พัฒนาศักยภาพงานวิจัยไทย ต่อยอด MuEye สู่ MuISET

Facebook
Twitter

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงาน Special Talk success case: From MuEye to MuISET นำเสนอผลงานจากห้องวิจัย สู่การริเริ่มแนวคิดเชิงธุรกิจ บ่มเพาะ Startup ด้วยต้นทุนทางปัญญา พร้อมเปิดตัว บริษัท มิวไอเซต จำกัด (MuISET) นำร่องสร้างธุรกิจจากงานวิจัย โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการเนคเทค คุณรนนท์ พงศาจารุ กรรมการผู้ถือหุ้น MuISET และคุณจักรกฤษณ์ กำทองดี นักวิจัยและกรรมการผู้จัดการ MuISET ร่วมในงาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา

muisetopening
muisetopening

จากแนวคิดโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากเครื่องสมาร์ทโฟนให้กลายเป็นกล้องจุลทรรศน์ภายใต้ชื่อTWI-VIS หรือเลนส์ทวิทรรศน์ติดอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบพกพาเป็นเลนส์ที่ทำจากพอลิเมอร์ ทวิทรรศน์มีสองกำลังขยาย สามารถเปลี่ยนและเชื่อมต่อแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นกล้องจุลทรรศน์เคลื่อนที่ได้ โดยสามารถกำหนดกำลังขยายได้ด้วยวิธีทำเลนส์ที่มีสิทธิบัตรเฉพาะของทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการนี้นับเป็นโครงการวิจัยแรกๆ ของนักวิจัยไทยที่เริ่มระดมทุนในลักษณะ Crowd Funding ที่สามารถระดมทุนได้ถึง 6,424 USD นับจากวันนั้นเป็นต้นมา โครงการวิจัยดังกล่าวได้มีการพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ภายใต้ชื่อ “MuEye” (มิวอาย)

ผลงานวิจัยเลนส์มิวอายเป็นนวัตกรรมที่ เนคเทค/สวทช. ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการผลิต และมีความตั้งใจที่จะให้ครู เด็กและนักเรียน ได้ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อการศึกษาเรียนรู้รอบตัวอันเป็นพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ สามารถใช้งานทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูงและมีจำนวนไม่เพียงพอกับสถานศึกษาต่างๆ ในประเทศ โดย เลนส์มิวอายจะเป็นเครื่องมือที่สามารถกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของเยาวชน อันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการนี้ ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงการประกวดภาพถ่าย ภายใต้กิจกรรมโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย ชื่อหัวข้อ “ชีวิตเล็กๆผ่านมิวอาย ตอน สิ่งมีชีวิตในน้ำ” สามารถมอบอุปกรณ์ชุดเลนส์มิวอาย ให้โรงเรียนทั่วประเทศได้จำนวน 2,000 ชุดและโครงการเปิดโลกมิวอาย ตอน ครัชเตเชียนตัวน้อย เป็นหนังสือส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยสาระความรู้และความสนุกในการเรียนรู้ด้วยเลนส์มิวอาย

muisetopening
muisetopening
muisetopening

ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 อดีตนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ดร.จักรกฤษณ์ กำทองดี ได้ขออนุญาตใช้สิทธิ์ ชุดเลนส์มิวอาย เป็นเวลา 3 ปี โดยได้เล็งเห็นถึงโอกาสและประโยชน์ที่ชุดเลนส์มิวอาย จะสามารถสร้างมิติใหม่ในการศึกษาและโอกาสทางธุรกิจ จึงจัดตั้งบริษัท มิวไอแซต จำกัด (MuISET) ซึ่งถึงได้ว่าเป็น Start up แรกของเนคเทค/สวทช. ในปี 2559 นี้ สำหรับแนวคิดในการริเริ่มธุรกิจ และการเตรียมตัวเปิดบริษัทในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากเนคเทค/สวทช. และผู้ถือหุ้นจากภาคเอกชน เพื่อนำสินค้าเชิงนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนาต่อยอดและทำตลาดได้ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งในปัจจุบันสินค้าด้านนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และมีช่องทางการตลาดมากมาย เพื่อนำเสนอสินค้าไปสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้

muisetopening