Best Presentation) ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 8 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา หัวข้อบทความที่ได้รับรางวัล คือ “เฟรมเวิร์กในการพัฒนาแพล็ตฟอร์มเพื่อใช้ในการยืนยันอัตลักษณ์ตัวบุคคลด้วยลายนิ้วมือร่วมกับปัจจัยอื่นที่หลากหลาย” เนื้อหาในบทความกล่าวถึงงานวิจัยเกี่ยวกับ Fingerprint Authentication/ Verification System ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับปัจจัยอื่น (Multi-factors) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย และมีการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อให้ระบบสามารถทำงานในลักษณะ Hybrid คือ สามารถทำงานได้ทั้งแบบ Online หรือ Offline นำเสนอโดย คุณวิศุทธิ์ แสวงสุข คุณสุนทร ศิระไพศาล คุณเอกฉันท์ รัตนเลิศนุสรณ์ และ ดร.ชาลี